สรุปสั้น
1. Agriculture Tech คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตร ช่วยให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
2. Agriculture Tech สำคัญ เพราะช่วยให้เราเข้าใจพืชและสัตว์ที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน เมื่อมี data ก็สามารถเอาไปพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นได้ ช่วยทำให้เกษตกรทำเกษตรได้อย่างแม่นยำมากขึ้น แต่ที่สำคัญคือ จะต้องเข้าใจว่า data เหล่านั้นหมายความว่าอะไร และจะใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างไร
3. หากอยากศึกษาและนำ Agriculture Tech ไปใช้ ให้ลองดูก่อนว่าจะเอาเทคโนโลยีไปทำอะไร เอาไปช่วยลดต้นทุนหรือเพิ่มผลผลิต ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน YouTube หรือพูดคุยกับสมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อดูต้นแบบ ทดลองใช้จริงก่อน
4. ข้อควรระวังในการใช้ Agriculture Tech คือ เทคโนโลยีส่วนมากไม่มีอะไรแม่นยำ 100% ไม่ควรเชื่อทั้งหมด แต่ควรใช้เป็นตัวนำทาง เพื่อให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ Agriculture Tech บางตัวอาจจะมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง ซึ่งต้องหาข้อมูลให้ดีก่อน
1. Agriculture Tech คืออะไร?
[คุณกำพล]
– Agriculture Tech คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งในยุคดิจิทัลมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง ต่างจากเมื่อก่อนที่มีแค่เครื่องจักรกล ปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดการรวมตัว เอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปผสมผสานกับเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ทั้ง IoT และ AI จึงเกิดการผนวกเข้าด้วยกัน เป็น Agriculture Tech
– ผมอยากให้มองเทคโนโลยีการเกษตรเป็นแบบ Vertical และ Horizontal คือ ถ้ามองแกน X ก็อาจจะมองเป็นแต่ละพืช เช่น เทคโนโลยีที่ใช้กับการปลูกองุ่น ทำไวน์ ซึ่งมีมูลค่าสูง เทคโนโลยีก็จะแตกต่างกับเทคโนโนโลยีที่ใช้ปลูกข้าว ซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่า หรือเทคโนโลยีที่ใช้ปลูกกัญชา ปลูกสตรอเบอร์รี่ก็แตกต่างกันไป มีตั้งแต่ปลูกปริมาณเยอะๆ แต่มูลค่าต่ำ ไปจนถึงปลูกปริมาณน้อยๆ แต่มูลค่าสูง แล้วเราค่อยมาดูว่า แกน X ของเรามีเทคโนโลยีในแกน Y อะไรที่มาช่วยเสริมได้บ้าง เช่น IoT / ภาพถ่ายดาวเทียม / Big data ขึ้นอยู่กับมูลค่าของพืชและผู้ใช้งาน
[คุณเอิน]
– ประโยชน์ของเทคโนโลยีคือ เอามาทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือต้นทุนลดลง ดังนั้นรถไถก็ถือว่าเป็น Agriculture Tech ซึ่งเมื่อก่อนยังต้องใช้ควายไถนาอยู่ แต่พอมีรถไถเข้ามาก็ทำให้การทำไร่ทำนามีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้คนน้อยลง ปัจจุบันก็เริ่มมี Drone หรือ IoT device ที่ใช้ในการตรวจสภาพดิน น้ำ สภาพอากาศ มีภาพถ่ายดาวเทียมมากขึ้น ผมจึงมองว่า จริงๆ แล้ว บริบทของเทคโนโลยีก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ามีเทคโนโลยีอะไรมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตรมากขึ้น
2. ทำไม Agriculture Tech ถึงสำคัญ?
[คุณกำพล]
– เมื่อเทคโนโลยีด้านการเกษตรในโลกของดิจิทัลเกิดขึ้น ทำให้หลายๆ เรื่องที่เราเคยไม่รู้ ไม่เข้าใจ เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อก่อนเราไม่เข้าใจพืช ไม่เข้าใจสัตว์ ว่าเป็นอย่างไร พอโลกดิจิทัลเข้ามา กลับทำให้เราเข้าใจบริบทของพืชและสัตว์ ต่างๆ มากขึ้น พอเราได้ data มาเติม เราก็ได้รู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้ สิ่งที่เราไม่เข้าใจ ก็สามารถเอาความรู้ไปพัฒนา ปรับปรุงการทำงาน ทำให้กระบวนการดีขึ้น เพราะฉะนั้น Agriculture ในยุคปัจจุบันตอนนี้ data เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยทำให้เรารู้ว่าข้างหน้าเราจะเจออะไร เช่น นำ data มา forecast สภาพภูมิอากาศ ทำให้เรารู้ว่าช่วงไหนฝนจะตก อากาศจะเปลี่ยนแปลง เราควรจะเสี่ยงหรือไม่เสี่ยง พืชมีเซ็นเซอร์เข้ามาช่วยวัดการเจริญเติบโต อย่างกัญชา ถ้าเราเก็บเกี่ยวตอนออกช่อดอกแล้ว ก็จะไม่คุ้มค่า เราก็จะเก็บก่อนหน้านั้น ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่สามารถวัดได้ ข้อมูลเหล่านี้มาช่วยเสริมทำให้เกษตรกรทำเกษตรได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
– ในส่วนของ Precision faming แบ่งย่อยออกไปตามการเกษตร เช่น เกษตร Outdoor / เกษตร Indoor / เกษตรชาวบ้าน / เกษตรคนเมือง / เกษตรแปลงใหญ่ / เกษตรแปรรูป ฯลฯ ซึ่งเกษตรแต่ละแบบก็มีการเก็บ data ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เกษตรคนเมืองหรือเกษตรชาวบ้านอาจไม่ต้องการ data ในระดับละเอียดหรือแม่นยำมากเท่ากับเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรที่ใช้ในการแปรรูป ดังนั้นเทคโนโลยีบางตัวจึงเป็นแค่เทคโนโลยีในระดับที่ชาวบ้านเข้าถึงได้ เช่น เทคโนโลยีการเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ ในเกษตรแปลงใหญ่ เป็นเรื่องธรรมดามากๆ แต่พอเป็นระดับชาวบ้าน เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นที่ฮือฮา สร้างความสนใจได้เป็นอย่างมาก
– สิ่งที่สำคัญในยุคเกษตรดิจิทัล คือ เกษตรกรจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าข้อมูลเหล่านั้นหมายความว่าอะไร และจะใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างไร มันถึงจะเหมาะและคุ้มค่ากับการเอา data ไปเก็บ
[คุณเอิน]
– ต้องกลับมาดูบริบทของเกษตรกรก่อนว่า จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีคืออะไร ผมว่าเกษตรกรทุกคน จุดมุ่งหมายสำคัญคือกำไร การทำเกษตรคืออาชีพของเขา แล้วทุกคนก็อยากหาเทคโนโลยีมาเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนให้ตัวเอง เพิ่มกำไรมากขึ้น แล้วค่อยมาดูว่าเทคโนโลยีใดบ้างที่มาตอบโจทย์และมีความคุ้มค่า
3. ใครบ้างที่เหมาะกับการทำ Agriculture Tech?
[คุณเอิน]
– เกษตรกรรุ่นใหม่บางคนก็อยากนำ Agriculture Tech มาใช้ ในขณะที่เกษตรกรบางคนก็อาจไม่ได้อยากใช้เทคโนโลยีก็ได้ อย่างเกษตรกรรุ่นเก่าก็อยากทำแบบเดิม ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ดังนั้น Agriculture Tech จึงไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคนเสมอไป
4. ถ้าอยากศึกษาและนำ Agriculture Tech ไปใช้ มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง?
[คุณเอิน]
– อยากให้ลองดูก่อนว่า จะเอาเทคโนโลยีไปทำอะไร เอาไปช่วยลดต้นทุนหรือเพิ่มผลผลิต ซึ่งตอนนี้คลิปใน YouTube ของต่างประเทศเรื่อง Agriculture Tech มีเยอะ สามารถเข้าไปศึกษาดูหรือซื้อมาลองใช้ดูได้ ส่วนใหญ่ราคาไม่แพง มีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น นอกจากนี้ภาครัฐฯ ก็มีการสนับสนุน อาจลองจากเทคโนโลยีของคนไทยก่อนก็ได้ มีบล็อกเกอร์เกษตรกรคนไทยเก่งๆ มารีวิวให้ดู
[คุณกำพล]
– สมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม (DPAI) มีเป้าหมาย 3 สิ่ง คือ 1. สร้างคนด้านเกษตรดิจิทัลให้มากขึ้น 2. สร้างต้นแบบการใช้งานจริง และ 3. สร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งเรากำลังจะสร้างเครื่องมือช่วยเกษตรกรในการนำเอาดิน ปุ๋ย น้ำที่มี มาวัดโดยใช้เซ็นเซอร์ในการวัด นำเทคโนโลยี AI เอามาแปรค่า ช่วยให้ประหยัดการลงทุนในการตรวจดิน ตรวจสารโลหะหนัก
– ส่วนเรื่องของสัตว์ก็มีการนำเทคโนโลยีหลายตัวมาใช้ เช่น เอาเซ็นเซอร์มาติด เช็คสุขภาพการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยการติดเซ็นเซอร์ที่คอวัวนม ทำให้รู้อุณหภูมิการเคี้ยว การกลืนอาหาร ข้อมูลเหล่านี้เมื่อถูกนำมาผนวกเข้ากับองค์ความรู้ และการวิเคราะห์ จะทำให้เกษตรกรรู้ว่าวัวของตนเองป่วยหรือติดสัตว์ เราก็จะได้ Value จากนวัตกรรมที่มี
– ดังนั้นคนที่สนใจ ยังไม่จำเป็นต้องซื้อหรือลงทุนเลย เพียงแค่มาดูต้นแบบที่สมาคมฯ ก่อนก็ได้ ในเกษตรกรรายเล็ก สิ่งที่เขามีปัญหาคือ เขารู้ เขาอยากใช้เทคโนโลยี มีความจำเป็นต้องใช้ แต่เขาใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีทุน ลงทุนไปแล้วไม่น่าจะคุ้มค่า เขาจึงต้องกลับไปทำเกษตรแบบเดิมๆ นี่คือโจทย์ของเกษตรรายเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องจักรให้เช่าใช้ หรือมีเทคโนโลยี ความรู้ต่างๆ ที่สามารถแชร์กันได้ ส่วนเกษตรแปลงใหญ่ก็มีปัญหาไม่ต่างจากรายเล็กสักเท่าไรนัก เพียงแต่เขามีความเป็นเจ้าของ สามารถลงทุนได้ ถ้ามีคนให้คำแนะนำเทคโนโลยีที่ดีให้ได้ เพราะฉะนั้นสำหรับเกษตรกรที่สนใจจึงอยากให้ติดต่อมาที่สมาคมฯ เพื่อพูดคุยกันก่อน
5. ข้อผิดพลาดหรือข้อควรระวังในการใช้ Agriculture Tech คืออะไร?
[คุณเอิน]
– เทคโนโลยีส่วนมากไม่มีอะไรแม่นยำ 100% บางครั้งก็ไม่ควรเชื่อทั้งหมด แต่ควรใช้เป็นตัวนำทาง เพื่อให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกอย่างที่ต้องระวังคือ Agriculture Tech บางตัวอาจจะมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริงไป ซึ่งก็ต้องทำการบ้าน ดู case study หาข้อมูลก่อนใช้
[คุณกำพล]
– การอ้างถึงผลลัพธ์ของ Agriculture Tech เหมือนกับการโฆษณาเกินจริง ซึ่งคนที่จะใช้เทคโนโลยีควรตัดสินใจด้วยการลงมือทำ ถ้ายังไม่มีเงินก็ดู หรือศึกษาจากคนที่เคยทำจริงก่อน จะฟังอย่างเดียวและเชื่อเลยไม่ได้
ฝากส่งท้าย Agriculture Tech
[คุณกำพล]
– หากใครมีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ สามารถเข้าไปที่ Facebook สมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม และฝากคำถามไว้ได้ ตอนนี้เรากำลังจะเริ่มทำ API open standard สำหรับธุรกิจการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกลุ่มคนด้านการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำไว้ด้วยกัน เพื่อมาแชร์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน ใครมาลงมือร่วมกันก็เอาไปใช้ประโยชน์ได้เลย ทำให้ภาคการเกษตรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุน ง่าย ตรงเป้าหมาย หากใครสนใจเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลเกษตร ก็มาคุยกับสมาคมฯ ได้เลย มาร่วมกันทำให้วงการเกษตรบ้านเราพัฒนา ดีขึ้น สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
[คุณเอิน]
– บ้านเรามี Agriculture Tech พอสมควร อยากให้ลองใช้ดู ปัจจุบันเราทำเกษตรแบบเก่าๆ ไม่ได้แล้ว ใครที่มีพ่อแม่ ญาติ ทำเกษตรอยู่ก็อาจจะแนะนำให้เอาเทคโนโลยีมาใช้ เปลี่ยนแปลงวิถีดั้งเดิมมาเป็นแบบสมัยใหม่ เกษตรบ้านเราควรโฟกัสการทำเกษตรมูลค่าสูง หรือ premium product มากกว่าเกษตร commodity เช่น ญี่ปุ่นเอาข้าวมาทำสาเก
– สิ่งที่อยากฝากอีกอย่างหนึ่งคือ Agriculture Tech Startup หาเงินลงทุนไม่ยาก มีโอกาสเยอะทั้งในแง่ของเงินลงทุนและเงินสนับสนุน แต่ยังไม่ค่อยมีคนทำ ไม่ค่อยมีคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทตรงนี้มากนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ต่อประเทศ จึงอยากให้คนที่สนใจมาช่วยกันพัฒนาตรงนี้เยอะๆ
รายละเอียด
สรุปโดย Muk Tunchanok
Date: 10 May 2021 (21:00-22.00)
Speaker:
– คุณกำพล
นายก DPAI สมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม สสกอ
– คุณเอิน
CEO & Co-Founder of Ricult แอปพลิเคชั่นที่ให้ข้อมูลที่จำเป็นกับเกษตรกรในการวางแผนเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
Moderator: P Panit (วันนี้สรุป..มา)
#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #AgriTech #DPAI #Ricult #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา