1. Metaverse คืออะไร?
======================
– คำว่า Metaverse เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1992 จากนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อเรื่อง Snow Crash ที่ตัวเอกสวมแว่น VR แล้วเข้าไปในโลกเสมือน แต่หลังจากนั้นก็มีคนหยิบยกคำว่า metaverse ไปเป็น marketing word อีกหลายครั้ง ตัวที่จะประสบความสำเร็จหน่อยก็จะเป็นเกมชื่อ Second Life ที่เป็นเกมคล้ายๆ The Sim ที่เราสามารถแต่งตัว avatar ไป interact เล่นเกม ทำกิจกรรมต่างๆ แลกเปลี่ยนไอเท็มกันในเกมได้ เป็นเกมที่ค่อนข้างโด่งดัง แต่ว่าจะเห็นว่าในที่นี้มันจะไม่มีเรื่องของแว่น VR เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ดังนั้นนิยามของ metaverse จะมีแว่น VR หรือไม่มีก็ได้
– สามารถเรียกได้ว่า metaverse คือ marketing หรือ buzzword ที่ถูกพูดต่อกันมาเรื่อยๆ ด้วยมันเป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ เลยจะไม่ได้มีความหมายชัดเจนเหมือนกับคำอื่นๆ ที่ถูกนิยามมานานแล้ว เช่น social media, mobile banking พอเราพูดถึงพวกนี้จะเห็นภาพชัดเจนว่าคืออะไร แต่พอเป็น metaverse จะแตกต่างออกไป เพราะมันยังไม่อิ่มตัว
– คำพวกนี้กว่าจะอิ่มตัวหรือเป็น norm ที่ทุกคนคิดเป็นภาพเดียวกัน จะต้องรอให้ metaverse ของใครสักคนประสบความสำเร็จขึ้นมาก่อนหรือมี use case ที่ชัดเจน ถึงจะเกิดนิยามของ metaverse ที่คนทั่วไปเข้าใจตรงกันทั้งหมด
2. Metaverse กับ Blockchain เกี่ยวข้องอย่างไร?
======================
– ในยุคปัจจุบันสิ่งที่ชอบถกเถียงกันก็คือ metaverse จำเป็นต้องมีบล็อกเชนหรือไม่ ซึ่งจริงๆ แล้ว metaverse ที่มีบล็อกเชนก็ยังไม่มี case study ที่ประสบความสำเร็จมาก แต่ว่าก็ได้รับการพูดถึงเยอะขึ้นเรื่อยๆ
– Metaverse ที่เป็น web 2.0 (read, write) คือสิ่งที่บริษัทหรือใครบางคน สร้างเกม สร้างแพลตฟอร์มขึ้นมา แล้วก็ให้คนเข้าไปใช้งาน เช่น Ragnarok, PUBG, Fortnite หรือเกมต่างๆ ที่เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและเปลี่ยนกันได้
– ส่วนถ้าเราพูดถึงเรื่องของ ownership มันจะมีประเด็นอีกเยอะมากๆ พวกเกมต่างๆ เราจะเห็นชัดเจนว่าถ้าเราเล่นแล้วเขาปิดเซิร์ฟเวอร์ ทุกอย่างที่เรามีก็จะหายไป มันคือ data ที่ own โดยเจ้าของเซิร์ฟเวอร์ แต่ถ้าว่าเป็น metaverse ที่เป็น web 3.0 (read,write, own) จะเป็นลักษณะที่เรา own data ของเราเอง สมมุติว่าเขาปิดเกมไป ก็อาจจะมีคนสร้างเกมขึ้นมาใหม่ แล้วเราก็สามารถเอา data ตรงนี้ไปใช้ได้
– เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหากับแค่ผู้เล่นเพียงอย่างเดียว แต่จะมีปัญหากับพวก creator ด้วย จะมีเกมที่อนุญาตให้คนเข้าไปสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แพลตฟอร์มได้ หรือที่เรียกว่าพวกเกม modder ที่พยายามสร้างสกินหรืออะไรต่างๆ เข้าไปในเกม ซึ่งก็สร้างไปด้วยใจรัก แต่สุดท้ายพอทำแบบนี้ ผลงานลิขสิทธิ์ทั้งหมดก็จะตกไปอยู่กับเจ้าของเกมๆ นั้นเพียงอย่างเดียว คล้ายๆ กับเราพยายามสร้าง identiy อะไรสักอย่าง แต่พอมันอยู่ภายใต้เกมๆ นั้นมันก็กลายเป็นว่าลิขสิทธิ์ที่เราทำมาทั้งหมดมันก็ไปอยู่บนเกมๆ นั้นหมดเลยโดยที่เราไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ
– อะไรพวกนี้มันจะมีความเกี่ยวโยงกับตัวบล็อกเชน ซึ่งก็คือตัว NFT และ Cryptocurrency ทำให้มีคนพูดกันว่าถ้าเป็น metaverse ที่แท้จริงก็ควรจะเป็น web 3.0 ที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าในอนาคต ลองคิดภาพในโลกความเป็นจริงว่าโลกแบบไหนที่จะเติบโตได้มากกว่ากัน ระหว่างโลกที่ asset เป็นของใครคนใดคนนึงที่สามารถสั่งริบเมื่อไหร่ก็ได้ กับโลกที่เรามี asset เป็นของตัวเอง คำตอบของโลกก็ตอบมานานแล้วว่าเศรษฐกิจในลักษณะของเสรีนิยม/ทุนนิยม ที่ทุกคนสามารถสร้างและเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ ได้อย่างอิสระจะเติบโตได้มากกว่า metaverse web 3.0 เพราะมันให้ ownership ซึ่งคุณสมบัติของการให้ ownership ตรงนี้คือ blockchain, crypto asset ที่มันสามารถสร้าง identity ความเป็นเจ้าของของเราได้
3. Metaverse กับความ Decentralize เกี่ยวข้องอย่างไร
======================
– ที่บอกว่าทุกอย่างต้องมีความเป็นเสรี ต้อง decentralize เพื่อให้ระบบตลาดมันเอื้อและเกิดอย่างถึงที่สุด แต่ว่าถ้าลองเปรียบเทียบ metaverse กับโลกที่เราเป็นอยู่ในทุกวันนี้ ความไร้เจ้าของอย่างแท้จริง มันจะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราต้องการบล็อกเชนตัวนึงทีมีความเป็น decentralize ไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย บนโลกแห่งความจริง ยังไม่มีเคสประเทศที่ประสบความสำเร็จโดยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง โดยไม่มีอำนาจอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ในความเป็นจริง metaverse มันก็จะมีอำนาจบางอย่าง ใครบางคนที่มีอำนาจเป็นพิเศษ แต่ว่าความเท่าเทียมกันก็จะมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับที่การไม่ใช้บล็อกเชนเลย ความ decentralize 100% มันไม่ได้จำเป็นสำหรับการเติบโตของ metaverse มากขนาดนั้น
– สมมุติเราใช้คำว่าที่แท้จริง ตัวอย่างเช่นถ้าเราพูดถึงความ decentralize ที่แท้จริงเราก็คงจะพูดถึง Bitcoin แต่สมมุติเราพยายามหาแง่มุมที่ Bitcoin มีความเป็น centralize หน่อย ก็ยังพอหาได้ เช่น เราจะบอกว่า developer ที่พัฒนา Bitcoin หลัก ก็เป็นคนที่ค่อนข้างมีอำนาจในการชี้นำระบบของ bitcoin เราก็จะพูดว่าตรงนี้ก็มีอำนาจอยู่ในระดับนึง ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถึงกับเผด็จการที่เขารวมอำนาจแบบเด็ดขาด
– Metaverse ถ้าให้เราคิดง่ายๆ ให้ลองคิดถึงโลกจริง โลกจริงเราก็ยังต้องมีกฎหมาย มีความ centralize ที่ต้องบังคับให้คนปฏิบัติตาม พอเป็นโลก metaverse ควรจะเป็นระดับไหนที่พอดี มันก็ยังไม่มี case study ที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น สมมุติ metaverse เป็นเมืองเมืองนึง มันจะมีวิธีการจัดการบริหารเมืองยังไง ใครจะเป็นคนจัดการ คนทั่วไปจะสามารถเข้าไปมีสิทธิมีเสียงได้อย่างไร เช่น ถ้าต้องซื้อเหรียญ ก็จะเป็นโลกของคนที่มีเงินมากก็เข้าไปโหวตเปลี่ยนแปลงได้สิ มันยังมีคำถามที่ต้องตอบอีกหลายอย่างในจุดนี้
4. ความคืบหน้าของ Metaverse เป็นอย่างไร?
======================
– จริงๆ แล้ว metaverse ยังไปไม่ถึงไหนเลย ถ้าเราพูดถึง metaverse แบบ web 2.0 ก็คงคิดถึงภาพเกมสักเกมที่มีคนเล่นเยอะๆ เช่น Fornite, Roblox แต่ถ้าเป็น metaverse web 3.0 ยังอยู่ในขั้นพัฒนา ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คงเป็น Sandbox กับ Decentraland ซึ่ง active user ก็ยังไม่ถึงหลักหมื่นต่อวัน เปิดอยู่แค่ในระดับ alpha ยังเล็กอยู่มากๆ ยังไม่ได้มีอะไรประสบความสำเร็จออกมาอย่างชัดเจน อยู่ในขั้น experimental และอย่างที่ Facebook ประกาศออกมา เขาไม่ได้พูดถึง metaverse web 3.0 เลยสักคำ เพียงแต่พอว่าคำว่า metaverse มันกลายเป็น buzzword คนก็พูดว่า metaverse ที่ควรจะได้รับการยอมรับในอนาคตควรจะเป็น metaverse ของ web 3.0 และคำนี้ก็ได้รับความนิยม ทำให้มันกลายเป็น buzzword ต่อมาเรื่อยๆ จะบอกว่าเป็น marketing word แบบนึงก็ได้
– ถ้าคนรุ่นเก่าอาจจะไม่ค่อยเข้าใจว่าการมีตัวตนในโลกโซเชียลหรือสังคมมันจะเป็นยังไงบ้าง แต่ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่น่าจะเข้าใจดีเลย แล้วในอนาคตกระแสที่คนจะใช้ชีวิตและ interact อยู่ในโลกดิจิทัลก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นส่วนสำคัญที่เราอาจจะต้องพูดถึง metaverse แต่ก็ยังคิดว่ามันยังจะไม่ได้เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ตอนนี้มันเป็น buzzword ที่รุนแรงมาก ตั้งแต่ผมอยู่ในโลกคริปโตมา น้อยครั้งที่จะเห็น buzzword ที่มันส่งผลเป็นกระแสมากขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมันยังไปไม่ถึงจุดนั้นเลย ก็ต้องยอมรับว่ากระแสมีผลมากๆ แต่ว่าการลงทุนเนี่ยมันเยอะไปแล้ว เราก็ต้องรอ เนื่องจากมันลงทุนเยอะ เราก็อาจจะคาดหวังว่าเราจะเห็นผลในระยะ 1-2 ปีน่าจะได้
– ตอนนี้คิดว่ายังไม่เกิด ถ้าเร็วที่สุดคิดว่าปีหน้า อาจจะพอได้เห็นอะไรที่จับเป็นชิ้นเป็นอันได้ แต่ถ้าพูดถึงในระดับแมสสุดๆ น่าจะอย่างน้อย 3-5 ปี ถ้าเราพูดถึง cryptocurrency ว่ามันโตในระดับ mass adoption หรือยัง มันก็ยัง ถ้าสมมุติ metaverse จะไปถึงระดับ mass adoption ก็คงต้องใช้เวลา
5. ทำไม Metaverse ถึงเกิดขึ้น?
======================
– มันเป็นลำดับขั้นการพัฒนาของตลาดและสังคม เวลาเราเล่นอินเทอร์เน็ต เราสามารถทำกิจกรรมอะไรบางอย่างในโลกดิจิทัลกับคนข้ามโลกได้ แต่กิจกรรมพวกนี้ก็จะถูกจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง อย่าง web 2.0 เราก็ทำได้แค่เขียนข้อความหรือโพสต์อะไรบางอย่าง การเข้ามาของ cryptocurrency คือความพยายามที่จะยกระดับกิจกรรมบางอย่างที่อยู่ในโลกจริงเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งก็คือ ownership การโอนเงินไปมา พอเป็น NFT กับ Metaverse มันก็จะยกระดับกิจกรรมที่อยู่ในโลกของความเป็นจริงเข้าไปในโลกดิจิทัลมากขึ้นเข้าไปอีก
– สิ่งนึงที่คิดว่า NFT กับ Metaverse จะได้ประโยชน์อย่างมหาศาลมากคือ สิ่งที่เรียกว่า social status เราน่าจะเคยเห็นที่คนเปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็น NFT ของตัวเอง มันคือการบ่งบอกความชื่นชอบ รสนิยม สถานะทางสังคมแบบนึง คล้ายๆ กับการที่เราไปเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมสักใบ เราไม่ได้ต้องการใช้แค่ฟังก์ชั่นของกระเป๋า แต่เราต้องการซื้อแบรนด์หรือสตอรี่ของมันด้วย สมมุติคนไปซื้อกระเป๋า Chanel การที่เขายอมจ่ายเพื่อซื้อสตอรี่ของ Chanel เป็นการเพิ่มความพอใจในตัวเขาและเพิ่ม status ว่าตัวเขาชื่นชอบ Chanel ทำให้เขามีตัวตนในสังคมในแบบที่เขาอยากเป็น ซึ่งตรงนี้ในทางจิตวิทยาจะเรียกว่า ความปรารถนาในการมีตัวตนของสังคม ตรงนี้อาจจะเป็นอะไรที่ฟังดูเข้าใจยาก แต่ทุกคนก็คงเคยเป็น มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะเป็นที่ต้องการของสังคม ต้องการแสดงออกความเป็นตัวตน NFT มันก็เลยเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ ตรงที่เราสามารถเป็นเจ้าของงานศิลปะและสามารถแสดงรสนิยมของเราแบบข้ามโลกได้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเวลาเราซื้อรูปศิลปะแล้วเอาไว้ในห้อง ถ้ารูปของเราไม่ได้ดังขนาดที่ว่าเราซื้อแล้วไปขึ้นข่าวหน้าหนึ่ง เราก็ไม่สามารถแสดงออกให้คนทั่วโลกเห็นแบบง่ายๆ ได้เลย แต่ NFT สามารถทำได้ว่าเราให้ค่ากับสิ่งนี้จริงๆ
– สิ่งที่เราทำกันในทุกวันนี้ก็คือเราแต่งตัวสวยๆ ไปสถานที่สวยๆ เพื่อโพสต์ลง Facebook เพิ่มการรับรู้กับคนรอบข้าง ความโหยหาในการมีตัวตนเป็นอะไรที่อยู่กับมนุษย์มานานมากแล้ว
– พอเป็น Metaverse สเกลมันจะใหญ่ขึ้นไปอีก เพราะถ้า NFT เราจะสามารถเอารูปมาแปะโชว์อย่างเดียว แต่พอเป็น metaverse เราจะคิดถึงภาพกิจกรรมที่มากกว่านั้น กิจกรรมที่เราทำแล้วรู้สึกพอใจว่า นี่คือสิ่งที่มูลค่าและสังคมให้ค่ากับจุดๆ นั้น เพราะฉะนั้น metaverse ของ web 3.0 ที่ดังๆ คือ Sandbox กับ Decentraland มันดังเพราะว่ามีคนเข้าร่วมเยอะ มันเป็น network effect สิ่งที่เรียกว่า social status มันจะมีพลังหรือมีค่ามากมันก็ต้องเข้าไปอยู่ใน metaverse ที่มีคนยอมรับมาก ซึ่งสองตัวนี้มีภาษีดีที่สุดในปัจจุบัน
6. ปัจจัยที่จะทำให้ Metaverse ประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้าง
======================
– สุดท้ายคือแพลตฟอร์มนั้นๆ ระบบตลาดเอื้อต่อการเติบโตได้ดีแค่ไหน ถ้าใน metaverse web 2.0 อย่างพวกเกมที่มันไม่สามารถทำให้เติบโตได้อย่างถึงที่สุด เช่น เกม MMORPG ที่เราสามารถสร้างตัวละคร พอเราเล่นไปสักพัก สุดท้ายมันจะเกิดระบบตลาด ระบบการเงิน การแลกเปลี่ยนไอเท็มในเกม และถ้าเกมๆ นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นจริงๆ ก็จะเริ่มมีคนเอาเงินจริงๆ ไปแลกกับไอเท็มในเกม แต่ว่าการที่เราสามารถเอาเงินไปแลกของในเกมได้จะมีข้อเสียตรงที่ว่ามันจะกลายเป็นระบบทุนนิยมอย่างนึงแบบชัดเจน มันก็จะมีคนกลุ่มนึงสร้างออกมาเป็นธุรกิจเพื่อไปปั่นหาของ หาไอเท็มทุกอย่างในเกมออกมา เพื่อมาแปลงเป็น asset ให้คนในเกม ทำให้คนที่อยากเล่นเกมเพื่อจุดนั่น คนก็สามารถจ่ายเงินเพื่อ pay to win ได้ พอเป็น pay to win แล้วมันจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างคนที่มีเงินและไม่มีเงินเพิ่มขึ้น ตรงนี้คือการบริหาร mean และรวมถึงการปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของระบบๆ นั้นด้วย เช่น แอดมินจะแทรกของเพิ่มหรืออัตราเรทดรอปของ ที่สุดท้ายทำให้ระบบตลาดมันไม่ได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจริงๆ มันเป็นความท้าทายของ metaverse หรือเกมทุกเกมเลย
– แต่ถ้า metaverse นั้นมันไม่ใช่ลักษณะของเกม ก็ให้คิดถึงโลกความเป็นจริงว่า สมมุติเรามีประเทศประเทศนึงเกิดขึ้นมา ประเทศนั้นจะเติบโตได้ด้วยอะไรบ้าง ประเทศนั้นจะต้องมีนโยบายทางเศรษฐกิจอะไรสักอย่างที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของคนที่เข้าไปในแรกๆ ตอนนี้ metaverse ยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถจินตนาการได้ว่าทำอะไรแล้วจะเวิร์ค ควรจะทำอะไรก่อน เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงกิจกรรมหลายๆ อย่างที่สามารถทำได้ ถ้าคิดถึงภาพที่สวยงามคือ เราสามารถสวมแว่น VR เข้าไปพูดคุยกับคน เล่นนู่นเล่นนี่ทำทุกอย่างที่มันจะคล้ายความเป็นจริงมาก เราก็เลยสามารถเอาโลกความเป็นจริงไปเทียบกับโลกนั้นได้ว่าแล้วมันจะโตขึ้นได้จากอะไรบ้าง แต่ผมคิดว่าระบบตลาดและโลกคริปโตเป็นส่วนสำคัญ เพราะมันสามารถขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจได้ แล้วพอเศรษฐกิจมันโต metaverse นั้นก็จะมีชื่อเสียง มีการแลกเปลี่ยน
– สุดท้าย metaverse มันอาจจะต้องมีการบริหารจัดการ มันน่าจะมีปัญหาเหมือนในโลกความเป็นจริงที่มันไม่สามารถปล่อย free ได้แบบ 100% เหมือนที่มีข่าวว่ามีคนโดนล่วงละเมิดทางเพศทาง metaverse ถ้าสังคมไปถึงจุดนึงที่มัน toxic มากๆ แล้วเราไม่สามารถทำอะไรได้เลย คนก็จะไม่อยากอยู่ มันต้องมีระบบบริหารดูแลจัดการอะไรสักอย่างที่บังคับใช้ และคำถามคือใครจะเป็นคนบังคับใช้ จะสร้างระบบตรงนั้นยังไง จะโหวตกันไหม ถ้าโหวตแล้วคนนึงเท่ากับหนึ่งโหวตหรือต้องซื้อเหรียญเพื่อให้ได้อำนาจโหวต แล้วมันจะมีความเทียมกันไหม คิดเหมือนโลกปัจจุบันเลย
– ถ้าพูดถึงเรื่อง mass adoption อาจจะยังไม่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ จะมีคนกี่คนที่มีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยเข้าไปสู่โลกของ metaverse ได้ ถ้าเรามองขึ้นพื้นฐานอย่างคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้เราเปิด Decentraland ผ่าน web app ซึ่งถ้าคอมใครไม่แรงจริงก็คือกระตุกมาก
– แต่ถ้าพูดถึงการเกิดขึ้นในระดับนึงก็อาจจะภายใน 1-2 ปี เหมือนตลาด NFT เป็นอะไรที่ชัดเจนมาก ตลาด NFT มันอยู่บน Ethereum เป็นหลัก ซึ่งค่าแก๊สครั้งนึงก็ประมาณ 20-30 ดอลลลาร์ แต่ว่าจำนวนของ Opensea ที่ซื้อขาย NFT อย่างเดือนมกราคมที่ผ่านมาประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์ มันเป็นตลาดของคนที่มีเงินเข้าไปเล่นแล้วก็เกิดสังคมขึ้นบนนั้นจริงๆ แล้วอย่าลืมว่าถ้าเป็นคนที่ทำการตลาดพวกสินค้า จะรู้เลยว่าเขาต้องการคนที่มีกำลังซื้อสูงเสมอ เพราะว่าคนที่มีกำลังซื้อสูงที่เป็นจำนวน 10% อาจจะควบคุมรายจ่าย 80% ของบริษัทก็เป็นได้ พวกนี้เป็นกลุ่มลูกค้าที่เขาต้องการ
7. โอกาสในโลกของ Metaverse มีอะไรบ้าง
======================
– ถ้าพูดเรื่องโอกาส ส่วนใหญ่ตอนนี้จะคิดถึงการลงทุน เพราะว่าในแง่ของการลงทุน อะไรที่เป็นกระแส ก็จะน่าลงทุนมากกว่าสิ่งที่ไม่ถูกพูดถึง ถ้ามีเทคโนโลยีที่ยังไม่ประสบความสำเร็จคล้ายๆ กันสองตัว แต่อันนึงเป็นกระแส มีคนพูดถึงเยอะ มันก็น่าลงทุนกว่าตัวที่ไม่มีคนพูดถึงเลย
– ทุกวันนี้ถ้าใครประกาศเข้า metaverse ก็จะเป็นข่าวเต็มไปหมด เป็น word of marketing หรือถ้ามีใครสักคนหรือบริษัทไหนสร้างเมืองสักเมือง สวยๆ บน Sandbox ขึ้นมา รับรองเป็นข่าวหน้าหนึ่ง เป็นการสร้างแบรนด์ที่ดีมากให้กับบริษัท ซึ่งจริงๆ ก็มีบริษัทอย่าง Samsung หรือ SCB10X ก็เริ่มทำกันแล้ว
– ถ้าในแง่ NFT ที่จะเข้ามาใน metaverse ก็เป็นอะไรที่ดีสำหรับธุรกิจที่จะลองกระโดดเข้ามาบ้าง เพราะมันสามารถสร้างการรับรู้ในระดับกว้างแบบที่ไม่เคยสามารถทำได้มาก่อน คิดว่า NFT เป็นเทรนด์ในปีนี้แน่นอน จะเห็นบริษัทระดับโลกอีกเยอะที่จะกระโดดเข้าสู่โลก NFT
8. สุดท้ายจะมี Metaverse ตัวเดียวหรือหลายตัว
======================
– ถ้าคิดถึงภาพในระดับสังคมประเทศ โลกเราก็มีประเทศหลายประเทศ แต่แพลตฟอร์มที่เราใช้เวลาในโลกอินเทอร์เน็ตก็มีแค่จำนวนหยิบมือนึง สุดท้ายแล้วคิดว่า metaverse ที่ประสบความสำเร็จน่าจะอยู่ที่ประมาณหลักสิบ แต่ก็ตอบยากเหมือนกัน เพราะว่าในระดับสังคม เราก็มีสังคมหลายระดับที่เราต้องการรับรู้ อาจจะมี metaverse หลายตัว เยอะๆ ก็ได้ เหมือนเราหนึ่งคนบางทีก็อาจจะมีได้หลายสังคม
– ส่วนในเรื่องที่ว่า metaverse แต่ละตัวจะเชื่อมกันไหม ถ้ามองในแง่ว่ามันเป็นบล็อกเชน มันควรจะเชื่อมกันด้วย data ของบล็อกเชนได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า metaverse จะรองรับ data ในบล็อกเชนนั้นด้วยหรือเปล่า
9. ข้อควรระวังเกี่ยวกับ Metaverse
======================
- Metaverse ยังเป็นของใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะประสบความสำเร็จแค่ไหน ในระยะเวลาสั้นๆ เห็นคนทำ metaverse ขึ้นมาแล้วก็เปิดขาย land บางอันอาจจะเป็นการหลอกลวงก็ได้ ขอให้คิดเอาไว้ว่าในโลก metaverse จริงๆ แล้วมันก็สามารถเป็น metaverse ที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ ถ้าเป็น metaverse ที่ดีเขาก็จะพยายามทำให้ ecosystem เขาเติบโตขึ้นและก็หวังผลระยะยาว แต่ถ้าเป็น metaverse ขนาดเล็กๆ ก็มีความเป็นไปได้ที่เขาจะสร้างมาขายที่ดิน ปั๊มขายไปเรื่อยๆ คำถามคือสุดท้ายแล้วอำนาจในการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง metaverse นั้น มันขึ้นอยู่กับใคร การซื้อที่ดินใน metaverse บางที่ ที่อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่รวมศูนย์ คุณก็ต้องเชื่อใจระบบรวมศูนย์นั้นว่าใครเป็นเจ้าของ
– ที่ดินในโลก metaverse ไม่ใช่ cryptocurrency เปรียบเทียบเหมือนที่ดินในโลกความเป็นจริง มีมูลค่าก็จริง แต่คำถามคือเราจะสามารถหาคนซื้อขายได้หรือเปล่า สภาพคล่องเป็นสิ่งสำคัญ การที่เราจะลงทุนซื้อที่ดินใน metaverse สักที่หนึ่งอย่างน้อยเราต้องคิดว่า metaverse นั้นมันจะต้องมีคนชอบ ต้องมีสภาพคล่องในการซื้อขาย เพราะฉะนั้นการมุ่งเป้าไปยัง metaverse ที่มีคนใช้เยอะหรือได้รับการยอมรับมากๆ จะค่อนข้างปลอดภัยกว่า แต่ถ้าอยากจะเสี่ยงไปยัง metaverse ที่ยังมีคนยอมรับน้อย ไม่มีใครรู้จัก ก็จะได้ข้อดีตรงที่ว่าถ้ามองว่าในอนาคตมันจะเติบโต เราก็จะขายได้ราคาดี แล้วถ้าจะให้ปลอดภัยขึ้นไปอีก ก็ควรลองมองว่าที่ดินแปลงไหนที่มีโอกาสที่จะมีเมืองมาสร้างในอนาคต ณ ปัจจุบันแค่ตอนนี้ การที่คนเข้าร่วมหรือได้รับการยอมรับอาจจะสำคัญกว่าเทคโนโลยี แต่ต้องบอกก่อนว่าจริงๆ ผมก็ไม่ได้ถือที่ดินใดๆ บนโลก metaverse เลย
– อีกเรื่องนึงคือที่ดินในโลกความเป็นจริงจะมีเรื่องของระยะทางเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อย่าลืมว่าบนโลก metaverse จะไม่มีเรื่องระยะทางหรือตัวแปรเรื่องเวลาในการเดินทางไปถึงที่ใดที่หนึ่ง
10. กฎหมายกับ Metaverse มีอะไรบ้าง
======================
– ต้องดูว่า metaverse ที่ถูกตีเป็น asset ประเภทไหน ถ้าในไทย metaverse น่าจะเป็น token ทั้งหมด ตามพรก. สินทรัพย์ดิจิทัล ถ้าอ้างอิงตามกฎหมายไทย NFT ก็ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลโดยอยู่ในหมวดหมู่ของ utility token
– ถ้าจะมีการเข้ามาควบคุม คิดว่าน่าจะควบคุมได้ในระดับภายนอก อย่างจะมีบางประเทศที่ประกาศว่าเด็กห้ามเล่นเกมเกินกี่ชั่วโมง จะทำได้แค่ในระดับนั้น แต่ถ้าจะมาควบคุมเปลี่ยนแปลงอะไรในโลกของ metaverse คงไม่สามารถแทรกแซงโดยใช้คำว่ากฎหมายตรงๆ ได้ แต่อาจจะแทรกแซงในแง่ของคนที่มีอำนาจกับ metaverse นั้นหรือไปควบคุมที่ระดับ user คำถามคือ metaverse นั้นเป็น web 2.0 หรือ 3.0 แล้วถ้าเป็น 3.0 แล้วมีความ decentralize ปราศจากตัวกลางมากแค่ไหน
11. ฝากส่งท้ายเกี่ยวกับ Metaverse
======================
– อยากแนะนำว่าศึกษาอะไรก็พยายามศึกษาลึกๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ของพวกนี้เป็นของใหม่ เป็นอะไรที่เข้าใจยาก ซึ่งมักจะทำให้คนเข้าใจผิดหรือโดนหลอกลวงได้ง่าย ศึกษาด้วยตัวเองเยอะๆ จะดีที่สุด ด้วยของใหม่ระดับนี้มันไม่มี norm ชัดเจนที่ตายตัว
– ส่วนผลงานของผม ตอนนี้มีหนังสืออยู่ 4 เล่ม Bitcoin & Blockchain 101, Digital Asset Investment 101, Defi Farming 101 และ The Bitcoin Standard ที่แปลกับพี่ตั๊ม พิริยะ มีเพจและพอดแคสต์ชื่อ Blockchain Review – บล็อกเชนรีวิว และอีกงานหลักที่ทำอยู่ตอนนี้คือทำ research กับบริษัท Cryptomind ตอนนี้ก็จะมี Cryptomind Research Investment Outlook 2022 ที่สามารถเข้าไปดูได้ และเร็วๆ นี้ก็จะมี report ของ metaverse ออกมาด้วย สามารถรอติดตามกันได้