สรุปสั้น
– ชุดตรวจโรคที่บ้าน หรือ Point of Care Diagnostic Device คือชุดตรวจเบื้องต้น on spot ซึ่งควรจะมีคุณสมบัติ 7 ข้อที่กำหนดโดย WHO (World Health Organization) คือ ไม่แพง แม่นยำ ใช้งานง่าย รวดเร็ว น่าเชื่อถือ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่น เข้าถึงได้ง่าย
– แยกเป็นแบบเป็นแผ่นตรวจ กับแบบเป็นเครื่อง
– ชุดตรวจสำคัญเพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีพัฒนาและคนมองหาสิ่งที่เป็น personal care มากขึ้น ถ้าเราสามารถ monitor สิ่งที่อยู่ในร่างกาย จะสามารถช่วยป้องกันก่อนที่มันจะเกิดได้ นอกจากนี้ยังช่วยแบ่งเบาภาระของสาธารณสุข
– ชุดตรวจเป็นการตรวจเบื้องต้น ผลไม่ได้แม่นยำ 100% โดยส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจอ้อมๆ ไม่ได้เป็นการตรวจหาเชื้อโดยตรง
– การเลือกใช้ต้องดู sensitivity (% แม่นยำในการบ่งบอกว่าเป็นโรค) กับ specificity (% แม่นยำในการบ่งบอกว่าไม่เป็นโรค)
1. “ชุดตรวจโรคที่บ้าน” คืออะไร
– ถ้าคำภาษาอังกฤษที่ครอบคลุมกว่า จะคือคำว่า Point of Care Diagnostic Device เป็นอุปกรณ์ที่เราสามารถตรวจ on the spot หรือที่ไหนก็ได้ บางทีก็ถูกใช้ที่โรงพยาบาลเพื่อสกรีนเบื้องต้น ช่วยในการแบ่งเบาภาระ
– WHO (World Health Organization) ได้ให้ไกด์ไลน์ไว้ว่าการที่จะผลิตหรือพัฒนาอุปกรณ์พวกนี้ต้องมีคุณสมบัติ 7 อย่าง
*1. ราคาไม่แพง
*2. มีความถูกต้องและแม่นยำ (sensitivity & specificity)
*3. ใช้งานง่าย
*4. มีความรวดเร็ว
*5. มีความน่าเชื่อถือ
*6. ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นเพิ่ม (equipment free)
*7. เข้าถึง/หาซื้อ ได้ง่าย
– ยกตัวอย่างชุดตรวจที่ใช้กันเยอะคือ ที่ตรวจตั้งครรภ์ ก็เป็น point of care device อันหนึ่ง
– แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
*1. อุปกรณ์กระดาษ เป็นวัสดุรูพรุน สามารถ coat พวก antibody หรือโปรตีนลงไปในกระดาษได้ เช่น ที่ตรวจตั้งครรภ์, rapid test (หยดปัสสาวะหรือเลือด แล้วรอดูผล)
*2. อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ที่ตรวจน้ำตาลในเลือด เจาะเลือดที่ปลายนิ้วหยดใส่ชิป แล้วเสียบเข้าไปในเครื่อง เพื่ออ่านค่าน้ำตาล
2. ทำไม “ชุดตรวจโรคที่บ้าน” ถึงสำคัญ
*1. เทรนด์ของ Personalized Medicine
– การแพทย์จะเข้าสู่การเป็นเฉพาะบุคคลมากขึ้น ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาทั้ง IoT, 5G, AI, Big Data สมมุติถ้าเรามีเครื่องวิเศษอยู่บ้าน ตอนเราตื่นเช้าเราสามารถเก็บปัสสาวะตอนเช้า แล้วให้มันวิเคราะห์แล้วบอกว่าเราขาดวิตามินอะไร นอนดีไหม แล้วข้อมูลสามารถลิงก์ไปสู่แพทย์ส่วนตัวของเรา หรือเก็บเป็น big data เช่น ถ้ามีการค้นพบโปรตีนตัวนี้อาจจะความเสี่ยงในการเป็นโรค ก็จะเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งน่าจะเป็นจริงได้ในอีกไม่นาน เพราะปัจจุบันแบบแยกแต่ละอย่างก็พอมีอยู่แล้ว แต่อาจจะแค่ไม่ได้อยู่รวมหรือเชื่อมกันทั้งหมด
– ช่วยให้ทุกคนสามารถตรวจได้ทุกวัน ไม่ต้องรอไปเช็คสุขภาพประจำปี หรืออาจจะถึงขั้นเป็น real-time เชื่อมต่อกับโทรศัพท์
– ปัจจุบันมีกลูโคสมิเตอร์ซึ่งเป็น CGM (Continuous Glucose Monitoring) สามารถดูน้ำตาลได้แบบ real time เป็นเครื่องเล็กติดไปที่หน้าท้อง พร้อมอุปกรณ์ฉีดอินซูลินในตัว ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,000 เหรียญอยู่ในออสเตรเลีย
- Variable Sensor เป็นวงจรไฟฟ้าบนวัสดุที่สามารถยืดหยุ่นได้เรียกว่า กราฟีน เป็นวัสดุโปร่งใส ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ สามารถโก่งงอได้ จะถูกนำไปใช้ในแง่ของ Flexible Electronics สามารถ build in เข้าไปกับเสื้อผ้า หรืออะไรต่างๆ ได้เลย เช่น สามารถนำไปทำที่วัดน้ำตาลจากเหงื่อได้
– Bioinformatic เอา DNA ของคนมากางดู แล้วดูว่ายีนไหนมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นมะเร็ง ก็เป็นอีกศาสตร์นึง ที่จะพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถอ่านโค้ดของ DNA พวกนี้ แล้วบอกได้ว่าเราจะเป็นโรคไหนตามยีน
– แต่อุปกรณ์พวกนี้ก็ต้องใช้เวลา เพราะอย่างที่ตรวจตั้งครรภ์ที่เราใช้กัน ก็ใช้เวลาพัฒนาทั้งหมดถึง 20 ปี เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ที่อยู่ในงานวิจัยพวกนี้กว่าจะออกมาเป็นโปรดักจริงๆ ก็ต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับเงินทุนด้วย เพราะถ้ามีคนต้องการ ก็จะมีคนที่เป็น translational ที่จะแปลงความรู้ออกมาเป็น commercial product ได้เร็ว
*2. ช่วยลดภาระทางสาธารณสุข
– อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถทดแทนผลการทดลองในห้องปฏิบัติการได้ แต่จะมาช่วยลดภาระ โดยคนสามารถซื้อมาลองตรวจก่อนก็ได้ และถ้าผลเป็นบวกจริงๆ ค่อยไปคอนเฟิร์มอีกครั้งนึงที่โรงพยาบาลเพื่อที่จะตรวจแบบลึกๆ ถ้าเราไม่มีตรงนี้แล้วทุกคนสงสัยและไปหมด ก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายจนเกิดจำนวนเคสที่เยอะ และอาจจะทำให้ทางโรงพยาบาลพลาดเคสที่มีความฉุกเฉินหรือหนักจริงๆ
– อย่างการตรวจมะเร็ง จะมีสิ่งที่เรียกว่า Early Diagnosis ซึ่งมันมีสัญญาณอะไรบางอย่างที่ถ้าเรารู้ก่อน เราจะได้รักษาหรือป้องกันมันก่อน เช่น มะเร็งปากมดลูก ถ้าผู้ป่วยถูกพบใน stage แรกหรือ stage ก่อนหน้านี้ที่เป็น early มีโอกาสรอดหรือไม่พัฒนาไปจนถึงระยะสุดท้ายถึง 94% เพราะยิ่งนานไป stage 2, 3, 4, อย่างอุปกรณ์ที่ผมทำงานวิจัยอยู่ ก็จะพุ่งเป้าไปที่ early diagnosis มีการ collab กับทางโรงพยาบาล ซึ่งเราก็เริ่มที่มะเร็๋งปากมดลูกก่อน และอนาคตก็จะขยายไปยังมะเร็งอื่นๆ
3. ค่า Sensitivity & Specificity
– เวลาที่เราจะพิจารณาเลือกซื้อชุดตรวจจะมีสองค่าที่ต้องดูคือ sensitivty และ specificity
– Sensitivity ถ้าเราเป็นแล้ว % ที่จะตรวจพบคือเท่าไหร่ เช่น 99% ถ้าตรวจ 100 คนที่เป็นโรค ก็มีสิทธิ์ที่จะหลุดไปตรวจไม่เจอ 1 คน (เรียกว่า False Negative คุณเป็น แต่เครื่องบอกว่าไม่ได้เป็น) อันนี้น่ากลัวเพราะแปลว่าจริงๆ เราเป็นโรค แต่ชุดตรวจทำให้เราเข้าใจว่าไม่ได้เป็น
– Specificity ถ้าไม่เป็นแล้ว % ที่จะตรวจว่าไม่เป็นเท่าไหร่ (เรียกว่า False Positive จริงๆ เราไม่ได้เป็น แต่ผลขึ้นว่าเป็น อันนี้อาจจะรุนแรงน้อยกว่า เพราะเมื่อผลขึ้นว่าเป็น คนเราก็จะไปตรวจอีกรอบในแบบที่ละเอียดขึ้น)
– ทั้งสองตัวก็คือ ยิ่งสูงยิ่งดี
4. Gold Standard vs. Rapid Test
– การทดลองในห้องแลปจะเรียกว่าเป็น “Gold Standard” เป็น protocol ในการวินิจฉัยโรค เป็นวิธีการที่ fixed แล้วว่า ถ้าตรวจตามนี้ผลขึ้นบวกก็แปลว่าเป็นโรค จะต้องคอนเฟิร์มแบบนี้
– อย่างเรื่องโรคโควิด การตรวจที่เป็น Gold Standard คือ Swab Test หรือ PCR (Polymerase Chain Reaction) โดยไปจุดที่ไวรัสอยู่คือ โพรงจมูกหรือช่องคอ ถ้าเราไปปาดแล้ว ตรวจหาเจอดีเอ็นเอของไวรัส อันนี้ก็คือตรวจเจอ อันนี้จะตรวจเจอได้ตั้งแต่ 1-2 วันตั้งแต่ที่ได้รับเชื้อ
– Rapid Test เป็นการตรวจภูมิคุ้มกัน เมื่อโควิดเข้าสู่รายการของเราแล้ว ร่างกายของแต่ละคนก็จะตอบสนองไม่เหมือนกัน บางคน 5 วันภูมิก็ขึ้น บางคนอาจจะใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นการตรวจ rapid test ถ้าขึ้นว่า positive บางครั้งอาจจะสายไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะเราอาจจะแพร่เชื้อไปเท่าไหร่ไม่รู้แล้ว มีโอกาสพลาดสูง เพราะมันขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน ไม่ใช่ว่าตัว test มันไม่ดี ด้วยลักษณะของโรคอาจจะไม่ได้เหมาะ แต่มันก็สามารถเอามาช่วยคอนเฟิร์ม การที่จะไฟนอลคนว่าเป็นโรคอะไร จะต้องได้รับการตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อคอนเฟิร์มว่าเป็นจริงๆ เช่น การตรวจ HIV อาจจะต้องตรวจเป็นสิบๆ ครั้ง เพราะมันมีความ sensitive สูง
– เพราะฉะนั้น อุปกรณ์ Point of Care Device หรืออุปกรณ์ตรวจโรคที่บ้าน จะไม่มีทางมาทดแทนวิธีการตรวจที่แลปแน่นอน แต่มันจะเป็นทางเลือก สำหรับการสกรีนเบื้องต้นก่อนกระบวนการจริงๆ
5. การเลือกความแม่นยำของชุดตรวจโรค แล้วแต่โรคด้วยไหม
– ก็อาจจะเกี่ยว ปัจจุบันอย่าง rapid test ของโควิดก็จะแม่นยำประมาณ 80% คือ 1 ใน 5 ก็มีโอกาสหลุด กรณีแบบนี้ไม่ใช่ว่าตัว test มันไม่ดี หรือแย่ แล้วเรายังจะใช้ทำไม แต่เราต้องเข้าใจก่อนว่าอุปกรณ์ตัวนี้มันตรวจอะไรด้วย ตัว rapid test ตัวนี้มันจะตรวจหาภูมิคุ้มกันของเรา มันก็จะมีการดีเบตกันอยู่ว่า อย่างตัว rapid test ของโควิดพอมันแม่นยำแค่ 80% จริงๆ แล้วมันควรนำมาใช้ไหม จะยิ่งเพิ่มความสับสนหรือเปล่า ก็แล้วแต่ด้วยว่าโรคอะไร
– อย่างโควิดอาจจะมี factor ของการติดโรคเยอะ อาจจะต้องมาใช้แบบบูรณาการณ์ร่วมกันถึงจะเหมาะสม เช่น ถ้าเราสงสัยว่าเป็น ก็ให้กักตัวอยู่บ้าน 5-7 วัน แล้วก็ให้ใช้ rapid test ถ้าไม่สามารถที่จะจองคิวเข้าไปตรวจแบบ PCR ได้ ถ้า positive ขึ้นมา ก็ควรจะได้รับการตรวจด้วย PCR อย่างรวดเร็ว เพราะมันเข้าองค์ประกอบหมดแล้ว ทั้งคาดว่าจะได้รับเชื้อ ผ่านมา 7 วัน ผล rapid test ก็บอกว่าเป็น ก็ต้องรีบมาเช็คอีกรอบ ควรจะถูกนำมาใช้ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ที่ดีกว่า อย่างโควิดก็เป็นโรคใหม่เพิ่งเกิด 1-2 ปี แลปก็ต้องเฉพาะ ไม่สามารถตรวจเหมือนโรคอื่นๆ ต้องได้รับการรับรองว่าห้องแลปมีความปลอดภัยต่อผู้ทำงานด้วย ซึ่งจริงๆ จำนวนผู้ติดเชื้อน่าจะเยอะกว่านี้ แต่ตัวเทสมีจำกัดทำให้เราไม่สามารถตรวจได้ทุกคน
– ถ้าเป็นโรคอย่าง HIV ก็อาจจะใช้เวลาสร้างภูมิคุ้นเป็นเดือนได้
6. แชร์เกี่ยวกับเคสที่ทำอยู่
– การตรวจเจอพวกมะเร็งในระดับ early มากๆ มีสารชีวภาพเรียกว่า Bio Marker มีหลายประเภทมาก ตัวที่ผมสนใจที่เพิ่งมาใน 10-20 ปีนี้เรียกว่า เอ็กโซโซม เป็นเหมือนถุงที่บรรจุ มี DNA RNA โปรตีน ไขมัน อยู่ในถุง ซึ่งเขาเชื่อว่าเวลาเซลล์พูดคุยกันมันจะใช้ถุงเป็นตัวสื่อสาร ถุงนี้จะถูกนำมาใช้เป็น early diagnosis
– ถ้ามีแนวโน้มว่าจะเกิดมะเร็ง เอ็กโซโซมจะบรรจุ DNA RNA ที่บ่งบอกว่าจะเป็นมะเร็งอยู่ และออกมามากกว่าปกติ ถ้าเราสามารถ detect ได้ก่อนที่จะเป็นเนื้องอก ก็จะสามารถช่วยคนนั้นก่อนได้ ซึ่ง relation ตรงนี้มันผ่านการวิจัยมาแล้ว ซึ่งตัวนี้น่าสนใจ เพราะปกติ bio marker จะอยู่ในรูปแบบของ anti-body หรือโปรตีน แต่นี่ก็จะเป็นอีกรูปแบบนึงเลย ซึ่งก็มีความท้าทายเพราะถุงตัวนี้ sensitive มาก และไม่ stable เลย ต้องเก็บใน condition พิเศษไม่ให้มันแตกสลาย ซึ่งค่อนข้าง challenge แต่ก็เป็นสิ่งที่เป็นอนาคต มีคนสนใจด้านนี้เพิ่มขึ้นเยอะมาก
7. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำงานสายนี้
– ต้องมีแพสชั่นแรงกล้า เพราะเราต้องลองทำสิ่งที่คนไม่เคยทำมาก่อน บางครั้งได้ผลมาแล้วก็ยังงงว่าได้มาได้ไง เป็นคนที่อยากจะ explore ใฝ่รู้ ใฝ่หาข้อมูล ก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในสายนี้ บางครั้งอ่าน paper เป็นสิบหน้า แต่อาจจะมีประโยคเดียวที่จะตอบโจทย์ปัญหาที่เราพยายามแก้อยู่ นอกจากนี้ยังต้องคอยอัพเดทข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
8. ฝากส่งท้าย
– ชุดตรวจโรคที่บ้านเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการที่เราจะสามารถเข้าถึงได้ แต่อยากจะเน้นย้ำว่า ท้ายที่สุดการตรวจโรคจะต้องถูกคอนเฟิร์มโดยผลแลป ชุดตรวจโรคเบื้องต้นมันอาจจะมีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ ควรจะเข้าใจเบื้องหลังการทำงานของมันด้วย ว่าเราใช้ถูกกับงานหรือเหมาะสมหรือเปล่า
รายละเอียด
Date: 6 May 2021 (21:00-22:10)
Speaker: คุณต้น
– Ph.D. Candidate & Researcher, Queensland Micro and Nanotechnology Centre, Griffith University
– เจ้าของรายการ Physicsfree4TH – ฟิสิกส์ฟรีเพื่อเด็กไทยทุกคน
Moderator: พี พนิต (วันนี้สรุป..มา)
#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #ชุดตรวจโรคที่บ้าน #POC #PointofCareDiagnosticDevice #Physicsfree4TH #RapidTest #GriffithUniversity #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา