1. Blockchain คืออะไร
– Blockchain คือ วิธีการเก็บข้อมูลในรูปแบบของบล็อก Chain เป็นตัวบอกว่าบล็อกไหนจะเชื่อมกับบล็อกไหนยังไง Blockchain ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เก็บข้อมูล (data) แต่ใช้เพื่อบันทึกรายการ (transaction)
– Transaction คือสิ่งที่บอกว่าใคร ทำอะไร เมื่อไหร่ เหมือนเวลาเราทำธุรกรรมที่ธนาคาร ธนาคารจะลงบันทึกรายการ ซึ่งรายการพวกนี้ก็จะมีรูปแบบเดียวกันคือ เวลา เลขบัญชีต้นทาง เลขบัญชีปลายทาง ยอดเงิน สาขา อยู่ในรูปแบบเดียวกันหมด ซึ่งเมื่อก่อนธนาคารก็จะบันทึกลงสมุดเรียกว่า ledger book พอมาเป็นยุคคอมพิวเตอร์ก็ยังจดสิ่งเดียวกันแต่บันทึกลงในคอมพิวเตอร์แทน
– คราวนี้สิ่งที่เราจะบันทึกก็จะมีรูปแบบเดียวกัน ความยาวเท่ากัน คล้ายกล่องสี่เหลี่ยมจึงจะเรียกสิ่งนี้ว่า block แล้วพอเต็มก็จะขึ้น block ใหม่ไปเรื่อยๆ ลำดับของ block ก็จะมีส่วนของ chain คือการใช้คุณสมบัติที่เรียกว่า cryptographic hash function เอามาสร้างลิงก์ เป็นตัวบอกว่า block ไหนตาม block ไหน
– เราเก็บ ledger ในรูปแบบหน้าตาที่คล้ายๆ block แล้วเชื่อมต่อกันด้วย cryptographic hash function แล้วเรียกมันว่า chain เพราะฉะนั้นมันคือ chain of block หรือว่า blockchain นั่นเอง
– มีอีกคำคือคำว่า distributed ledger ทั้งหมดนี้ที่เราทำให้มันยุ่งยาก เพราะว่าถ้าเป็นธนาคารหรือผู้ให้บริการด้านอื่น เขาก็จะเก็บไว้ที่เซิฟเวอร์ของเขา แต่ถ้าเราไม่อยากให้เขาเก็บ อยากให้มีระบบนึงที่ไม่ต้องมีตัวกลาง เราก็ต้อง distribute มันออกมา
– Blockchain เป็นเทคโนโลยีหรือระบบที่เราใช้เก็บ transaction ในรูปแบบของ block แล้วใช้เทคโนโลยี cryptography หลายๆ ตัวมาทำให้มันน่าเชื่อถือมากขึ้นและกระจาย (distribute) ให้คนที่เกี่ยวข้องช่วยกันเก็บ เพื่อให้เราไม่ต้องพึ่งพาอาศัยตัวกลาง สิ่งสำคัญคือมันให้อำนาจคนทุกคนมีสิทธิ์ในการเขียน
2. ต้นกำเนิดของ Blockchain
– Bitcoin Paper ถูกตีพิมพ์ในปี 2008 ซึ่งมีวิกฤติ Subprime พอดี ทำให้คนอาจจะคิดว่า paper นี่มันถูกทำขึ้นมาเพราะ Subprime crisis แต่จริงๆ แล้วประวัติมันย้อนไปได้ไกลกว่านั้น
– ในช่วงปลายๆ 1980 ซึ่งเทคโนโลยียังไม่ได้มา แต่มีความเคลื่อนไหวทางความคิดของคนกลุ่มนึงที่ชื่อว่า Cypherpunk ที่เชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองได้ด้วยเทคโนโลยี cryptography หรือเรื่องเกี่ยวกับ privacy
– ในขณะที่บ้านเราพึ่งมีกฎหมาย PDPA เมื่อเร็วๆ นี้เอง แต่ตั้งแต่ปี 1980 มีคนกลุ่มนึงมองเห็นมันมาแล้วว่าในอนาคต privacy of communication ความ anonymity มันจะสำคัญมาก เราจะป้องกันตัวเองจาก state surveillance/censorship ได้อย่างไร คีย์เวิร์ดเหล่านี้เราจะเจอมันตลอดเวลาเราศึกษาเรื่อง Blockchian, Crypto, DeFi, Bitcoin
– สมัยนู้นเขาก็อาจจะใช้การตีพิมพ์บทความลงนิตยสาร พอมายุคอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย เขาก็จะเริ่มคุยกันด้วย mailing list เหมือนเป็นกรุ๊ปอีเมล มีอะไรก็เสนอเข้าไปแล้วก็จะมีคนรู้หรือสนใจตอบมา
– ถ้าเราไปดูคนที่เป็นเมมเบอร์ใน mailing list ยุคนั้นมี Marc Andreessen (ผู้ก่อตั้ง Netscape เป็นคนเสนอไอเดียเรื่อง SSL ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้) Bram Cohen (ผู้ก่อตั้ง BitTorrent เป็น decentralized file system ตัวแรกๆ) Nick Szabo (ผู้คิดค้น Smart Contract), Adam Back (ผู้ก่อตั้ง Blockstream) นี่คือคนที่อยู่ใน e-mail list เวลานั้น แล้ว impact ของพวกเขายังส่งมาถึงเราทุกวันนี้
– ช่วงนั้นก็มี paper ออกมาเรื่อยๆ มีการเสนอสิ่งที่หน้าตาคล้ายๆ blockchain ขึ้นมาในปี 1982 David Chaum เป็นคนแรกที่เสนอว่าเราจะสามารถสร้าง computer system establish maintain and trust by mutually suspicious groups เราจะสร้าง computer system ที่ trust ได้โดยกลุ่มคนที่เราไม่น่าเชื่อถือได้ยังไง
– ในปี 1991 ก็มี paper ที่พูดว่างั้นเราสร้างเป็นคอนเซ็ปต์คล้ายๆ chain of block ขึ้นมาดีกว่า ต่อมามีคนเสนอว่าประสิทธิภาพมันไม่ดีงั้นเราทำ merkle tree เพื่อให้ efficiency มันดีขึ้น จะเห็นว่าจริงๆ movement ของ Bitcoin ไม่ได้เกิดมาจากอากาศ ไม่ใช่ว่ามีคนไปเห็น financial crisis แล้วคิดสิ่งนี้ขึ้นมา มันคือการเดินทางที่ยาวนานมากของไอเดียเรื่อง privacy ไอเดียของ Cypherpunk และการทำงานอย่างหนักของนัก Cryptography หลายๆ คน
– ถ้าดูย้อนกลับไปคือมีการเอา hashtrace มาปรับปรุงหรือเอาบางส่วนของ Bitgold โดย Nick Szabo มาปรับปรุงเรื่อยๆ จนมาเกิดเป็น Bitcoin ตอนแรกทุกอย่างยังไม่ลงตัว ทุกคนคิดมาแต่ละชิ้นแต่ละตัว Bitcoin Paper น่าจะเป็นตัวแรกที่เอาสิ่งต่างๆ เหล่านี้มารวมกันได้อย่างลงตัว
3. ทำไม Blockchain ถึงสำคัญ
======================
– จะมีคีย์เวิร์ดที่สำคัญคือคำว่า Trust, การตัดตัวกลาง, distributed, decentralize พวกนี้สำคัญเพราะว่า Trust จริงๆ เป็นสิ่งที่ราคาแพงและได้มายากมาก ลองจินตนาการว่าทำไมเราถึงเชื่อถือในระบบธนาคาร เช่น เพราะเขามี software ราคาแพง จะไม่คำนวณผิดพลาด ระบบแฮกไม่ได้ จ้างคนจำนวนมาก มีแบงค์ชาติมาช่วยคุม มี Big4 มา audit ทั้งหมดนี้เรา trust แต่ว่าราคามันแพงมาก
– แล้วถ้าเป็นคนธรรมดาละ เราอยากจะมี trust แบบนี้ เราต้องทำยังไง blockchain เข้ามาตอบสิ่งนี้ เราสามารถมี trust ในรูปแบบเดียวกันได้ โดยที่ไม่ต้องมีการลงทุนสูงเหมือนธนาคาร ซึ่งสิ่งนี้จะมาช่วย empower พวกเรา ไม่ต้องหวังพึ่งใครสักคนมาสร้างสิ่งนี้ให้ ถ้าเกิดเรามี vision ว่าโลกบริการทางการเงินมันต้องเป็นแบบไหน เราก็สามารถสร้างมันขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ Bitcoin ก่อนหน้านี้เราไม่มีทางเลือกว่าเราจะใช้เงินอะไร เราต้องเลือกระหว่างรัฐ A หรือรัฐ B ไม่ก็รัฐอื่นๆ แต่ Bitcoin มันมาบอกว่าถ้าเราไม่ไว้ใจเงินจากรัฐ เราก็เลือกไว้ใจเงินที่แบ็คด้วย cryptography ได้
– Decentralize และ blockchain เขามาช่วย empower ให้คน trust มันและใช้กันทั่วโลก โดยไม่ต้องรู้จักกันเลย
4. ทุกธุรกิจเหมาะกับ Blockchain หรือไม่
======================
– บางธุรกิจอาจจะไม่ได้จำเป็น เช่น ธุรกิจที่มีการสร้าง trust ไว้อยู่แล้ว ต้นทุนในการสร้าง trust ครั้งแรกมันจะแพง เช่น ตอนเราไปเปิดบัญชีธนาคาร ขั้นตอนในการสร้าง trust ว่าคนมาเปิดคือคนที่ไว้ใจได้ ธนาคารจะต้องมีสาขาให้คนมาเปิด ต้องมีพนักงาน ต้องมีคอมพิวเตอร์ ต้องมีระบบ KYC ต้องมีการเครื่องอ่าน smart card บัตรประชาชน ต้องมี process ในการรับความเสี่ยง ถ้าคนเอาบัตรประชาชนปลอมมาเปิดแล้วพนักงานไม่รู้ นี่คือ process ของการสร้าง trust ที่มันแพงมาก
– ถ้าเราอยู่ใน environment ที่มันสร้าง trust อยู่แล้วด้วยความจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น บริษัทกับพนักงาน เพราะต้องมีการสร้าง trust อยู่แล้ว บริษัทต้องรู้ว่าใครจะมาทำงานให้ แบบนี้เราก็ต้องมีการสร้าง trust ระหว่างกันอยู่แล้ว blockchain ก็อาจจะไม่จำเป็นในกรณีนี้
– หรือถ้าเป็นบริษัทที่ทำงานกันอยู่แต่ในองค์กร ไม่ต้องไปเชื่อมต่อหรือแลกเปลี่ยนอะไรเลยกับบริษัทข้างนอก เพราะฉะนั้นมันไม่ต้องการสร้าง trust ระหว่างองค์กร และในองค์กรก็มี trust อยู่แล้ว กรณีนี้ก็ไม่ต้อง เพราะฉะนั้นองค์กรไหนที่ไม่ได้ต้องทำงานเป็นแบบ multi-party ก็อาจจะไม่ต้องใช้ blockchain ก็ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะต้องการ blockchain
5. ข้อจำกัดของ Blockchain
======================
—————————————
*1. ต้องเลือกระหว่าง Scalability หรือ Decetralization
—————————————
– Scalability Dilemma มีองค์ประกอบสามอย่างของระบบคือ
*1. ความปลอดภัย (Security)
*2. ความเร็วหรือความสามารถในการรองรับ transaction (Scalability)
*3. การกระจายอำนาจ (Decetralization)
– เราเลือกได้แค่สองในสามสิ่งนี้ การเบรค dilemma คือหนึ่งในทุกสิ่งที่ทุกคนพยายามทำคือ ทำให้ blockchain มันเร็วขึ้น
– เราจะเลือกอะไรได้บ้าง ที่ต้องเลือกอย่างแรกคือ security เพราะถึงระบบจะดีแค่ไหนแต่ไม่ปลอดภัยคนก็ไม่ใ่ช้ เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกระหว่าง scalability หรือ decentralize ถ้าเป็นระบบที่อยากได้ความเร็วมากๆ เช่น เน็ตเวิร์กของธนาคารหรือบัตรเครดิต ที่ต้องรองรับ transaction เป็นหลายๆ หมื่นต่อวินาที ที่สามารถรองรับได้เพราะระบบไม่ต้องการความ decentralize ก็ไปอัด speed อย่างเดียว ในขณะที่ blockchain ยิ่งเราพยายาม decentralize เท่าไหร่ก็ยิ่งจะไปลดฝั่ง scalability เท่านั้น นี่คือหนึ่งในข้อจำกัดของ blockchain
– มี blockchain หลายๆ ตัวที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เช่น พวก layer 2 ก็เป็นการไปลด decentralize ลงในระดับนึง ให้ถึงในระดับที่ยอมรับได้ เช่น ลดลงมาแต่มีการไป commit ใน lv.1 หรือสร้าง consessus ใหม่ที่มันเร็วขึ้น ในองค์กรธุรกิจจะมี blockchain ตระกูลหนึ่งคือ permission blockchain หรือ private/enterprise blockchain พวกนี้มันก็จะเร็วขึ้น เพราะไม่ได้ต้องการ consensus ที่ force torelance สูงๆ เหมือน proof of work หรือ proof of stake มันก็จะใช้อีกแบบนึงไปเลย แล้วก็สามารถปรับ speed ให้เร็วขึ้นไปด้วย เพราะมันไปลด decentralization
—————————————
*2. ต้องใช้กับระบบที่สามารถรับ Fault Torrelance ได้สูง
—————————————
– กระบวนในการ decentralize มันทำให้เกิด overhead ขึ้นมาจำนวนมาก พวก fault torrelance ที่เราจะต้องมี proof or work, proof of stake หลักๆ คือเราต้องเลือกตัวที่มันทน fault torrelance ได้ค่อนข้างสูง ลองจินตนาการว่าเรามีระบบนึงที่ใครก็ไม่รู้หลายหมื่นคนจอยเข้าออกตลอดเวลา และทุกคนพร้อมที่จะหาประโยชน์จากมันอยู่ตลอดเวลา ระบบนี้จะต้องทนคนโกงได้สูงมาก ถ้าเทียบกับอีกระบบนึงที่ทุกคนรู้จักกันหมดเลย มีคนรันเซิร์ฟเวอร์นี้อยู่คนเดียว เราก็ต้องเชื่อตัวเองอยู่แล้ว ทน fault torrelance ต่ำมากๆ แต่ตัวที่ทน torrelance สูง เราก็ต้องเลือก consesus เลือกระบบต่างๆ ให้มันทนกับสิ่งนี้ ซึ่งหมายความว่าระบบก็จะมีการทำงานเยอะมากขึ้นไปด้วย
—————————————
*3. ไม่เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่
—————————————
– Blockchain ถูกดีไซน์มาเพื่อเก็บ ledger หรือ transaction ถ้าเราพยายามเอารูปมาแปลงแล้วเอาไปใส่ใน blockchain มันก็ทำได้ แต่ถึงเวลาดึงข้อมูลมันจะช้ามากๆ
6. คำแนะนำสำหรับผู้อยากใช้ Blockchain
======================
– Blockchain มันไม่ได้แก้ได้ทุกอย่างบนโลก แต่ถ้าเจอโจทย์ที่เหมาะ มันจะแก้ได้ดีมาก
– ถ้าเริ่มจากว่าอยากใช้ blockchain ก่อน แล้วตั้งหา use case จะทำให้เราใช้ประสิทธิภาพของมันได้ไม่เต็มที่ วิธีที่ดีมันต้องกลับกันคือเราต้องเอา vision หรือปัญหามาเป็นตัวตั้งก่อน
– สมมุติว่าเราคิดว่า vision ของบริษัทคืออีกสิบปีบริษัทจะต้องมี service แล้วมีความต้องการเรื่อง decentralization เราก็ไปสร้างอะไรที่มันตอบโจทย์ หรือตอนนี้เรามีปัญหานี้อยู่แล้วการเอา blockchain มาใช้ มันจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เราก็ไปหยิบ blockchain มาใช้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ควร แล้วเดี๋ยวมันจะบอกเราเองว่าเราควรเอา permission หรือ permissionless blockchain มาใช้ ถ้าเราเริ่มจากปัญหามันก็จะมีวิธีทางแก้หลายวิธี
– บางปัญหาอาจจะไม่ต้องใช้ blockchain ก็ได้ เช่น ในบางกรณีเราแค่ทำให้มันเป็น open data ก็ตอบโจทย์ได้แล้ว เพราะบางครั้งโจทย์ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องไม่ trust กัน แต่คือแค่ทุกคนไม่เห็น data เดียวกัน งั้นเปิด data ขึ้นมาใหม่ หรือทำระบบ data exchange ที่ทุกคนสามารถ access ได้ แค่นี้ก็แก้ปัญหาได้แล้ว ก็จะเป็นเรื่องของ tranparency แทน สุดท้ายก็คือต้องกลับมาว่าปัญหาของมันคืออะไรกันแน่
7. ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ Blockchain ในไทย
======================
– มี DeFi, NFT ที่ทำโดยคนไทย หรือกลุ่มที่ให้บริการตาม license ของ กลต. เช่น exchange, broker, dealer หรือเป็นผู้บริหารสินทรัพย์ดิจิทัลก็เป็นอีกกลุ่มนึง แล้วก็จะมีหลายๆ องค์กรที่ adopt เอา blockchain ไปใช้ เช่น NDID (National Digital ID) ที่ถ้า implement ดีๆ จะช่วยให้เราเปิดธนาคารที่เดียวแล้วสามารถดึงข้อมูลไปทุกที่ได้เลย ส่วนนึงในนี้ก็ใช้ Blockchain
– บริการ BCI เป็นบริษัทที่หลายๆ ธนาคารรวมตัวกันตั้งขึ้นมา ให้บริการพวก Digital LG หรือว่าพวก Bank Garuntee/Bank Confirm เช่น ระบบการออกตราสารหนี้ (bond) บน blockchain ซึ่งถ้าเป็นบริษัทของเรามีการพัฒนาทำให้ ThaiBMA (สมาคมตราสารหนี้ไทย) ซึ่งตอนนี้มี KBank และ Toyota Leasing ใช้ในการออก bond ซึ่งก็เป็น blockchain bond ตัวแรกของไทย
– วงการ healthcare ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วย ให้เราไปโรงพยาบาลไหนก็ตามให้สามารถเห็นข้อมูลเดียวกันได้หมด ซึ่งตอนนี้ก็กำลัง pilot อยู่ มีระบบพวก Digital ID พวกระบบ KYC
– วงการ supplier chain ก็จะได้ประโยชน์เยอะมาก เราสั่งของจากอเมริกากว่าจะมาถึงเรามันผ่านหลายมือมากๆ แต่ทั้งหมดทั้งเชนมัน fragment มากๆ ทุกคนก็คุยกับเฉพาะ adjacent party หรือคุยแค่ไม่กี่คนแค่ในปาร์ตี้ ซึ่งจริงๆ แล้วมันต้องคุยเยอะกว่านั้นมาก ตัว blockchain มันทำให้การ inter connect ของ suppply chain ทั้งระบบ มันทำได้มีประสิทธิภาพดีขึ้นมากๆ automate ได้มากขึ้น
– CBDC (Central Bank Digital Currency) เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางหรือแบงก์ชาติ ซึ่งจริงๆ ไม่ต้องใช้ blockchain ก็ได้ แต่ implement ส่วนใหญ่ในหลายๆ ประเทศก็มีการเอา blockchain ไปใช้ในบางส่วน แม้กระทั่งตัว Digital Yuan ของจีน แม้ไม่ได้ใช้ blockchain ทั้งหมดแต่ก็มีบางส่วนที่ใช้เหมือนกัน
– การ KYC การพิสูจน์ยืนยันตัวตน ซึ่งจริงๆ การใช้งานมันไปไกลมากกว่าแค่แวดวงการเงินอีกเยอะ blockchain ทำให้ process การแสดงตัว identity มัน decentralize มากขึ้น
– อันอื่นๆ คนน่าจะเห็นภาพอยู่แล้ว NFT, Digital Art, Game Play to Earn ทั้งหลาย จนเดี๋ยวนี้ต้องกลายเป็น xxx to Earn, Run to Earn นู่นนี่นั่น to earn หมดเลย
8. Web 3.0 คืออะไร
======================
– Web 3.0 คือวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต Web 1.0 (read) คือเว็บยุคแรกที่มีคนตั้งเซิร์ฟเวอร์แล้วเอาข้อมูลไปแปะบนอินเทอร์เน็ตให้เราเข้าไปอ่าน ต่อมาก็พัฒนาขึ้นมาเป็น Web 2.0 (read & write) เป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการ interaction กันมากขึ้น เช่น social media คนสามารถโพสต์รูปและคอนเมนต์โต้ตอบกันได้ แต่ว่าปัญหาของ Web 2.0 คือมันเป็น stateless
– สมมุติว่าเราเป็นร้านกาแฟร้านที่เราไม่สนใจลูกค้าเลย ลูกค้ามาสั่งอะไรปุ๊บเราทำให้แล้วจบ ไม่เคยจำว่าลูกค้าสั่งอะไร มาบ่อยไหม ลูกค้ามาเยอะช่วงไหน เราจะไม่จำอะไรทั้งสิ้น อันนี้คือ stateless ไม่จำอะไรทั้งสิ้น แค่ทำตามคำสั่งแล้วก็ลืมไป stateful คือร้านกาแฟที่จำลูกค้า รู้ว่าลูกค้าคนนี้ชอบสั่งอะไร ช่วงเที่ยงจะมีคนมาเยอะเพราะฉะนั้นเราต้องเคลียร์ออเดอร์รอไว้ มีการจดจำ state
– อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้มันเป็น stateless ปกติการที่เราทำอะไรบนอินเทอร์เน็ตจะมีส่วนประกอบสามส่วนคือ หนึ่งตัว device ของเรา (โทรศัพท์/มือถือ/คอมพิวเตอร์) สองอินเทอร์เน็ตตรงกลาง สามเซิร์ฟเวอร์ (ของ Facebook, Youtube, Clubhouse) ตัวอินเทอร์เน็ตตรงกลางมันไม่จำอะไรทั้งสิ้น ถ้าจะจำก็ต้องเอาไปฝังไว้ที่หัวไม่ก็ท้าย ถ้าฝังไว้ที่เครื่องเราก็คือ cookies ที่เวลาเข้าเว็บไซต์แล้วจะต้องขออนุญาตเก็บหรือเวลาเรายิงโฆษณามันก็จะมาอ่าน cookie เราและพยายามยิงโฆษณาให้ตรงกับ perference ของเรา หรือฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็ทำให้พวก Facebook, Google พวกนี้มีข้อมูลมหาศาล เพราะทุกคนจะต้องเอา data ไปฝากไว้ตรงนั้น ด้วยโครงสร้างแบบนี้เลยทำให้เกิดเป็นไอเดียของ Web 3.0 ขึ้นมา
– Web 3.0 (read, write & own) ทำให้คนสามารถ own หรือเป็นเจ้าของอะไรบางอย่างบนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอินเทอร์เน็ตยังเหมือนเดิมมันไม่ได้ทำให้เป็น stateful แต่เราเปลี่ยนวิธีว่าทำยังไงที่จะทำให้เรา own data บางอย่างบนนั้นได้
– คอนเซ็ปต์ของ Web 3.0 จริงๆ มีมานานแล้ว มีทั้งหมดสองนิยาม ก่อนหน้านี้ Tim Berners-Lee (ผู้คิดค้น World Wide Web) เขาจินตนาการ Web 3.0 ไว้อีกแบบนึงเรียกว่า synmatic web คือเว็บที่คอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านตัวเนื้อหาเข้าใจได้ แต่ว่าสุดท้ายโลกมันไม่ได้พัฒนาไปทางนั้น เรามี AI มี machine ที่สามารถเข้าใจเว็บ เข้าใจคอนเทนต์ได้ เราจึงไม่ได้ต้องการ Web 3.0 แบบนั้น แต่เราต้องการ Web 3.0 แบบใหม่ ที่เราทำให้เราสามารถเป็นเจ้าของบางอย่างได้
– Web 3.0 ที่เรายึดถือกันในปัจจุบันบอกว่าสามารถ own ได้ เช่น MetaMask Wallet ตัว private key อยู่ที่เรา ใครอยากได้เราไม่ต้องส่ง private key ไป ส่ง transaction มา แล้วเรายิงจากกระเป๋ามา sign ให้ แล้วก็ส่งที่ sign กลับออกไป ตัว private key อยู่ที่เดิม นี่คือหนึ่งในคอนเซ็ปของ Web 3.0 wallet ซึ่งก่อนหน้านี้คนอาจจะยังจินตนาการไม่ออก แต่พอมีตัวนี้ทุกคนจะเข้าใจมันมากขึ้นว่า experience ในการมี Web 3.0 มันเป็นแบบนี้
– มีโปรเจคอีกหลายตัวที่น่าสนใจ เช่น มีโปรเจคอันนึงให้เราสามารถแชร์ Wi-Fi ของเราได้แล้ว monetize ได้ด้วย สมมุติบ้านเราอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า เราสามารถแชร์อินเทอร์เน็ตให้คนใช้ได้แล้วเราก็สามารถเก็บเงินได้ด้วย ที่นี้ ownership ของมันไม่ได้จำกัดแค่ data แล้ว ownership คืออะไรก็ได้ที่เราสามารถเป็นเจ้าของและสามารถ monetize มันได้ หรือจะมีพวก live peer ที่เป็น streaming แบบ Web 3.0 ด้วยก็มี หรืออย่างเช่น Ethereum ก็กำลังจะมีโปรเจคชื่อ sign in with Ethereum ที่เราสามารถเอา address Ethereum ใช้ sign in เว็บไซต์ได้เลย เหมือนเวลาเรา sign in ด้วย Facebook หรือ Google แล้วเวลา sign มัน sign ด้วย public, private key นี่คือสิ่งที่โลกของเว็บในอนาคตกำลังจะไปวิ่งไป
– การเป็น Web 2.0 คือเราไม่ได้ own สิ่งนั้นจริงๆ อย่างตอนนั้นมีข่าวตอนที่ Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta แล้วมีผู้ใช้ Instagram คนนึงใช้ชื่อ account ว่า Metaverse อยู่มาวันนึงหลัง Facebook ประกาศเปิดตัวไปแป๊บนึง account โดนยึด ก็มีข่าวลือว่าเพราะ Facebook อยากได้ ก็เลยแกล้งยึดไป เจ้าของ account ไม่ยอมก็ไปฟ้องร้อง แล้วสุดท้ายก็มีสำนักงานข่าวไปทำข่าวเรื่องนี้ สุดท้ายเขาก็ได้คืน นี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากว่าสิ่งที่เราคิดว่าเรา own จริงๆ แล้วเรา own มันจริงแค่ไหน
– เกมก็เป็นตัวอย่างที่ดีมาก พวกไอเท็ม เงินต่างๆ ในเกม ถ้าเซิร์ฟเวอร์รีเซ็ตทุกอย่างก็หมดไปเหมือนกัน แต่พอมี Web 3.0 ก็สามารถทำให้เรา own ตัว asset บนนั้นได้จริงๆ ในรูปแบบของ NFT หรืออื่นๆ
– คอนเซ็ปต์ของ Web 3.0 จริงๆ ไม่ได้บอกว่าจะต้องใช้ blockchain แค่เป็นคอนเซ็ปว่าเราสามารถ own บางสิ่งได้ สมมุติเช่นมีเกมๆ นึงที่มี wallet เป็น thumb drive อันนึงที่เก็บเลเวลเกม ไอเท็ม เงินต่างๆ ทุกอย่างอยู่ใน thumb drive นี้ แล้วเราอยากจะเล่นเมื่อไหร่ เราก็เสียบเข้าไปแล้วมันก็จะเล่นได้ เกมรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มันเป็น centralize แบบนี้มันก็ยังมีความเป็น Web 3.0 อยู่ ถึงจะไม่ได้ใช้ blockchain แต่การเอา blockchain มาใช้ใน Web 3.0 มันทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มัน persistant มากยิ่งขึ้น ทำให้ตัว Web 3.0 มันดีขึ้นและแข็งแรงขึ้น
– คอนเซ็ปต์ Web 3.0 จะมีอีกเรื่องนึงคือเรื่อง decentralize identity ด้วย เรื่อง identity นี่เราใช้ blockchain เก็บไม่ได้แล้ว เพราะว่าเราก็ไม่ได้อยากให้ identity ของเราหลุดออกไป เราก็ใช้ blockchain เป็นแค่ส่วนที่ verify ตัว credential ให้ทุกคนสามารถมา verify ได้ว่า credential เราถูก ก็จะมีการใช้แบบนี้
– Web 3.0 ที่เราเห็นในปัจจุบัน เช่น IPFS, Web 3.0 wallet, หรือ cryptocurrency มันยังเป็นแค่ส่วนยอดของน้ำแข็ง ข้างใต้ยังมีอีกเยอะ มหาศาลมากที่เรายัง explore ไปไม่ถึง หรือว่ามีคอนเซ็ปต์แล้วแต่มันยังไม่ได้ถูกเอามา implement
9. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำงานด้าน Blockchain
======================
– คนทำงานด้าน blockchain ไม่ได้มีแค่โปรแกมเมอร์หรือสายเทค จริงๆ แล้วมันต้องการคนหลากหลาย ต้องการ Product Manager ที่เข้าใจ blockchain ต้องการ Business Development ที่สามารถเอาความต้องการของลูกค้ามาได้ หรือสามารถเอา solution นี้ไปทำความเข้าใจกับธุรกิจของลูกค้า หรือพวกโปรเจค Public Blockchain ก็ต้องการ Community Manager ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ที่เข้าใจคริปโต ต้องการคนที่มาช่วยออกแบบ tokenomic ต้องการนักกฎหมายที่เข้าใจ smart contract สามารถ audit ได้ว่าสัญญากระดาษกับสัญญา contract อันนี้มันคืออันเดียวกัน
– จริงๆ มันมีอีกเยอะมาก หรืออย่างคนทำงานด้าน cyber security ทำยังไงให้ node มัน secure คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าการใช้ blockchain คือจบ secure แล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่ แล้ว node ละ สมมุติเราเป็นหนึ่งใน node ที่สำคัญมากของ blockchain เน็ตเวิร์กนึง ทำยังไงให้ node นั้นมัน secure ได้ ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญมาก แถมจะทุก area สามารถมีพื้นที่ใหม่ๆ ให้เล่นบน blockchain ได้
– สิ่งแรกที่สำคัญต้องเป็นคนชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะมันมีเรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะมันเป็นพื้นที่มันเปิด ไม่ได้ต้องการ license หรือต้องการ trust แบบบริษัทใหญ่ ใครที่มีไอเดีย มีความสามารถ ก็สามารถพัฒนาขึ้นมาบนนั้นได้เลย จะเห็นว่ามีโปรเจคใหม่ๆ มีของใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาบนโลก blockchain พวกเรื่องที่เราคุยกันบางครั้งก็พึ่งเกิดไม่กี่เดือนเอง ทุกวันนี้เราไม่คุยเรื่อง farming กันแล้ว หรือไม่กี่เดือนที่แล้วเรายังตื่นเต้นกับเรื่อง DeFi 2.0 พอตอนนี้มันก็เริ่มหายๆ ไปแล้ว
– สองคือต้องเป็นคนที่ทำงานเป็นทีมได้ดี เพราะว่าตัว Blockchain ไม่ว่าจะเป็น public หรือ private มันจะไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำคนเดียวจบ เราจะต้อง interact กับคนจำนวนมาก การที่เราทำงานเป็นทีมได้ดีจะช่วยให้เราทำงานหนึ่งชิ้น ทำ task ของเราได้อย่างราบรื่นขึ้น และทำให้ตัว protocol ที่เราสร้างมันไปได้รวดเร็วมากขึ้น หรืออย่างการ research การที่มีหลายๆ คนมาช่วยอ่าน ช่วย research จะช่วยทำให้มันเร็วขึ้นได้เยอะมาก
– สามอาจจะไม่ใช่ภาคบังคับแต่คือมีความกบฎ (rebalion) blockchain คือการตั้งคำถามกับ trust ทุกวันนี้ทำไมเราถึงไว้ใจธนาคาร ทำไมระบบโอนเงินข้ามประเทศถึงเป็นแบบนี้ เราทำให้ดีขึ้นได้ไหม ทำไมเราถึงต้องให้รัฐออกเหรียญ เราสามารถออกเหรียญเองได้ไหม มันคือการตั้งคำถามกับ trust ตลอดเวลา ซึ่งทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่บน trust ซึ่งมันก็ง่ายและสะดวกดี ทำให้เราเชื่อว่าสิ่งนี้ดี ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถาม แต่พอเราใช้ blockchain มันจะนำเราไปสู่การตั้งคำถามว่า ตกลง trust แบบนี้คืออะไรกันแน่ แล้วเรากำลังจะ replace อะไร ซึ่งคนที่กล้าคิดในมุมนี้ จะสามารถนำไอเดียนี้ไปสู่ product, protocol หรือ workflow ชนิดใหม่ได้
– สุดท้ายคือ global mindset ด้วย blockchain มันช่วยให้เราเปิดสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะขึ้นมาก สมมุติเรามี protocol ที่ดีมากอันนึง พอเราประกาศไปปุ๊บ คนทั่วโลกก็พร้อมเข้ามาใช้ หรือการ raise fund มันก็มี VC นักลงทุนทั่วโลกที่พร้อมจะสนับสนุน พร้อมลงทุน เพราะฉะนั้นมี global mindset ตั้งแต่ day 1 มันก็จะช่วยเปิดไอเดียของเรา เราจะไม่ถูกจำกัดว่าเราจะต้องอยู่ใน environment หรือกรอบการทำงานแบบนี้ ไม่ว่าจะกับทีมหรือลูกค้ากลุ่มนี้เท่านั้น
– ส่วนเรื่องเทคก็เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เราไม่รู้เลยก็ไม่เป็นไร วันนี้มานั่งฟังก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แล้วคำถามเหล่านี้ก็จะนำพาเราไปสู่เรื่องใหม่ๆ ที่เราเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น
10. ฝากส่งท้าย เกี่ยวกับ Blockchain
======================
– ตอนนี้มีทำอยู่หลายโปรเจคที่น่าสนใจมาก ไม่ว่าจะเป็น Web 3.0 หรือโปรเจคเกี่ยวกับ DeFi ใครเป็น programer, business development, business analyst หรือคนสาย finance ที่สนใจอยากมาทำ tokenomic สามารถติดต่อมาคุยกันได้ที่ Facebook/Twitter: Bank Sathapon
– ช่วงที่ผมศึกษา blockchain ครั้งแรกในปี 2016 รู้สึก amazing กับมันมาก อยู่ๆ เราใช้เงินมาจากรัฐตลอดทั้งชีวิต เทคโนโลยีอะไรเนี่ยที่สามารถอนุญาตให้เราสร้างเงินและมันเชื่อถือได้ด้วย blockchain มันสามารถช่วย empower เราได้ขนาดนี้ อยากชวนให้ทุกคนคิดต่อว่าเรามีเทคโนโลยีแบบนี้ เราจะใช้มันทำอะไรดี คิดว่าโลกในอนาคต Decentralization, Web 3.0, Cryptogaphy มันจะพาโลก พาสังคม พาธุรกิจ พา industry ที่เราอยู่ไปที่จุดไหน คิดแค่นี้ก็สนุกมากแล้ว เมื่อเราเห็นแบบนี้แล้วเราจะไม่อยากไปเป็นหนึ่งใน movement ที่ lead ทางให้สังคมนั้นเหรอ
– Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่สนุกและชวนให้เราคิดถึงอะไรหลายๆ อย่างที่เราไม่เคยตั้งคำถามมาก่อน ไม่ใช่แค่สิ่งที่ผ่านมา แต่รวมถึงข้างหน้าในอนาคตด้วย อยากเชิญชวนให้ทุกคนมาศึกษาและพูดคุยกันดู มันมีเซอร์ไพรส์ใหม่ๆ มาให้เราสนุกได้ทุกวัน