สรุปสั้น
1. Purposeful Business คืออะไร
– บริษัทที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการสนับสนุนสังคม สิ่งแวดล้อม คู่กับการทำกำไรไปด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่ใส่ใจกับลูกค้าอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับ stakeholder ทั้งหมดด้วย
2. Purposeful Business สำคัญเพราะอะไร
– ทุกวันนี้ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นในสังคม การขาดแคลนทรัพยากรบนโลก เห็นชัดได้มากขึ้น ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเราทุกคนที่จะช่วยกันแก้ปัญหาให้โลกนี้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ผู้บริโภคก็มีการเรียกร้องสิ่งนี้มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น บริษัทจึงควรปรับตัวให้มากขึ้น
3. ใครที่เหมาะกับ Purposeful Business
– เหมาะกับทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เพิ่งก่อตั้ง หรือบริษัทที่ก่อตั้งมานานแล้ว ทุกคนต้องมาช่วยกันทำ Purposeful Business
4. ถ้าอยากเริ่มทำ Purposeful Business จะต้องทำอย่างไร
– เริ่มจากดูว่ารอบๆ ตัวมี issue หรือ ปัญหาอะไรตรงไหนที่เราอยากแก้ แล้วก็ดูจุดเด่นของบริษัท ว่าเอาไปแก้ pain point นั้นได้อย่างไรบ้าง
1. Purposeful Business คืออะไร
[คุณพัตเตอร์]
– มีหลายนิยาม แต่เราหมายถึงธุรกิจที่ทำมากกว่าแค่กำไร เป็นองค์กรที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าให้สังคม หรือแก้ปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น ร้านขนม Steps with Theera เจ้าของมีความตั้งใจที่จะสร้างร้านขนมปังที่ healthy ให้ผู้คน นอกจากนี้เจ้าของยังมีลูกชายเป็นออทิสติก ซึ่งโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อว่าคนออทิสติกไม่สามารถทำงานได้ แต่เจ้าของร้านต้องการเปลี่ยนความเชื่อนี้ โดยให้ร้านคาเฟ่นี้เป็นที่ฝึกสอนคนที่เป็นออกทิสติกหรือเป็นเด็กพิเศษ ให้สามารถทำงานได้
[คุณรุ้ง]
– คือการที่ push purpose ในเรื่อง social impact แบบ long term return เป็นเหมือน core value ของบริษัท ที่อยากจะช่วย อยากจะสร้าง impact ตัวอย่างเช่นแบรนด์ผ้าอนามัย Ira Concept ของคุณรุ้ง ก็มีเรื่องสิ่งแวดล้อมในตัวโปรดักส์ คุณค่าทางสังคมต่างๆ ที่คุณรุ้งอยากเห็น เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ ทุกอย่างที่เธอทำจะต้องกลับมามองว่าตรงกับ Purpose หรือ Value ที่วางไว้ไหม
2. Purposeful จำเป็นต้องเป็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไหม มีอย่างอื่นหรือเปล่า
[คุณรุ้ง]
– ทุกวันนี้เรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นเทรนด์ โดยเฉพาะเรื่อง greenwashing ยังมีคนเข้าใจผิดๆ อยู่ ที่บอกว่าดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่จริงๆ แล้วมันไม่รักโลกเลย ก็ต้องมา educate ทำความเข้าใจเรื่องนี้กันอีก อย่างคำว่า eco-friendly, natural บางทีก็ไม่ได้ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงๆ เช่น การใช้ organic cotton ที่บางคนบอกว่าดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่จริงๆ แล้วในขั้นตอนการปลูกฝ้าย ใช้คนมาก ใช้ทรัพยากรเยอะมาก ต้องดูให้ลึกถึง supply chain ทั้งหมด ว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง หรือกิจกรรม CSR ที่จัดขึ้น แต่จริงๆ แล้วในงานมีแต่การใช้ single use plastic ทั้งนั้น
[คุณพัตเตอร์]
– มีคำว่า purpose washing ด้วยเหมือนกัน ที่สร้าง purpose ขึ้นมาเพื่อการโฆษณา บางครั้งคนในองค์กรยังไม่รู้เลยว่ามีวัตถุประสงค์ข้อนี้อยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วควรตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลให้ stakeholder รอบตัว ส่งผลดีต่อเขา ไม่ใช่ส่งผลดีต่อใครบางคน แต่ส่งผลเสียกับใครอีกหลายคน ถ้าเราไปคุยกับผู้มีส่วนได้เสียจริงๆ ก็จะรู้ว่าเป็น purpose washing หรือไม่
3. Purposeful Business ต้องตั้งต้นตั้งแต่ตอนแรกเลยหรือตั้งมาแล้วเปลี่ยนได้ไหม
[คุณรุ้ง]
– คิดว่าเริ่มได้ ถึงแม้ว่าตอนแรกจะไม่ได้เริ่มมาจาก Purposeful Business แต่สุดท้ายอยากจะทำก็ทำได้ ถ้าตั้งใจจะทำจริงๆ ก็ไม่ควรรีบทำ ไม่ใช่ว่าทำแล้วพนักงานเพิ่งรู้ทีหลัง พนักงานต้องอินกับเรื่องพวกนี้ด้วย ถ้าเขาเชื่อและอินกับสิ่งที่ทำ ก็จะทำงานได้อย่างที่บริษัทต้องการได้ คนสมัยนี้ดูออกว่าอะไรทำเพื่อการ PR อะไรที่ทำมาจากใจจริงๆ
– เรามี purpose ที่ชัดเจน ช่วงแรกที่ทำ ไม่มีคนเข้าใจเลย หลายคนพูดว่า ไม่เห็นว่าสิ่งที่ทำมันช่วยคนได้ตรงไหน แต่ถ้ามี purpose ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะทำอะไร จะย้อนกลับไปดู mission ทุกสเต็ปที่ทำ เราเชื่อว่ามันจะไปถึงจุดนั้นได้ ถ้ารู้ pain point ที่ชัดเจนก็จะ identify purpose ได้ แล้วก็ต้องทำให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน
[คุณพัตเตอร์]
– เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ หรือเริ่มมาแล้วก็ทำ Purposeful Business ได้ ถ้าเพิ่งเริ่มก็อาจจะเริ่มจากการหาสิ่งที่ตัวเองอิน แต่ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ก็อาจจะต้องถามตัวเองว่า why do we exist เราอยู่เพื่ออะไร เราเชื่อมั่นในอะไร ฟังพนักงานแบบ deep listening เพื่อหา purpose ร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้นๆ ว่าให้ความสำคัญกับการเป็น Purposeful Business มากน้อยแค่ไหน
4. Purposeful Business สำคัญมากน้อยแค่ไหน
[คุณรุ้ง]
– ทุกวันนี้โลกมีความเหลื่อมล้ำเยอะ มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ทุกคนเริ่มสัมผัสได้ โลกร้อน น้ำท่วม พอคนเห็นภาพพวกนี้ชัดเจน ก็ทำให้เกิดการตระหนักให้ต้องมาสนใจเรื่องนี้ ไม่ใช่ว่าผลักให้เป็นปัญหาของคนอื่นที่จะต้องแก้ แต่มันเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันแก้และต้องเริ่มทำอะไรสักอย่าง ไม่อย่างนั้นมันไม่ยั่งยืน ถ้าอยู่ไปเรื่อยๆ แบบนี้ ในระยะยาวจะทำอย่างไรต่อ
– ในมุมมองของบริษัท ถ้าไม่ทำ Purposeful Business ก็จะไม่ชนะใจผู้บริโภค เพราะคนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคสมัยนี้มีพลังมาก บริษัทใหญ่ๆ ควรจะฟังผู้บริโภค อย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร บริษัทยังอยู่ได้ ยังไงผู้บริโภคก็ต้องเลือกเราอยู่ดี ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น แบรนด์จะทำอย่างไรเพื่อชนะใจลูกค้า มันเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ทั้งโลก สังคม และตัวบริษัทเอง
– สิ่งที่เรากำลังทำคือการเปลี่ยน standard ของผู้บริโภค ถ้าทำให้คนอื่นเห็นว่าแบรนด์ของเราเป็นอย่างไร ผู้บริโภคก็จะเกิดคำถามว่า แล้วแบรนด์ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้เขาทำอะไรเพื่อโลก เพื่อ stakeholder บ้าง เหมือนเริ่มตั้งคำถามให้ลูกค้าคิดถึงเรื่องพวกนี้มากขึ้น เราทำได้ ทำไมแบรนด์ใหญ่ๆ จะทำไม่ได้ อย่าง Nike ก็เริ่มเปลี่ยนไปใช้ recycle material ในการทำรองเท้า หรือแบรนด์ใหญ่อื่นๆ ก็เริ่มตื่นตัวมากขึ้น
– ตอนแรกที่เราทำเรื่องผ้าอนามัย cotton ก็มีปัญหาค่อนข้างเยอะ เพราะถูกโยงไปถึงเรื่องการเมือง แต่เราไม่อยากถูกดึงเข้าไปใช้เป็นเครื่องมือ ดังนั้นในการทำ Purposeful Business จึงต้องระวังเรื่องนี้ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ให้อยู่นิ่งๆ ก็ทำไม่ได้ การที่เรามี standpoint ที่ชัดเจน มันมีความหมายมากกว่าการไม่พูด ไม่ทำอะไรเลย
[คุณพัตเตอร์]
– Purposeful Business ในไทยอาจเพิ่งมี แต่ในต่างประเทศมีมานานแล้ว คนเริ่มให้ความสำคัญกับ mission ของบริษัทที่มากกว่าการทำกำไร เมื่อก่อนคนจะคิดว่าทรัพยากรต่างๆ มีใช้แบบไม่จำกัด คนเลยทำธุรกิจแบบ fake make waste ใช้แบบไม่คิด ไม่รับผิดชอบ แต่พอเราเริ่มรู้สึกว่ามันส่งผลกระทบถึงเรา ก็เริ่มให้ความสำคัญกับ Purposeful Business เพราะมันใกล้ตัวมากขึ้นจริงๆ ซึ่งการทำธุรกิจแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์แล้ว
– ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์น้ำ soft drink ที่ใช้น้ำเยอะมาก เมื่อก่อนอาจไม่คิดว่าวันหนึ่งน้ำจะหมดไป จนกระทั่งวันหนึ่งเกิด water shortage จนทำธุรกิจต่อไปไม่ได้ มันเป็นเรื่องใหญ่มากๆ จนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างกับการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำให้ดีขึ้น ดูแล stakeholder ให้ดีขึ้น แต่ทำไมเราไม่ทำให้มันดีขึ้นก่อนที่จะเกิดปัญหาเหล่านั้น
– ยิ่งคนยุคมิลเลเนียม ยิ่งให้ความสำคัญกับเรื่อง purpose ของบริษัทมากขึ้น ถ้าสินค้าหรือบริการที่ราคาไม่ต่างกันมาก แล้วเราสามารถช่วยให้อะไรต่างๆ มันดีขึ้นได้ เราก็จะเลือกแบรนด์นั้น
– ถ้าพูดถึงการทำ Purposeful Business บริษัทเล็กๆ จะทำง่าย founder สามารถสร้างจุดยืนให้พนักงานเห็นได้ ทำให้เป็น Purposeful Business ง่าย แต่บริษัทใหญ่มี stakeholder ค่อนข้างเยอะ ถ้าเดิม ไม่ได้คิดเรื่อง sustanability หรือ purposeful ไว้ ก็อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเยอะมาก ซึ่งการเปลี่ยนเหล่านั้นมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง อาจทำให้ performance ต่ำลง แต่มันจะเป็นการ worse before better คือต้องยอมรับและให้ trade off future gain ที่เกิดขึ้นจาก Purposeful Business
– สิ่งแรกที่สำคัญคือ CEO ต้องตัดสินใจก่อนว่าจะเปลี่ยนไหม ต้องมาจาก ทั้ง bottom up และ top down ทั้งสองอย่าง ถ้าพนักงานอยากทำฝ่ายเดียว แต่ผู้บริหารไม่เอาด้วย สุดท้ายพนักงานก็จะเหนื่อยและท้อได้ หรือถ้าผู้บริหารข้างบนอยากทำ แต่พนักงานข้างล่างไม่เอาด้วยก็มี ส่วนใหญ่เจอในบริษัทใหญ่ ที่แต่ละคนมีขอบเขตงานชัดเจน พอมีเรื่องนี้ขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าหน่วยงานไหนจะทำ เหมือนเป็นการเพิ่มงาน
5. ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจ อยากทำ Purposeful Business ควรเริ่มอย่างไรดี
[คุณรุ้ง]
– เราทำขึ้นมาเพราะมี painpoint ถ้าคนเป็นเจ้าของธุรกิจแล้วรู้ปัญหา อยากมาโฟกัสเรื่องนั้น เราควรจะเริ่มศึกษา issue ที่เราสนใจและอยากจะช่วยก่อน ว่าบริษัทของเราสามารถช่วยอย่างไรได้บ้าง คุยกับพนักงานว่าเขาเห็นปัญหาอะไร แล้วคิดว่ามันตรงกับบริษัทไหม เพราะบางครั้งผู้บริหารอาจไม่ได้ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง จึงไม่เข้าใจปัญหาลึกๆ
[คุณพัตเตอร์]
– คนที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจควรเริ่มจากสำรวจตัวเอง ว่าคุณค่าที่เราจะสร้างมันดีต่อ stakeholder ทั้ง ลูกค้า พนักงาน สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ว่าถ้าสำหรับธุรกิจที่ไม่เคยคิดเรื่อง purpose แต่อยากเปลี่ยน ก็ให้ถามคำถามตัวเองว่า why do we exist บริษัทต้องการสร้างคุณค่าอะไร เชื่อในอะไร ถ้าอยากจะแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก็อาจจะเริ่มจากดูสินค้าที่เราสร้าง หรือบริการที่เราทำอยู่ มันสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างไร หรือสร้างผลกระทบเชิงลบอย่างไรบ้าง แล้วก็ไปดูเรื่องนั้น ว่าเรามีความสามารถอะไรที่จะไปช่วยได้บ้าง
6. ข้อควรระวัง หรือต้องรู้ในการทำ Purposeful Business
[คุณรุ้ง]
– ควรบาลานซ์ระหว่างการทำ Purposeful Business ของเรา และ profit ที่เราก็ต้องอยู่รอด รวมไปเรื่องที่อาจถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น เรื่องการเมือง นอกจากนี้การทำ Purposeful Business ยิ่งทำก็ยิ่งมีคนเรียกร้องมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนให้ดีๆ ไม่ต้องรีบทำ ต้องศึกษาให้ดีก่อนว่า purpose คืออะไร แล้วที่เราไปช่วยมัน add value อะไรไหม ให้ใคร ด้านไหนบ้าง
[คุณพัตเตอร์]
– อยากให้ระวังคือ อย่าเพิ่งไปมองว่าคนข้างนอกอยากให้เราเป็นอะไร เป็นอย่างไร แต่ให้ถามตัวผู้บริหารและพนักงานเองก่อนว่า purpose จะเป็นอย่างไร ก่อนที่จะไปสื่อสารให้คนอื่นรับรู้ ต้องเคลียร์ตัวเองให้ชัดก่อน ให้คนในองค์กรเข้าใจได้ชัด เห็นภาพเดียวกันก่อน สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ เรื่องของ purpose ต้องได้รับการสื่อสารบ่อยๆ ถ้าผู้บริหารทำให้เห็นเองทุกวัน สื่อสารเองทุกวันก็จะยิ่งชัดเจน
ช่วง Q&A
Q1 : Purposeful Business มีการสนับสนุนจากภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆ ไหม
[คุณรุ้ง]
– ไม่มี ถ้าเป็น Social Enterprise ก็อาจจะมีบ้าง แต่ Purposeful Business ไม่มี เราทำธุรกิจ แค่มี purpose เหมือนการทำ long term CSR กระบวนการทำงานกับภาครัฐค่อนข้างช้า ซับซ้อน ขั้นตอนเยอะ เราไม่สามารถเข้าไปทำได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือ การหา collaboration หรือการหา partnership
[คุณพัตเตอร์]
– เห็นด้วยว่าควรมีการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ตอนนี้เท่าที่พอจะเห็นคือ SET พยายามผลักดันธุรกิจที่ทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
Q2 : ทำไมคนญี่ปุ่นทำริเน็น อิคิไก แล้วยั่งยืน เชื่อมโยงกับ Purposeful Business อย่างไรได้บ้าง
[คุณพัตเตอร์]
– ริ แปลว่าเหตุผล เน็น แปลว่าสติ ดังนั้น ริเน็น จึงหมายถึง เหตุผลที่เกิดจากสติ หรือปัญญาของคนที่เป็นผู้ก่อตั้ง ทำให้เป็นปรัชญาทางธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง ยึดมั่น ถ่ายทอดให้คนในองค์กร ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารไปกี่คน ริเน็นจะยังอยู่ ซึ่งเอามาโยงกับ Purposeful Business ที่ให้ถามว่า why do we exist ก็จะนำไปสู่การสร้างริเน็นเหมือนกัน นั่นก็คือคำถามที่ว่า บริษัทดำรงอยู่เพื่ออะไร ก็จะได้พันธกิจของบริษัท มีความสำคัญต่อลูกค้า สังคมอย่างไร แล้วบริษัทมุ่งไปในทิศทางไหน นั่นคือวิสัยทัศน์ ภาพอนาคตที่องค์กรอยากจะเป็น แล้วบริษัทจะนำเสนอคุณค่านั้นอย่างไร value ของ business คืออะไร จะเกี่ยวข้องกับลูกค้า สังคม อย่างไรบ้าง
ฝากส่งท้าย
[คุณรุ้ง]
– อยากให้ทุกคนเริ่มตั้งคำถามมากขึ้น ตั้งคำถามว่าเราต้องการอะไรจากแบรนด์ที่เลือกใช้ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไรบ้าง เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงบริษัทใหญ่ๆ ให้เป็น Purposeful Business ได้ จะต้องมีอะไรที่ลิงก์กับสิ่งที่ผู้บริโภคเรียกร้องมา
– อยากให้ทุกคนเริ่มจากสิ่งของใกล้ๆ ตัว เช่น สิ่งที่เราใช้มาจากไหน ใช้แล้วไปไหน ที่สำคัญคือ สิ่งของที่เราใช้ทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่ใช้ เพราะมีให้ใช้แค่นี้ ไม่ใช่ว่าต้องยอมรับหรือเรียกร้องอะไรไม่ได้ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า ทุกอย่างเปลี่ยนไป เราเรียกร้องสิ่งที่เราควรจะได้รับได้แล้ว
[คุณพัตเตอร์]
– อยากเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการคนอื่นๆ และถ้าใครที่ทำบริษัทอยู่ อยากให้พิจารณาว่า การทำ Purposeful Business ถึงแม้จะยาก แต่มันดีกว่ารอให้วันนึงมันมา disrupt เรา สู้เราเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ ค่อยๆ เริ่มไปดีกว่า
– อยากให้ผู้บริโภคสังเกตมากขึ้น สิ่งที่เรากินเราใช้ เราเป็นคนหนึ่งที่ช่วยผลักดันเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม และเรื่องต่างๆ ได้
รายละเอียด
สรุปโดย Muk Tunchanok
Date: 28 APR 2021 (20:00-21:10)
Speaker:
– คุณพัตเตอร์
Co-founder of Roots Incubation Program, Bring.life, DoneDoDee Creative (consulting agency เป็นบริษัทที่ปรึกษาที่จะทำเรื่อง sustainable business ช่วยผลักดัน purposeful business)
– คุณรุ้ง
CEO & Founder of Ira Concept
แบรนด์ผ้าอนามัยที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ออร์แกนิค ย่อยสลายได้
Moderator:
– พี พนิต P Panit (วันนี้สรุป..มา)
#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #PurposefulBusiness #RootsIncubation #DoneDoDeeCreative #BringLife #IraConcept #pxpanit #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา