1. Roller Skate คืออะไร
- – Roller Skate คือรองเท้าที่มีล้อเรียงกันสองแถว เป็นสองล้อหน้าและสองล้อหลัง มีเบรกอยู่ด้านหน้า
- – Inline Skate คือรองเท้าที่มีล้อแถวเดียว เป็น blade ที่คนจะชอบเรียกว่า Roller Blade แต่จริงๆ Roller Blade คือชื่อของแบรนด์ที่ดังมากๆ ในไทยสมัยก่อน ทุกคนเลยติดคำนี้
2. ประวัติของ Roller Skate
- – คนแรกที่สร้างรองเท้าติดล้อ เป็นชาวเบลเยี่ยม ชื่อ จอห์น โจเซฟ เมอร์ลิน เขาเอาล้อที่คล้ายกับล้อจักรยานมาติดกับรองเท้า แล้วเอาไปอวดเพื่อนในงานปาร์ตี้ที่ลอนดอน แต่มันจะยังไม่สามารถเลี้ยว เหมือนเอาจักยานล้อเดียวมาติดที่รองเท้า เป็นจุดเริ่มต้นของรองเท้ามีล้อ
- – Roller Skate เริ่มมาบูมช่วงยุค 70-80 มาจากฝั่งอเมริกา เริ่มจากการเล่นใน rink (ลานเล่นสเก็ต) พื้นไม้ปาร์เก้ พร้อมเปิดเพลงและไฟดิสโก้
- – ตอนนั้นรองเท้ามีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ หนึ่งคือต้องเล่นในพื้นที่เรียบ เพราะล้อแข็งและ sensitive พังง่าย ไม่แข็งแรง พอผ่านช่วงยุค 70-80 เป็นยุค 90 จะเริ่มมี Inline Skate เข้ามา เริ่มมีการเล่น outdoor ตอนนั้น Roller Skate จะหายไป ถูกแทนที่ด้วย Inline Skate เพราะคนอินกับการที่จะเล่น outdoor มากกว่า จากที่เล่นอยู่ได้แค่ใน rink มันทำให้หาที่ได้เล่นง่ายกว่า
3. ประเภทของ Roller Skate
*1. Jam Skate
- – คือการเต้นบนรองเท้าสเก็ต โดยจะเป็นการเต้นที่ base on footwork จะมีท่าเฉพาะที่ใช้ในการเต้น Jam
- – Jam Skate มีต้นกำเนิดมาจากช่วงยุค 70-80 ช่วงที่ Roller Skate บูมใน rink เป็นยุคที่ยังมีการเหยียดสีผิว Roller Skate จะมีวันแยกวัน ระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวสี ซึ่งสำหรับคนผิวสีจะมีแค่อาทิตย์ละวัน เรียกว่าเป็น soul night เป็นปาร์ตี้ในช่วงนั้น ยุคที่โดนกดขี่ แล้ว Roller Skate คือไม่กี่อย่างที่จะให้คนได้มาจอย มามีความสุขกัน เขาจะใช้คืนนี้เป็นสถานที่สำหรับโปรโมทงาน เปิดตัวต่างๆ ด้วย
– Roller Skate เหมือนเป็นตัวแทนสิทธิมนุษยชน express self สำหรับคนผิวสีหรือ LGBTQ+ ด้วยสไตล์การเล่นของคนผิวสีที่มีความสนุกสนาน มีการคิดค้นท่าเต้น ท่าแจมขึ้นมา - – ยุคนั้นในไทยก็มีการเล่นใน rink เหมือนกัน มี rink ตามห้าง แต่จะไม่ได้เต้นแบบที่อเมริกา จะเป็นการไถๆ วิ่งๆ เปิดเพลงมากกว่า หลายๆ ประเทศทั้งไทย ญี่ปุ่น อเมริกา ก็บูมกันมาก
- – ใน rink จะเน้นเพลิน เน้นมันส์ เน้นเต้น เน้นจริตเหมือนเราออกไปเที่ยว
*2. Freestyle
- – คือการเล่นแบบ outdoor เล่นในพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ไม่เกะกะ
- – มันจะมีความชิว เล่นรับลม ซึมซับบรรยากาศ ท่าก็จะเป็นฟรีสไตล์จริงๆ ขึ้นอยู่กับเราเล่น แต่จะเน้นเรื่องการ transition ซะเป็นส่วนใหญ่ การ movement หมุนตัวไปมา ให้ดู smooth ต่อเนื่อง
*3. Park
- – คือการเล่นกับอุปกรณ์ในพาร์ค มาจากคำว่า Park ของคนที่เล่นสเก็ตบอร์ด สเก็ตบอร์ดมันมีมาก่อน Roller Skate นานมากๆ แล้วในสเก็ตพาร์คจะมีเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ให้เล่น เช่น Ramp หรือเหล็กที่เอาไว้ glide ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้ Roller Skate สายพาร์คก็จะมาเล่นด้วย
- – ถ้าจะเล่นสายนี้ต้องหารองเท้าที่ค่อนข้างซัพพอร์ตกับเท้าของคนเล่น อุปกรณ์ที่ใช้ต้องได้มาตรฐานและแข็งแรงเพื่อซัพพอร์ตในการเล่นท่าต่างๆ และที่สำคัญคือห้ามลืมอุปกรณ์เซฟตี้ พอมันเป็นกีฬา Extreme การมีอุปกรณ์เซฟตี้สำคัญจริงๆ
- – ท่าต่างๆ ที่เล่นจะชื่อคล้ายๆ กับท่าของสเก็ตบอร์ด มันคือการเล่นกับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมันยากแต่สนุก เป็นสายที่ไม่ได้มีจริต แต่เน้นใจกล้า ร่างกายแข็งแรง ต้องฝึกกับพื้นที่ให้ชินด้วย สมมุติเล่น Ramp ที่พาร์คนึงได้ พอไปอีกที่ องศา Ramp เปลี่ยน ก็ต้องอาจจะต้องปรับจูนกันใหม่
*4. Figure
- – เป็นการเล่นเหมือนไอซ์สเก็ต แต่เปลี่ยนจากลานไอซ์มาเป็น outdoor และเล่นด้วยรองเท้า Roller Skate แทน
- – Roller Skate จะเล่น Figure ยากกว่า Inline Skate เพราะมันไม่ใช่ blade และมีล้อที่ค่อนข้างกว้าง กินที่ เวลาเล่นไอซ์ท่าจะซับซ้อน เน้นความแคบและสวย Roller Skate สามารถใช้เล่นได้ก็จริงแต่มีข้อจำกัดอยู่
- – เกิดขึ้นจากการที่คนไม่สามารถหาลานไอซ์ได้ทุกที่ทั่วไป จึงเกิด figure เพื่อให้เราได้เล่นไอซ์สเก็ตนอกลานไอซ์ เหมือนที่เรามี Surfskate ที่เกิดมาจากการเล่น Surf
4. แนะนำรองเท้าแบบต่างๆ
*1. ความแตกต่างของรองเท้ามีส้นกับไม่มีส้น
- – รองเท้าแบบมีส้น จะทิ้งน้ำหนักไปที่ปลายเท้าซะส่วนใหญ่ เหมือนยืนเขย่งตลอดเวลา เพราะฉะนั้น posture เราจะดี เหมาะสำหรับการเต้น jam เหมาะกับการใช้ร่างกายสวยๆ
- – รองเท้าแบบไม่มีส้น จะทิ้งน้ำหนัก 50/50 ระหว่างปลายเท้ากับส้นเท้า หรือบางทีอาจจะส้นเท้ามากกว่าด้วย เน้นการเดินแบบหนักแน่น มั่นคง เวลาเล่นแบบ Park ส่วนใหญ่ก็จะใช้แบบนี้
- – แต่ก็จะมีคนที่ใช้แบบมีส้นเล่นทั้ง Park และ Jam ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนด้วย
*2. ลักษณะของรองเท้าแต่ละแบบ
- – แบบผ้า แบบหนัง หรือแบบพลาสติก อันนี้จะเป็นเรื่องของความยืดหยุ่นและคงทนของรูปทรง รองเท้าแต่จะแบบก็จะรับกับเท้าของแต่ละคน เพราะบางคนหน้าเท้ากว้างอาจจะใส่รองเท้าบูทไม่ได้ ก็ต้องใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับตัวเอง
- – ถ้าเป็บบูทรุ่นที่ไม่ได้แพงมาก บางทีก็จะไม่ซัพพอร์ตกับร่างกายเราโดยตรง แต่ถ้าเริ่มมีราคา มันจะยืดหยุ่น มีการออกแบบที่คิดมาแล้ว บางแบรนด์ก็สามารถสั่งตัดได้เลยตามเท้าเรา
- – แบบไม่มีส้นจะสามารถเร่งความเร็วได้เยอะมาก เพราะมันไม่ต้องทิ้งน้ำหนักไปตรงไหนเลย คนถึงนิยมเอาไปเล่นในพาร์ค แต่ความแข็ง ความซัพพอร์ตจะค่อนข้างอ่อนกว่าแบบบูท แต่แล้วแต่คนถนัดไม่ตายตัว เวลาเล่นในพาร์คควรใส่อะไรที่ซัพพอร์ตหน่อย มีความแข็ง จะไม่มีส้นก็ได้ แต่อยากแนะนำให้หุ้มข้อขึ้นมาหน่อย เพราะเวลาเรากระโดดลงมาในพาร์ค เท้าจะลงก่อนเลย แล้วถ้าขาเรายังไม่แข็ง ไม่เคยเล่นมาก่อน อาจจะทำให้เท้าพลิกได้
- – ถ้ายังไม่รู้ตัวเองว่าอยากจะเป็นสายไหน แนะนำว่าให้ซื้อแบบบูทไปมันค่อนข้างจะโอเคสุด เล่นได้ครบทุกประเภท
- – นอกจากบูทกับผ้าใบ จะมีอีกแบบสำหรับสาย Jam คือเป็นรองเท้าทรงคล้ายๆ รองเท้าโบลลิ่ง เป็นแค่ผ้าแถบคาดเอา เพื่อให้การ flex ของเท้า เวลาเต้นมันง่ายขึ้น แต่มันจะไม่ซัพพอตข้อเท้าอะไรเลย ทำให้เท้าเหลว
*3. Truck และ Plate
- – Truck คือตรงที่ใส่ล้อ ส่วน Plate คือเหล็กที่เชื่อมระหว่างพื้นรองเท้ากับ Truck
- – ปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์เพื่อซัพพอร์ตแต่ละสายมากขึ้น Truck และ Plate ของแต่ละสายอาจจะไม่เหมือนกัน จะมีแบบเฉพาะที่ช่วยในการเล่นของสายนั้นๆ
- – สาย Park จะมี Plate ที่เบาและแข็งแรงเพื่อให้รับแรงกระแทกได้ ถ้าเป็น Jam จะมี Truck แบบโยกได้ ส่วน Figure ก็จะมี Truck ค่อนข้างอ่อน ทำให้เลี้ยวได้ด้วยเท้าเดียว
- – แต่ละแบบก็มีหน้าตาที่แตกต่างกันประมาณนึง ซึ่งจริงๆ รายละเอียดมันเยอะมาก แต่อันนี้พูดถึงคนที่เล่นแบบระดับโปรและใช้เฉพาะทางไปเลย ถ้าเราไม่ได้เล่นแบบเจาะลึก ทั่วไปก็เล่นได้
5. ทำไม Roller Skate ถึงกลับมาเป็นกระแส
- – กระแสมันไหลมาจากฝั่งอเมริกาที่กลับมาฮิตเหมือนกัน เพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก คนก็หากิจกรรมทำ บวกกับปัจจุบันเริ่มมีสื่อให้ได้เสพเยอะขึ้น เริ่มเห็นคลิป เห็นเทรนด์ฮิตมาจาก TikTok
- – จริงๆ ก็มีคนไทยที่เล่น Roller Skate มาก่อนอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าอาจจะยังไม่ค่อยมีเป็น community ตอนจอย กรุ๊ป Roller Skate Thailand ตอนต้นปีมีอยู่ประมาณร้อยคนตอนนี้มีสมาชิกเป็นหมื่นแล้ว ไม่ถึงปี ขึ้นเร็วมาก
- – บางส่วนก็เริ่มเล่น Surfskate มาก่อนด้วย แล้วค่อยเปลี่ยนมาเล่น Roller Skate
6. ทำไม Roller Skate ถึงสำคัญ
[คุณเพิร์ล]
– มันเป็นสิ่งที่มาเติมเต็มความฝันในวัยเด็กที่เราลืมไปหมดแล้ว วันนึงเขากลับมาและเราได้ทำความรู้จักกับเขาเพิ่มขึ้น ตั้งแต่เล่น Roller Skate เขาทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น เราเริ่มเล่นตอนช่วงที่ต้องอยู่แต่บ้าน เลยมีเวลาตั้งใจ concentrate รู้สึกว่าอินกับเขามาก มี passion กับมันมากๆ ซี่งมันไม่ได้เกิดความรู้สึกแบบนี้ในชีวิตของเรามานานแล้ว ตื่นแล้วนึกถึงเป็นอย่างแรก นั่งดูคลิป ฝึกทั้งวัน อยากเก่งขึ้น อยากมีชีวิตอยู่ต่อเพื่อเล่นเสก็ต ไปเรื่อยๆ
– เวลาดูคอนเทนต์ Roller Skate เมืองนอก เขาจะชอบเขียนว่า Roller skate makes me feel free แบบฉันรู้สึกเป็นอิสระ เวลาอยู่บนส่วนนึงของร่างกาย
– Roller Skate ทำให้เรารู้จักคนเยอะขึ้นและก็เป็นคนที่มี interest ในแบบเดียวกัน ทำให้เกิดเป็น community รู้สึกสนุกที่ได้คุยกับคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน
[คุณเดล]
– Roller Skate เข้ามาเติมเต็ม passion ในชีวิต ช่วงที่ผ่านมาพอเรียนจบก็หางานยาก พอเราจบมาแล้วลองเล่น หลังจากเรารู้สึกชอบมากๆ ก็เริ่มอยากที่จะเอามาทำเป็นอาชีพ อยากขยัน อยากเอาตรงนี้มาทำ เลยได้มาเป็นครูสอนสเก็ตและได้เล่นด้วย ตอนแรกครอบครัวก็ไม่ยอมรับ แต่พอลงตัวแล้วมันเติมเต็ม ช่วงนี้เจ็บเลยพักตัวอยู่ น่าจะกลับมาสอนต้นปีหน้า ใครสนใจทัก IG: dayle.runner มาได้ ปัจจุบันสอนทั้งแบบ Jam Skate, Park, Freestyle เบื้องต้น
– มันเป็นส่วนนึงของร่างกายไปแล้ว พอตอนนี้เจ็บก็เครียด อยากกลับไปเล่น ตอนนี้ก็ทำกิจกรรมอย่างอื่นแทนไปก่อน ดูวิดีโอ ดูคอนเทนต์แทน
[คุณนิว]
– มันเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์สิ่งที่เราอยากลองเรียนรู้ เราเห็นสเก็ตพาร์คที่เป็นสเก็ตบอร์ดมาตั้งแต่เด็กๆ อยากเล่น แต่ว่าเล่นไม่ได้เพราะเล่นสเก็ตบอร์ดไม่เป็น ชอบความ extreme ตั้งแต่เด็กๆ แต่พอไปลองเล่นสเก็ตบอร์ดแล้วรู้สึกว่ามันยาก
– จนพี่เพิร์ลมาแนะนำให้รู้จักกับ Roller Skate แล้วก็ชวนไปเต้นด้วยกัน ซึ่งการเต้นก็พยายามแต่รู้สึกไม่เข้าเท้าและบอดี้สักที จนไปลองเล่น Park ไปเล่น Ramp กระโดดนิดหน่อย เรารู้สึกตื่นเต้น เอ็นจอยมาก แฮปปี้กว่า ก่อนหน้านี้เป็นคนชอบกิจกรรมที่ได้พบปะคน พอมันหายไป อันนี้ก็กลับมาตอบโจทย์ที่ทำให้เราได้เจอเพื่อนอีกครั้ง
– อีกเรื่องคือเราเป็นคนที่อยากออกกำลังกาย แต่เข็นเราตัวเองไม่ขึ้น พอมาเล่นอันนี้ เรารู้สึกว่าเราอยากทำงานให้เสร็จไวๆ จะได้ไปเล่นสเก็ต ไม่เหมือนตอนที่ต้องบังคับตัวเองให้ไปยิม รู้สึกค้นพบ
7. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเริ่มเล่น Roller Skate
*1. ถามตัวเองก่อนว่า พร้อมจะบาดเจ็บไหม
– เพราะมันคือกีฬา extreme ถึงจะใส่อุปกรณ์เซฟตี้ยังไง แต่พอถ้าล้ม มันมีบาดเจ็บอยู่แล้ว ถ้าก้าวข้ามผ่านไปได้ จะทำให้เล่น Roller Skate ได้สนุกขึ้น ครั้งแรกที่เล่น ไม่มีใครทำได้ มันคือการล้ม การผิดพลาด ต้องเปิดใจเรื่องนี้ แล้วทุกๆ อย่างจะค่อยๆ พัฒนา ถึงจะเป็นแบบ Jam แต่พอมีการเต้น ก็จะมีการเกร็งกล้ามเนื้อ มันปวดเมื่อย เจ็บลึก
*2. ถามตัวเองว่า อยากเล่นจริงๆ หรือโดนสื่อทำให้เราอยากแค่ตามกระแส
– เพราะมันเป็นกีฬาที่ต้องใช้เงินระดับนึง พวก Roller Skate ที่ขายถูกๆ ราคา 1,000 – 2,000 ตามอินเทอร์เน็ต อันนั้นไม่แนะนำให้ซื้อมาเล่น อาจจะซื้อมาลองได้ แต่ plate หรือส่วนอื่นๆ มันไม่ได้ถูกประกอบมาให้เล่นได้จริงๆ อาจจะพอไถได้ แต่ไม่ได้ทนขนาดนั้น ไม่สามารถเล่นอันอื่นได้ แค่อาจจะซื้อมาลองใส่ให้ get feel เฉยๆ อยากให้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานมากกว่าในการเล่น
*3. มันเป็นกีฬาที่ต้องใช้เวลา ต้องอาศัย muscle memory
– ไม่ใช่ว่าเล่นแล้วจะเป็นขึ้นมาเลย ต้องฝึกฝนและศึกษาท่าต่างๆ อยากให้ลองถามตัวเองจริงๆ ว่า พร้อมที่จะให้เวลากับเงินหรือเปล่า ถ้าตั้งใจยังไงก็ทำได้ อาจจะช้าหรือเร็ว แต่ยังไงก็ทำได้แน่นอน
8. แนะนำร้านขายอุปกรณ์ Roller Skate
- – ถ้าอยากลองเช่าเล่น จะมี Roller Dome ที่ Emporium และ Vattui ที่พัทยา ลองไปเล่นพวกนี้ก่อนก็ดี เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และได้เล่นรองเท้าที่ได้มาตรฐานจริงๆ
- – ช็อปในไทยคือยังมีน้อยมากๆ ส่วนใหญ่ต้องซื้อออนไลน์ ถ้าแบบที่มีหน้าร้านจะมี SIN SHOP กับร้าน NY LA ที่มี Impala
- – แบรนด์ Impala, Chaya ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 จะเป็นราคาที่กำลังดีกับมาตรฐาน อาจจะลองตั้ง budget แล้วหาของตามงบที่เราตั้งไว้ ไม่อยากให้ทุกคนคิดว่าต้องใช้ของแพงเท่านั้น ให้ซื้อตาม budget ที่เรามี แล้วก็ว่าดูฟังก์ชั่นของรองเท้าเหมาะกับสิ่งที่เราอยากเล่นหรือเปล่า รองเท้าพอมันได้มาตรฐานแล้ว ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับความขยันของเรา
- – ถ้ายังไม่ชัวร์ว่าจะเล่นสายไหน อาจจะแนะนำให้ลองซื้อแบบบูทไปก่อน เพราะมันกลางๆ ที่สุด
- – ร้านขายอุปกรณ์ที่อยากแนะนำมีร้านชื่อ Seven Cruise และร้านที่ลูกปืน (bearing) ที่ไว้ใส่ในล้อชื่อ The Heartled Projects
- – ในกรุ๊ป Roller Skate Thailand จะมีร้านออนไลน์ที่ขาย Roller Skate ที่ได้มาตรฐาน ลองเข้าไปดูได้ ถ้าอยากได้คำปรึกษาคนในกลุ่มก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ สำหรับกรุ๊ป Roller Skate Skate Club : We take it seriously! ที่พวกเราตั้งมาอันนี้จะไม่ได้อนุญาตให้ขายของ จะมีแต่การแชร์ประสบการณ์กับเทคนิคสำหรับคนที่ตั้งใจเข้ามาเรียนเลย
9. คำแนะนำสำหรับการดูแลรองเท้า Roller Skate
- – ห้ามโดนน้ำเด็ดขาด ทั้งล้อและตัวลูกปืนที่อยู่ด้านใน plate รองเท้า เพราะว่ารองเท้ามันซักไม่ได้ แล้วพวกลูกปืนหรือ truck ถ้าโดนน้ำแล้วไม่เช็ดออกให้หมดจด มันจะขึ้นสนิม ประสิทธิภาพอาจจะลดลงหรือใช้ไม่ได้เลย ล้อที่ใช้มันลื่นมาก ถ้าโดนน้ำอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย
- – ถ้าลูกปืนโดนน้ำให้ถอดออกมาล้าง มีวิธีการล้างหลายแบบ ล้าง Sonax เขย่าๆ จนกว่าจะใส ยอดน้ำมันจักร แต่น้ำยาล้างมีหลายแบรนด์แล้วแต่เลือก มีแบบ non-chermical สำหรับล้างลูกปืนโดยเฉพาะก็มี
- – ตัวลูกปืนจะมีหยอดน้ำมันจักรมาให้อยู่แล้ว ถ้าไม่ได้ใช้บ่อยก็ยังใช้ได้ตลอด แต่ถ้าเล่นประจำอาจจะต้องล้างฝุ่น หยอดน้ำมันเพิ่มบ้าง เดือนสองเดือน วิธีเช็คคือลองหมุนล้อให้มันฟรีอยู่สักประมาณ 6-7 วินาที ถ้าหมุนแล้วมันสะดุดก็อาจจะต้องถอดมาล้างหน่อย
- – ถ้าช่วงไหนเล่นหนักๆ หน่อย เดือนนึงก็จะแกะออกมาเช็ดล้างบ้าง รองเท้าหนังกลับใช้พวกสเปย์สปากระเป๋า ถอดลูกปืนมาเช็คสนิม อยากให้เช็คพวกตัวเกลียว น็อต ทุกครั้งก่อนเล่น โดยเฉพาะคนเล่น Park น็อตตรง Truck จะหลุดบ่อยมาก อันตราย
- – อย่าลืมคอยสลับล้อในล้อนอก ล้อจะได้สึกเท่ากัน ประมาณสี่เดือนสลับครั้งนึงก็ได้
10. ฝากส่งท้าย เกี่ยวกับ Roller Skate
[คุณเดล] (IG: dayle.runnerrr)
– ถ้ามีอะไรอยากปรึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่กรุ๊ป Roller Skate Skate Club : We take it seriously! หรือจะทัก Instagram มาก็ได้ จะคอยตอบคนที่เป็นมือใหม่และจริงจัง ปกติรับสอนด้วยแต่ช่วงนี้งด เนื่องจากบาดเจ็บอยู่
[คุณเพิร์ล] (IG: pearl.is.pearl)
– ใครที่สนใจและตั้งใจอยากเล่น เชิญชวนมาจอยกลุ่มกับพวกเราได้ พวกเราไม่ได้เก่งอะไรมาจากไหน แต่อาศัยขยันเล่น มีเพื่อนคอยฝึก คอยเล่นไปด้วยกัน
[คุณนิว] (IG: lomoroom)
– ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ที่อยู่ในกรุ๊ป และทุกคนที่เคยเจอกันตามลานเสก็ตพาร์ค ที่คอยแชร์ประสบการณ์การเล่นให้เรา มันเป็น community ที่ดี ที่เราเจอแล้วอยากแชร์ อยากสอน ได้มีเพื่อนที่ร่วมพัฒนาไปด้วยกัน อย่างในกรุ๊ป Roller Skate Skate Club : We take it seriously! ก็จะมีที่เรียกว่า 15 Days Trick จะให้โจทย์เป็น 15 วัน ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มไปฝึกและแชร์วิดีโอมา มีการบ้านให้โพสต์แชร์เหมือนได้ฝึกกับเพื่อน หรือบางทีแค่เข้ามาดูคนอื่นหรืออ่านคอมเมนต์ก็สนุกแล้ว ในกรุ๊ปสามารถโพสต์แบบ anonymous ได้ด้วย สำหรับใครที่เขินอาย อยากให้มาจอยกัน
รายละเอียด
Date: 3 Nov 2021 (21:00-23:20)
Speaker:
– คุณเพิร์ล
– คุณเดล
– คุณนิว
ผู้ก่อตั้งและแอดมินกลุ่ม Roller Skate Skate Club : We take it seriously!
Moderator:
– พี พนิต
เจ้าของเพจ วันนี้สรุป..มา
ClubhouseTH #ทำไมถึงสำคัญ #RollerSkate #โรลเลอร์สเก็ต #RollerSkateSkateClub #WeTakeItSeriously #RollerSkateThailand #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา