Product Manager คืออะไร? คำแนะนำสำหรับคนอยากทำ

why product manager matters

Product Manager คืออะไร

ความสำคัญของ Product manager (PM)

[คุณเนียร์]
– การทำโปรดักเป็น team effort เรามีหลายๆ คนที่ทำงานด้วยกัน ถ้าเป็น tech product ก็มีทั้ง developer, designer, data analytics/consult, data scientist, business analyst แต่ละคนก็จะมีความรับผิดชอบ มีความเก่งในแต่ละด้านของตัวเอง เราจะเป็นคนที่ identify หาให้ได้ว่า opportunity ในการทำโปรดักหรือฟีเจอร์ที่เรากำลังจะไปให้ลูกค้าหรือ user ใช้ มันมีอะไรอีกบ้าง เราสามารถจะทำให้มันดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ช่วยให้ชีวิตคนดีขึ้นได้อย่างไร เป็นภารกิจหลักของ Product Manager คือการ define opportunity มี vision ว่าอยากจะทำโปรดักยังไง มี strategy ในการเดินหน้าโปรดักไปในทางไหนบ้าง ฟีเจอร์ ไหนควรทำก่อน แล้วก็มาคิดรวมกันกับทีมพัฒนาโปรดัก ทีมดีไซนเนอร์ ว่าเรามี vision, strategy ประมาณนี้ priority เป็นแบบนี้ เราทำยังไงกันดี

– บทบาทสำคัญของ PM ก็จะช่วย identify ว่าสิ่งที่เราจะทำต่อไปมันมีประโยชน์ยังไง ทำอะไรกันต่อดี prioritize ให้มันทันกับความต้องการของตลาดหรือ user

[คุณพลอย]
– เปรียบเสมือนทีมฟุตบอล จะมีกองหน้า กองหลัง ทุกคนก็จะเก่งในตำแหน่งของตัวเอง แต่ถ้าไม่มีโค้ช ไม่มีคนวาง strategy หรือถ้าทุกคนวิ่งไปเตะบอลกันหมดเลย มันก็จะไม่มี direction ว่าแผนเราคืออะไร ทำอะไร มันก็จะมั่ว เหมือนในบริษัทที่เรามี CEO ที่เป็นคนวาง direction ให้ว่าบริษัทเราจะโฟกัสอะไร ทุกคนจะได้ทำงานและมันสอดคล้องไปด้วยกัน มีเป้าหมายเดียวกัน ทำไปในทิศทางเดียวกัน รู้ว่าอะไรทำหรือไม่ทำ อะไรสำคัญเพราะอะไร

– PM ก็เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เหมือนเราย่อย responsibility ฝั่งนั่นของ CEO มา แต่เราก็ไม่ใช่ CEO ที่จะมี authority เหนือทุกคน แต่เรามีหน้าที่ที่จะดูภาพรวม ให้มั่นใจว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะทำมันยังสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันอยู่ ทุกคนเก่งและมีสิ่งที่อยากทำอยู่ในใจ แต่ถ้าปล่อยทุกคนไป แต่ละคนก็ถนัดคนละอย่าง เห็นกันคนละมุม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาคิดว่าสำคัญต่อตัวโปรดัก มันอาจจะมองกันคนละมุมมากๆ

– PM เหมือนเป็นคนตรงกลางที่เข้าใจของทุกๆ ฝั่ง แล้วตัดสินใจว่าอะไรควรจะไป เพราะเราเป็นคนที่เห็นภาพรวมเยอะที่สุด และเราก็ดูประโยชน์คือความสำเร็จของโปรดักไปด้วยเป็นสิ่งหลัก เรารวบรวมข้อมูลจากทุกๆ คน เพื่อวาง direction ให้กับทุกๆ คน ถ้าเกิดไม่มี PM มันก็จะมีโอกาสที่ทุกคนจะวิ่งไปกันคนละทิศ

คุณสมบัติที่เหมาะสมของ product manager

[คุณพลอย]
– PM แต่ละที่มีสิ่งต้องมีไม่เหมือนกัน ในไทยหลายๆ ที่ Product Manager ก็ทำหน้าที่เหมือน Project Manager ถ้าเกิดพูดในเชิง worldwide จริงๆ มันเป็นสกิลที่ทุกคนฝึกได้ แต่คนที่เหมาะกับ PM คือคนที่ต้องชอบทำงาน multi-task ได้ ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ๆ คนที่ชอบทำงานด้านใดด้านหนึ่งที่ลึกมากๆ จะไม่เหมาะกับการเป็น PM เพราะ PM คือตำแหน่งที่ไม่ specialist เป็นตำแหน่งที่ต้องรู้ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถลงลึกได้ทุกๆ อย่าง เพราะหน้าที่คือต้องเข้าใจกว้าง

– ต้องเป็นคนที่ชอบคุยกับคนเยอะๆ เพราะว่าต้องคุยกับคนเยอะมาก ถ้าชอบทำงานคนเดียว ต้องการสมาธิสูง ก็จะลำบากในการเป็น PM เพราะไม่ใช่แค่ต้องคุย แต่ต้องโน้มน้าว เจรจา พรีเซนต์ empathize เข้าใจคนอื่นเยอะมากๆ

– ถ้าเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบฟังคนอื่นเท่าไหร่ ก็ไม่เหมาะกับการเป็น PM เช่นกัน เพราะเราต้องรับฟังสูงมาก

[คุณเนียร์]
– เราเป็นคนต้องไปขายฟีเจอร์ให้คนอื่นอยู่บ่อยๆ ไปเล่นให้ดีไซน์เนอร์ฟัง ขายไอเดีย เล่าให้ dev ฟัง ทำยังไงให้เขาตื่นเต้นไปกับเรา ต้องทำยังไงให้การทำงานเป็นทีมสามารถเดินไปด้วยกันได้ พวกนี้ก็จะเป็น soft skill ทั้งหมด

– ส่วนฝั่ง hard skill ถ้าเป็น tech product management ตอนนี้ก็จะประกอบไปด้วยวงกลม 3 วง คือ 1. UX 2. Tech 3. Business

– การทำ PM ในยุคนี้คือการผสานทักษะของสามด้านนี้เข้าไว้ด้วยกัน ที่จะเข้าใจในมุมของดีไซน์ มุมของเทคโนโลยี การสร้างของ มุมของธุรกิจ การเอาของไปขาย เราเป็นคนตรงกลางที่เข้าใจหลายๆ อย่าง และช่วยดันให้ทีมโปรดักทำงานออกมาได้ พอเป็นมุมนี้แล้วหลายๆ คนก็จะเริ่มจากขาใดขาหนึ่ง เช่น ผมจะเป็นขา Tech มาก่อน อย่างพลอยอาจจะเป็นขา Business มาก่อน

– เพราะฉะนั้นคนที่อยากเป็นหรือเหมาะที่จะเป็น ถ้ามีทุนตั้งต้นเดิมที่มาจากขาใดขาหนึ่งในนี้ และคิดว่าสนใจจะ explore ไปทางขาอื่นๆ เช่น เราอาจจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เบื่อเขียนโค้ดแล้ว รู้สึกว่าดีไซน์มันน่าสนใจ ทำไมสร้างของสิ่งนี้แล้วคนไม่ใช้ ทำยังไงสร้างของแล้วเอาไปขายให้ได้ หรือว่าอย่างคนสาย business ที่อยากรู้ว่าของสร้างยังไง เรามี vision ที่ใหญ่กว่านั้น มันสร้างได้จริงไหม ก็จะแตะไปทางขาอื่นได้ ถ้ามันเริ่มต้นจากขาใดขาหนึ่ง แล้วค่อย explore หาความรู้ hard skill ทางด้านอื่น และเสริมกับ soft skill ที่พูดมาเมื่อกี้ก็จะสามารถ explore ในเรื่องของการเป็น PM ต่อในอนาคตได้

[คุณพลอย]
– คนที่คิดว่าน่าจะไม่เหมาะกับการเป็น PM อีกอย่างคือ เป็นคนที่ปฏิเสธคนไม่เป็น เพราะว่าด้วยหน้าที่ของเราเราต้อง say no เยอะมาก ถ้าเราไม่สามารถ say no ได้เราจะไม่ไหวและจะกลายเป็นโปรดักที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเราไม่สามารถ prioritize ได้

– Say No หลักๆ เราต้องเข้าใจก่อนเลยว่าคนที่เข้ามาหาเรา เขาต้องการอะไร เพราะอะไร ปัญหาคืออะไร เราต้องรับฟังและเข้าใจทุกคน เหมือนเรามีลูกชายกับลูกสาว คนนึงขอของอย่างนึง อีกคนขออีกอย่าง เรามีตังค์เท่านี้เราจะให้ใคร จะบาลานซ์ยังไง ถ้าให้ทั้งคู่ก็คือเกินงบ ไปกระทบสิ่งอื่นๆ ลูกไม่ได้เรียนหนังสือ เงินไม่พอ อาจจะกระทบสิ่งอื่นๆ ในอนาคต เพราะฉะนั้นเราต้องสามารถเข้าใจว่าเขาต้องการอะไร และหาวิธีแก้ปัญหาให้เขาได้

– อีกอันนึงก็คือ ต้องดูว่าตัวเองเป็น problem solver ขนาดไหน เพราะทุกคนจะคิดว่าตัวเองเป็น problem solver ให้ลองดูว่าปกติเราเห็นปัญหาในบริษัท เราเป็นคนที่ลุกขึ้นไปแก้เลยหรือเปล่า พอเราเห็นแล้วเราพยายามที่จะแก้มันจริงๆ หรือเปล่า หรือเราแค่เห็นแล้วเราก็แค่คิดในหัว แล้วก็อาจจะบอกคนอื่นแต่ไม่ได้ไดรฟ์มันจนจบหรือปัญหาถูกแก้ ถ้าเราเป็น problem solver จริง เราจะไม่นั่งอยู่เฉยๆ กับการที่เราเห็นปัญหา เวลาเราเห็นสิ่งต่างๆ แล้วเราอยากลงมือไปพัฒนาให้มันดีขึ้นหรือเปล่า อาจจะไม่ใช่ปัญหาของเรา 100% แต่เป็นปัญหาของส่วนรวม จริงๆ หลักๆ แล้วต้องเป็นคนมองเพื่อส่วนรวมมากๆ ไม่ใช่การทำเพื่อ role ของตัวเอง แต่เป็นการทำเพื่อให้โปรดักประสบความสำเร็จ ค่อนข้างเป็น role ตรงกลางมากๆ ถ้าเราไม่กล้าที่จะกระโดดเข้าไปแก้ปัญหาของคนอื่น เพื่อให้ภาพรวมของบริษัทมันไปได้ เราอาจจะยังไม่เหมาะ

[คุณเนียร์]
– PM ก็คือเป็นนักแก้ปัญหา พอมีโจทย์หรือปัญหาอะไรเข้ามา แล้วเราทำยังไงเพื่อให้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจจะเสริมจากปัญหาบริษัท พอมันมาเป็นในมุมโปรดัก ก็จะเป็นแบบเช่น อยากเพิ่ม user เข้าใช้แอพของเรา 10% เราก็อยากจะทำให้ได้ ต้องทำยังไงบ้าง เริ่ม explore ว่า data เป็นยังไง UX เป็นยังไง ทำให้มันดีขึ้นได้ไหม คุยกับ tech ว่าถ้าเพิ่ม feature นี้ใช้เวลานานไหม เป็นนักแก้ปัญหา ที่อยากแก้ปัญหา อยากทำให้โปรดักมันดีขึ้น

หน้าที่ของ PM

[คุณพลอย]
– มีอันที่ common กับไม่ common อันที่ common หลักๆ แล้วก็คือเราต้องเซ็ต goal ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาใหญ่ๆ ของโปรดักของเราคืออะไร ปัญหาของบริษัทคืออะไร ลูกค้าต้องการอะไร เป็นสิ่งที่ต้องทำ ต้องเข้าใจตลอดเวลา แล้วเอาสิ่งพวกนี้มาจัดลำดับความสำคัญอยู่ตลอดเวลา ทุกๆ สัปดาห์ หรือถ้าเป็นอันใหญ่ๆ ก็จะจัดลำดับทุกๆ quarter ตามแผนของบริษัท ถ้าจะสร้างอะไรก็จะเป็น weekly มาดูว่าปัญหาย่อยๆ มันมีอะไร เกิดอะไรขึ้น คอยมาบาลานซ์ สัมภาษณ์ internal team สัมภาษณ์ customer เข้าใจ business ดู data ว่าจากเป้าที่เราวางไว้มันเป็นยังไง ไปถึงไหนแล้ว ทำกันเกือบทุกวัน หลังจากนั้นก็จะพยายามหา solution รวมทีม คุยกับทุกๆ ทีมเกือบทุกวัน ในทีมที่เป็นโปรดักด้วยกันก็คือ UX, Tech, Dev คุยกันทั้งวัน คุยกันบ่อยมาก ว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่ มีติดอะไรไหม มีอะไรให้ช่วยหรือเปล่า ตอนนี้ทุกคนโฟกัสอะไรอยู่ เจอปัญหาแบบนี้แล้วจะแก้ยังไง เพื่อให้ไปถึง goal ของเรา ทำยังไงให้โปรดักมันประสบความสำเร็จ ในส่วนของเนื้อหาลึกๆ มันก็จะไม่ซ้ำกันขึ้นอยู่กับว่าโปรดักของเราเจอปัญหาอะไร อันนี้คือภาพใหญ่ของสิ่งที่เราทำ ต้องคุยกับคนทั้งวัน

[คุณเนียร์]
– คิดว่าแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ใหญ่ๆ คือ

– ด้าน Discovery รวมทุกอย่างตั้งแต่ไปคุยกับทีมต่างๆ ว่าตอนนี้เขาอยากได้อะไร คุยกับ UX ว่า User Research เป็นยังไง คุยกับ Business คุยกับ Operation ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เราจะทำอะไรกันดี เพื่อให้มาตรวัดบางตัวมันดีขึ้น

– อีกด้านก็คือ Delivery อันนี้เราก็จะอยู่ไปใกล้ชิดทีม Dev มากขึ้น ดูว่า progress ที่กำลังทำอยู่เป็นยังไงบ้าง ติดปัญหาอะไรบ้าง มีอะไรที่เราต้องช่วยแก้ไขหรือตอบคำถามไหม เราจะได้ทำงานได้ต่อ สามารถปล่อยของได้ตามกำหนด

– สุดท้ายหลังจากนั้นก็ต้องมา evaluate ดูผลลัพธ์หลังจากที่ปล่อยออกไป ดู data, behavior มาเป็นข้อมูลในการทำว่าเราจะปรับปรุงอะไรเพิ่มต่อดี ก็จะวนลูปไป discovery ต่อ

[คุณพลอย]
– ฟีเจอร์หนึ่ง ไม่ใช่ว่าทำครั้งเดียวแล้วจบ ทุกๆ อย่างจะมีการพัฒนาของมันได้ตลอดเวลา แต่แค่จะพัฒนาสิ่งนี้ให้ดีขึ้น มันสำคัญที่สุดแล้วไหม เทียบกับการไปพัฒนาอย่างอื่น สิ่งไหนที่จะสร้าง impact ได้เยอะที่สุด ค่อนข้างเป็น infinite loop ไปเรื่อยๆ

คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเริ่มทำ Product Manager

1. สำหรับคนที่มาจากสาย dev

[คุณเนียร์]
– ของผมแบ็คกราวน์ก็มาจากฝั่ง tech เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น มีหลายๆ อย่างที่เรารู้สึกอยากแก้ปัญหา พอเรามีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีประมาณนึง พอเราเริ่มสนใจมากขึ้นจากส่วนที่เราดูอยู่แล้วนั้น มันยังมีมุมอื่นๆ ที่เราสามารถไป explore ได้ เช่น ตอนที่ผมเขียนโปรแกรม ผมก็จะไม่รู้ว่าโปรแกรมที่เราเขียนมันใช้ง่ายไหม คนโหลดไปแล้วจะใช้ไหม เราก็จะเริ่มศึกษาศาสตร์อื่น ที่มันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรดักมากขึ้น เช่น เรื่อง User Experience พอเรามีความรู้ด้าน UX มากขึ้น หรือเราศึกษาด้าน business มากขึ้น ก็จะทำให้เราเข้าใจภาพรวมของการพัฒนาโปรดักแบบไกลขึ้น และพอเห็นภาพเหล่านี้มากขึ้นก็จะเปิดโอกาสให้เราได้ลองทำโปรดัก ได้ลองเข้าใจอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับ product development มากขึ้นด้วย

– ตอนนั้นที่เป็น dev อยู่ แล้วก็ได้รับโจทย์ให้ทำ mobile app ตัวนึง เราก็เริ่มอยากรู้ว่าต้องทำฟีเจอร์ไหนบ้าง user อยากได้จริงๆ หรือเปล่า แม้ว่าตอนนั้นเราเป็น developer แต่เราก็ชวนคนมาทำ UX ไปศึกษาเพิ่มเติม ลองทำดู เพราะตอนนั้นทั้งบริษัทไม่มี designer เลยเป็น software house เลยเห็นโอกาสที่เป็นช่องนึงให้เราพิสูจน์ตัวเองว่าเราสนใจด้านนี้จริงหรือเปล่า แล้วก็เป็นช่องที่ทำให้เราเห็นว่าการทำโปรดักมันมีอะไรบ้าง นอกจากการเขียนโปรแกรม เราก็คว้าโอกาสนี้ไว้และไปทำ research ดีไซน์เพิ่มเติม

– ตอนที่เราไปบอกหัวหน้าว่าอยากย้ายมาทำ PM เราก็บอกเขาเลยว่าเรามีความรู้ด้าน dev และเราไปเติมสกิลด้าน UX แบบนี้ แต่ว่าเรื่อง business ยังขาด แต่คิดมาแล้วว่าถ้าจะเติม business เราจะต้องทำหนึ่งสองสามสี่แบบนี้ พอเราเห็นลู่ทางในการเดินมาทางด้านนี้ ก็วางแผนตัวเองเลยว่ามาจากด้าน tech ต้องเติมด้าน business ยังไง design ยังไง ต้องมีความรู้ ต้องเรียนเรื่องอะไรเพิ่ม เรียน marketing เพิ่มเติม เข้าใจเรื่องของการตั้งราคา การขาย พยายามเติมข้อมูลตัวเองเรื่อยๆ อ่านหนังสือ เรียนคอร์สออนไลน์ เติมมาเรื่อยๆ

– แต่มีหลายคนบอกว่าจริงๆ แล้ว มันไม่มีทางที่เราจะเก่งที่สุดเต็ม 100% ในทั้งสามด้าน มันไม่มีทางเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ด้านใดด้านนึงมาก่อน แล้วก็เติมด้านที่เหลือเข้าไปเรื่อยๆ มากกว่า

2. สำหรับคนที่มาจากสายอื่น

[คุณพลอย]
– ช่วงนี้ใครอยากเป็น PM ถือว่าเป็นจังหวะที่ดี เพราะ demand เยอะกว่า supply มีบริษัทที่ต้องการเยอะ แต่มีคนที่เคยทำจริงๆ มีน้อย เพราะฉะนั้นจะเป็นโอกาสของคนที่ไม่มีประสบการณ์สามารถกระโดดเข้ามาสู่วงการนี้ได้ อีกหน่อยถ้ามันเริ่มขยายไปมากๆ เราอาจจะต้องไปแข่งกับคนที่มีประสบการณ์มากขึ้น ก็จะทำให้เปลี่ยนสายได้ยากขึ้น

– หลักๆ คือต้องเข้าใจก่อนว่าจะเป็น PM ได้ต้องมีสกิลอะไรบ้าง ต้องทำอะไรได้บ้างแล้วกลับมาวิเคราะห์ตัวเองว่าเรายังขาดอะไรอยู่ พาร์ทไหนที่เรายังไม่เคยทำ หรือไม่สามารถพิสูจน์ว่าทำได้ เพราะปกติการสัมภาษณ์ PM ก็จะมีใหญ่ๆ ในหัวว่าคนนี้ได้ business หรือเปล่า เข้าใจ tech ไหม เข้าใจลูกค้าหรือเปล่า soft skill เป็นยังไง เราก็ต้องดูว่าเราถนัดตรงไหน ตรงไหนที่เราไม่ถนัด ตรงไหนที่เราต้อง improve ขึ้นในการที่จะเป็น PM ที่ดีได้ แล้วไปหาวิธีเติมเต็มพาร์ทนั้น เพื่อให้เวลาเราไปสัมภาษณ์ตำแหน่ง PM ให้เขารู้สึกสบายใจว่า ถึงเราจะไม่เคยเป็น PM มาก่อน แต่เรามีศักยภาพที่จะเป็นได้

– อันนึงที่ดีคือ คนที่มีสกิลของ entrepreneur เคยทำธุรกิจของตัวเองมาก่อน เพราะมันใช้สกิลคล้ายๆ กับ PM ในเชิงของ hard skill ถ้า soft skill ก็จะดูว่าเราพูดเก่งขนาดไหน วิธีการเจรจา อาจจะต้องฝึกเรื่องพวกนี้ในงานที่เราทำอยู่ก่อน ดูว่ามีสิ่งไหนที่เราจะสามารถริเริ่มได้ไหม มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร อยากให้คนที่อยากย้ายมาทำ PM ทดลองทำสิ่งพวกนี้ในบริษัทตัวเองก่อนจะที่ย้ายไป เพื่อเราจะได้รู้ตัวเองด้วยว่าเราชอบไหม role ที่ใกล้ๆ กับ PM ในบริษัทมีหรือเปล่า มีโอกาสขอย้ายหรือทดลองทำในบริษัทก่อนได้ไหม ก่อนที่จะย้ายมาจริงๆ

– คนที่ทำด้าน business มา มันก็คือประสบการณ์ ที่จะสะสมให้เราเก่งด้านใดด้านหนึ่งมากขึ้น ศึกษา เรียนรู้ ต้องมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ค่อนข้างสูง ช่วงที่เรามาเป็น Product Manager ช่วงแรกๆ คือ 4-5 ทุ่มทุกวัน อ่านหนังสือเยอะมาก คุยกับคนเยอะมาก เรียนคอร์สออนไลน์ ฟังพอดแคสต์ ดู Youtube ต้องเป็นคนขี้สงสัยว่าแบบนี้เขาทำกันยังไง แล้วก็ search ทุกอย่าง อ่านทุกอย่าง แล้วเอามา apply ไม่งั้นเราก็จะทำไม่ได้ ยิ่งเราเป็นตำแหน่งที่ต้องรู้ทั้งสามด้าน ส่วนใหญ่เลยจะเป็นคนที่มีประสบการณ์สูง อย่างที่ต่างประเทศ PM ก็จะมีอายุนิดนึง จะไม่ใช่ junior มาก เพราะต้องมีประสบการณ์มาจากหลายๆ อย่างแล้ว แต่ถ้าเราต้องการที่จะเก็บประสบการณ์ให้เร็ว ก็ต้องลองทำฝึกทั้งสามอย่าง ในเวลาที่ว่าง ต้องพยายามทำให้มากก็จะเป็นได้เร็วกว่าคนอื่น

3. สำหรับเด็กจบใหม่

[คุณพลอย]
– ให้ลองสมัครไปเป็น Associate Product Manager ไปช่วยเขาก่อน สิ่งที่เขาจะดูเป็นหลักในการเป็น associate คือ mindset เพราะ skillset ก็รู้ว่าจะต้องเทรนเพราะไม่เคยทำมาก่อน ก็จะดูว่า logical thinking เป็นยังไง analytical skill เบื้องต้นเป็นยังไง communication, soft skill จะเข้ากับทีมได้ไหม ส่วนใหญ่การสัมภาษณ์จะไม่ได้ดูแค่ความเก่ง แต่จะดูความ fit in กับทีมด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราไปสมัครไปเป็น PM แล้วยังไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งท้อ ให้ลองสมัครไปหลายๆ ที่ เพราะปกติรับสมัครเขาจะดูจุดแข็งของทีมปัจจุบันคืออะไร และหาคนที่เขาขาดมาเติมเต็ม ถ้าเราไปเก่งในด้านที่คนในทีมเขาเก่งอยู่แล้ว ก็มีส่วนให้เราอาจจะยังไม่ใช่ที่เขาต้องการเหมือนกัน ลองสัมภาษณ์เยอะๆ ก็น่าจะเห็นโอกาสเอง

แนะนำหนังสือ/คอร์สเรียน เกี่ยวกับ Product Manager

[คุณพลอย]
– หนังสือเล่มแรกที่แนะนำให้อ่านคือ INSPIRED: How to Create Tech Products Customers Love – Marty Cagan จะช่วยให้เข้าใจภาพรวมของการทำโปรดัก แต่จะ high level มาก

– แต่เล่มที่เราอ่านแล้วเป็นตัว trigger เราคือ Escaping the Build Trap: How Effective Product Management Creates Real Value – Melissa Perri ตอนนั้นเราทดลองทำโปรดักมาได้เดือนสองเดือนแล้วมาเจอหนังสือเล่มนี้จากการดู Youtube แล้วซื้อมาอ่าน แล้วรู้สึกว้าวมาก เพราะเราทำผิดทุกอย่างที่เขาบอกมาเลย มันปรับพลิกได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้

– ถ้า Youtube ให้ดู Product School tips เขาเยอะมากกับ Mind The Product อีกตัวนึง

– แล้วก็ขึ้นอยู่กับโปรดักที่เราทำ ว่าเป็นโปรดักสร้างใหม่หรือเปล่า ถ้าเป็น new new product เลยก็จะแนะนำให้ดูการทำ startup ทั้งหลาย เพราะมันคือคอนเซ็ปเดียวกัน เหมือนการสร้าง startup ขึ้นมาใหม่ ก็แนะนำให้ไปดูพวก Y Combinator หรือฟังพอดแคสต์ของนักธุรกิจทั้งหลายก็จะเป็นอันที่ดี ที่จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น แต่ที่ดีที่สุดคือการทดลองทำเอง

– ส่วนคอร์สออนไลน์จริงๆ มีเยอะมาก แต่เราไม่ได้เรียนเยอะขนาดนั้น เลยไม่สามารถแนะนำได้ แต่เชื่อว่าทุกๆ อันช่วยให้ทุกคนเข้าใจเบสิคคอนเซ็ปของการเป็น Product Manager ได้ ก็คือเรียนดีกว่าไม่เรียนทั้งนั้น เรียนหลายๆ เจ้าก็ดี จะได้เห็นหลายๆ มุมที่อีกเจ้าไม่ได้พูด หรือเห็นการตีความ หลายๆ อย่างที่ไม่เหมือนกัน แล้วเอากลับมาวิเคราะห์ได้ว่าจริงๆ แล้วมันน่าจะเป็นยังไงกันแน่

[คุณเนียร์]
– ตอนที่เราเปลี่ยนสายมาทำ PM เราก็อ่าน INSPIRED เหมือนกัน อย่างที่พลอยบอกว่าอาจจะค่อนข้าง high level นิดนึง อาจจะผิวๆ สำหรับคนที่มีประสบการณ์ด้าน tech มาก่อน แต่ถ้าเริ่มต้นจริงๆ ก็ควรอ่านอยู่ดี เพราะเป็นมันค่อนข้างครบมาก เป็นคัมภีร์ที่วางไว้บนโต๊ะ หยิบมาเปิดเมื่อไหร่ก็ได้ พอเราสงสัยเรื่อง roadmap สงสัยเรื่อง strategy เราหยิบมาเปิด เช็คความรู้ความเข้าใจของตนเองสักรอบนึงก่อนไปทำงานต่อก็ได้ เป็นหนังสือที่อ่านได้เรื่อยๆ

– ผมเรียนคอร์สออนไลน์ของ Udemy เป็นคอร์ส Complete Product Manager ที่มีคนสอนสองคน เป็นตัวตั้งต้นที่ทำให้เราเข้าใจทุกคอนเซ็ปของการเป็น PM ว่านอกเหนือจากการทำงานร่วมกับ Dev, UX แล้ว มันมีบทบาทหรือความรับผิดชอบอะไรอีกบ้าง ที่เราต้องรู้และเข้าใจไว้

[คุณพลอย]
– ทางฝั่ง business แนะนำ blog ของ Jefago และถ้าเกี่ยวกับ PM ยังมีอีกมากมายบน medium เยอะมาก

[คุณเนียร์]
– ถ้าเป็นเนื้อหาภาษาไทยอาจจะยังไม่ค่อยมี PM ในเมืองไทยยังถือว่าใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการทำ Product Management ใน startup น่าจะ 1-2 ปีที่ผ่านมา resource ก็เลยอาจจะยังไม่ได้มีเยอะ อย่างคอร์สของ Skooldio ที่เอามาทำ ก็เอามาจากประสบการณ์การทำโปรดัก หลายๆ ด้านของ Dev, UX, Tech มารวมกัน นอกนั้นส่วนใหญ่เนื้อหาก็จะเป็นภาษาอังกฤษซะเยอะ

แชร์ประสบการณ์การทำงานเป็น PM

[คุณเนียร์]
– นึกถึงโควิดตอนปีที่แล้ว หน้าที่ของ PM คือการ prioritize roadmap ตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่และอนาคตจะทำอะไร พอด้วยการทำงานสมัยนี้มันต้อง agile มันต้อง response to change พอมีอะไรเข้ามา ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนประมาณนึง

– ตอนโควิดเข้ามาครั้งแรก roadmap ที่คิดไว้ทั้งหมดก็พังทลาย ต้องมานั่งคิดใหม่ แต่ก็เป็น challenge ที่สนุกมากสำหรับทีม ที่เราต้องมาพลิกแพลง มาวางแผนใหม่ สิ่งที่เคยสร้าง priority ไว้จะเปลี่ยนยังไงบ้าง ให้เราอยู่รอด ก็จะเป็นความท้าทายเมื่อมีเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมายเข้ามา เราจะมาฝึกทักษะในการ prioritize งานใหม่ได้ยังไง จะไปคุยกับแต่ละฝ่ายยังไง เมื่อทุกคนออนไลน์ ทุกคนก็อยากจะมีฟีเจอร์เพิ่มที่จะใช้ เราต้องทำยังไงให้มันพัฒนาได้มากขึ้น

[คุณพลอย]
– อันที่พีคสุดๆ คือช่วงที่ NocNoc ขายดีมากๆ รอบแรกที่ทำโปรใหญ่ อยู่ดีๆ ยอดขาย 2-3 วันมันเป็น 50 ล้าน จากทีผ่านมาเดือนละล้าน แล้วเป็นสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นขนาดนี้ แล้วมันเกิดปัญหาเยอะมาก เหตุการณ์ที่เราไม่ได้คาดคิดเอาไว้ที่เราคิดว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อคนเกินเท่านี้ มันเกิดขึ้นพร้อมกัน ช็อกมาก แทบไม่ได้นอน ทุกคนโทรหา เป็น customer service เอง ช่วยตอบปัญหาลูกค้า ต้องลงไปช่วย ถึงเวลานั้นต้องรีบลิสต์ปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามันมีอะไรบ้าง แล้วเดี๋ยวจะมีใหญ่ๆ แบบนี้อีกทีเมื่อไหร่บ้าง ควรจะรีบบล็อกอันไหนก่อน อันไหนที่จะมาตลอด อันไหนที่จะมาเฉพาะช่วงคนเยอะ ต้องมานั่งจัดการ crisis management ตอนนั้นโหดมาก เพราะต้องทำให้จบในเวลาที่สั้นสุดๆ เพราะทุกคนรวมถึงลูกค้าก็รอคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทีมอื่นๆ ก็จะมีปัญหาที่โดนกระทบคนละอย่าง เรื่องของเขาจะเป็นยังไง จะเกิดอะไรขึ้น และจะทำอะไรต่อ ทุกคนเหมือนกำลังรอเราอยู่

(NocNoc เป็นเว็บไซต์ marketplace ให้คนเอาของเกี่ยวกับการสร้าง/ตกแต่งบ้านมาขาย vision ของเราคืออยากให้คนมีบ้านในฝัน สามารถเป็นจริงได้ง่ายๆ เลยเริ่มมาจากสิ่งของ และก็กำลังพัฒนาพาร์ทเซอร์วิสขึ้นมาเพิ่มเติมด้วย)

[Guest Sharing]
– การเป็น PM สำหรับเราต้องเป็นคนที่จิตแข็ง และมีสกิลในเรื่องของการ compromise ที่ดี ต้องเป็นคนที่มุ่งมั่นให้ objective ของโปรเจคมันสำเร็จในเวลาที่จำกัด ต้องประสานงานกับหลายๆ ฝ่าย และระหว่างทางก็มักจะมีคนชวนออกนอกลู่นอกทางตลอดเวลา เช่น dev อาจจะมีไอเดียเพิ่มเติม ถ้ามันดีมี benefit กับโปรเจค เราก็ต้องพิจารณาในหลายๆ ส่วน ว่ามัน plug in ได้ไหม โดยไม่กระทบกับไทมไลน์ที่เรามี หรือว่าเราอาจจะต้องแบบตัดใจ เอาไปใส่ใน phase ต่อไป หรือบางทีทีม sales หรือ marketing อาจจะมาประชุมกับเรา แล้วขอเพิ่มฟีเจอร์เพื่อเพิ่มยอดขาย เราก็ต้องเอามาปรึกษาทีม dev หรือทีม design ของเราก่อน ไม่สามารถที่จะไปตอบเองในห้องประชุมได้ ต้องจิตแข็ง ไม่สามารถเคลิบเคลิ้มไปได้ และส่วนที่สำคัญที่สุดในการเป็น PM ที่ดีคือ เวลาที่โปรเจคมันสำเร็จคือการให้เครดิตทีม ถึงแม้ว่าเราจะเป็นเหมือนหัวหน้าหมู่ แต่เราไปไม่ได้ด้วยตัวคนเดียว ถ้ามันดีก็คือให้ทีมรับไป แต่ถ้ามันไม่ดี PM ต้องรับไปเต็มๆ

– ส่วนสุดท้ายคืออยากวิงวอนหลายๆ บริษัทที่ยังใช้ dev มาเป็น PM ซึ่งในความเป็นจริง อยากให้หา PM มาทำจริงจังเพราะเป็นตำแหน่งที่สำคัญ และควรจะมีในทุกบริษัท เพื่อมาจัดการโปรเจคของบริษัท เพราะ dev เขาเป็น dev จะแฮปปี้กับการ coding การสร้างของ ควรปล่อยให้เขาทำสิ่งนั้นไป ดีกว่าที่จะต้องให้เขามาประชุมกับ sales หรือออกไปหาลูกค้า ซึ่งมันไม่เป็นผลดี บางบริษัทหนักกว่านั้นคือใช้ designer มารับงาน PM ด้วย เหมือนเราให้ศิลปินออกไปขายของ ซึ่งมันเหมือนไม่ได้ put the right man to the right job

ฝากส่งท้าย เกี่ยวกับ Product Manager

[คุณพลอย]
– สำหรับคนที่อยากเป็น Product Manager ก็อยากให้ลงมือทดลองทำ ทดลองสมัคร แล้วก็เรียนรู้เยอะๆ

[คุณเนียร์]
– อยากให้ลองทำเยอะๆ เป็นทักษะที่มีไว้ไม่เสียหาย ต่อให้เราจะเป็น Dev, UX หรือ Business ต่อไปในอนาคต แต่ว่าการที่เรารู้ทักษะด้านอื่นๆ ก็ทำให้เราเห็นภาพกว้างขึ้น ไกลขึ้น มีประโยชน์ต่อการทำงาน เป็น Dev ที่เข้าใจ user ได้ด้วยหรือเป็น Business ที่เข้าใจว่าของสร้างยากยังไง มันมีประโยชน์อยู่แล้ว คิดว่าทุกคนที่จะเข้ามาสายนี้จะเป็นที่ต้อนรับมากๆ อยากให้คนที่มีทักษะหลายอย่างแบบนี้อยู่ ที่เป็น generalist

– ตอนนี้ผมกำลังรัน community เป็น FB Page ชื่อ ProductTank Bangkok เป็นเครือข่ายของ Product Tank จาก Mind The Product ซึ่งเป็น worldwide และมี community ของแต่ละเมือง แต่ละประเทศ อนาคตน่าจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับ Product Management ในการเชิญ speaker ที่เป็น international หรือว่าคนไทยเก่งๆ ที่ทำโปรดักมาแบ่งปันประสบการณ์การกัน ก็จะเป็นการ build community นี้ต่อไปในอนาคต ขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมจอยกัน


รายละเอียด

Date: 18 May 2021 (21:00-22:10)

Speaker:
– คุณพลอย Anunya Sahussarungsi (Co-founder & Former Head of Product Management at NocNoc.com)
– คุณเนียร์ Chayaporn Tantisukarom (Product Manager at Skooldio)

Moderator: พี พนิต (วันนี้สรุป..มา)


#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #ProductManager #NocNoc #Skooldio #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา