Casting Director คือใคร? ใครที่เหมาะทำหน้าที่นี้บ้าง?

Why It Matters EP6

สารบัญ

สรุปสั้น

1.Casting Director คืออะไร

– Casting Director คือ ผู้คัดเลือกนักแสดงที่เหมาะสมกับบทบาท รวมไปถึงการจัดการนักแสดง มีหน้าที่ประสานงานต่างๆ ให้ระหว่างผู้กำกับ นักแสดง และทีมงาน

2.ทำไม Casting Director ถึงสำคัญ

– เป็นคนที่รับผิดชอบที่ทำให้ข้อความในตัวบท มีชีวิตชีวาขึ้นมาเป็นตัวละคร

3. คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็น Casting Director

*1. ต้องรู้จักการประเมินว่านักแสดงคนนึงเขาจะเล่นบทอะไรได้บ้าง

*2. การสื่อสาร เพราะต้องสื่อสารเยอะมาก

*3. การบริหารการจัดการที่ใช้ในกองถ่าย


1. Casting Director คืออะไร

– ผู้คัดเลือกนักแสดง รับผิดชอบในการหานักแสดงที่เหมาะกับเรื่องราวนั้นๆ โดยตีความจากคาแรคเตอร์ของตัวละครเอามาผสมกันกับตัวนักแสดง

– มีความแตกต่างจาก “Modeling” ตรงที่ว่า Modeling จะมีเด็กในสังกัดอยู่แล้ว แล้วเอามาแคสงานต่างๆ แต่ Casting Director จะไม่มีเด็ก เพียงแค่มองหาคนที่เหมาะสมกับบทตัวละครนี้ อาจจะเป็นนักแสดงใหม่ก็ได้

– ส่วน “แมวมอง” ต่างจาก Casting Director ตรงที่แมวมองเห็นเด็กที่ไหนไม่รู้เอามาปั้น แต่ Casting Director หานักแสดงที่เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ ซึ่งเวลาทำแคส ไม่ว่าจะเป็นตัว Main หรือตัว Support รวมไปถึง Extra ทุกคน ทุกนักแสดงมีความสำคัญกับเรื่องราวหมด หรือบางทีตัวละครก็จะมีสเปคพิเศษ ที่ต้องอาศัยทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

– พอทำการแคสเสร็จ อาจจะมีผ่านการจัดการหลายอย่างขึ้นอยู่กับกองนั้นๆ เช่น การจัดการคิวนักแสดง การทำสัญญา หรือทำหน้าที่คล้ายคลึงผู้ช่วยผู้กำกับ รวมไปถึงทำหน้าที่แคสติ้ง เพราะเป็นคนที่รู้จักคาแรคเตอร์ของนักแสดงด้วย ต้องมีการสื่อสารเป็นหลักทั้งผู้กำกับ นักแสดง และทีมงาน

2. ทำไม Casting Director ถึงสำคัญ

– สมมุติเรามีหนังหรือซีรีส์หนึ่งเรื่อง อย่างแรกเราต้องมีบท มีเรื่องราว อย่างที่สองมีทีมงาน ผู้กำกับกับและการ production design ทำให้บทมันออกมาเป็นภาพ และอีกพาร์ทนึงอย่างสุดท้ายคือ นักแสดง ต้องเอาข้อความจากในตัวบท ทำให้มีชีวิตขึ้นมาเป็นตัวละคร ในฐานะ Casting Director จะต้องช่วยรับผิดชอบในส่วนของนักแสดง ซึ่งเป็นอีกส่วนที่สำคัญมากๆ

3. คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็น Casting Director

*1. รู้จักการประเมินนักแสดง

– คนนึงเขาจะเล่นบทอะไรได้บ้าง ตีความกับตัวบทว่า บทยังงี้ตัวละครจะออกมาเป็นยังไง หน้าตา ลักษณะนิสัย และก็หานักแสดงซึ่งดูจากความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น คาแรคเตอร์ของเขาว่าเป็นอะไรได้บ้าง รวมถึงสกิลเอามาผสมเพื่อหาส่วนผสมใหม่ เป็นตัวละครใหม่ มันคือการออกแบบนักแสดงให้กับเรื่อง

*2. การสื่อสาร

– เพราะต้องสื่อสารเยอะมาก สื่อสารกับผู้กำกับว่าอยากได้อะไร และต้องสื่อสารกับนักแสดงว่าเขามาแคสติ้งอะไร ต้องพูดให้เคลียร์ ในระหว่างที่ทำการแคสต้องสื่อสารให้นักแสดงให้เล่น ให้ได้ตรงกับภาพที่มันควรจะเป็นมากที่สุดหลักๆ คือเป็นอาชีพที่ใช้การสื่อสารเยอะมาก

*3. การบริหารจัดการ

– ไม่ว่าจะเป็นงบประมาน สัญญา คิวนักแสดง หรือว่าการจัดการกับฝ่ายอื่น ๆ เช่น เรามีเคสพิเศษคือ นักแสดงเป็น พรีเซนเตอร์โทรศัพท์ให้กับแบรนด์นึง ก็ต้องสื่อสารว่าไม่สามารถจับโทรศัพท์แบรนด์อื่นได้ เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง จริง ๆ ก็มีอีกหลากหลายมากมาย

4. ส่วนใหญ่มองหาอะไรในคนที่จะมาเป็นนักแสดง

– มีทั้งหมดสามองค์ประกอบ

*1. Character

– ตัวตนของนักแสดงคนนั้น รวมถึงรูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัยภายใน และประสบการณ์ชีวิตที่เขาผ่านมาหล่อหลอมรวมมาเป็นคาแรคเตอร์ของนักแสดงคนนึง

*2. Skill

– ทักษะการแสดงของเขาเพียงพอไหมที่จะรับบทนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบทว่าต้องการสกิลการแสดงมากแค่ไหน บางอันอาจจะต้องการเยอะ เช่น บทของเจมมี่ เจมส์ ใน Homestay หรือบางอันอาจจะต้องการแค่สกิลการแสดงพื้นฐาน และคาแรคเตอร์เฉพาะตัวที่มันน่าสนใจ และเหมาะกับบทนั้นมาก ๆ

*3. Attitude

– attitude ต่างๆ ต่อตัวของน้อง ตัวบท ต่อการทำงาน ต่อทุกๆ อย่าง คือเป็นการประเมินว่า attitude ของน้องจะเข้ากับบทนี้ไหม สมมุติว่า คาแรคเตอร์เขาจะต้องมีการเลิฟซีน แต่ตัวน้องเขาอาจรู้สึกยังไม่พร้อมกับการเล่นเลิฟซีนหนักหน่วง ก็เป็นสิ่งที่ต้องประเมินว่าน้องเขาเหมาะกับบทในเวลานี้ไหม

5. มาเริ่มทำ Casting ได้ยังไง

– จบบริหารธรรมศาสตร์ แต่ระหว่างเรียนทำละครเวทีไปด้วยที่คณะ ลองสมัครไปทำเวิร์คช็อปดู เป็นการเวิร์คช็อปกลุ่มละคร professional จากด้านนอก ทำไปทำมา พี่ๆ ก็ชวนไปทำเรื่อยๆ เราก็เลยฝึกทำละครเวทีพร้อมกับเรียนบริหารควบคู่ไปด้วย จนถึงตอนนี้ 10 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่เล่นละครเวทีเอง จนมาเป็นโปรดิวเซอร์ ทำกำกับ และระหว่างนั้นครูละครเขาก็พาเราติดไปเวิร์คช๊อปกับวงการละคร กับเด็กมัธยมด้วย มันก็เหมือนเราฝึกการโค้ชชิ่งจากตรงนั้นมาด้วยตลอดเวลา และก็บังเอิญรู้จักกับรุ่นพี่คนเก่าคนนึง เขาก็ชวนมาทำแคสติ้งเริ่มจาก assistant ก่อนนี่แหละ พอทำไปมาผู้ใหญ่ให้โอกาสทำต่อเลยได้มาเป็น Casting Director ทำมาเรื่อยๆ เรื่องแรกที่ทำเป็นซีรีส์ “Side by Side พี่น้องลูกขนไก่”

6. แชร์ประสบการณ์ในการทำ Casting

– การจัดการเวลา เช่น หนังกับซีรีส์จะแตกต่างกัน ระยะเวลาในการถ่าย ซีรีส์จะยาวมากๆ 5-10 ตอน หรือบางทีปาไป 20-30 ตอนก็มี หรือเรียกว่า 1 คิวก็ได้ 1 คิวต่อ 1 วัน เช่น ซีรีส์ 16 ชั่วโมง ถ่าย 6 โมงเช้าถึง 4 ทุ่มอะไรแบบนี้ก็เรียกหนึ่งคิวได้

– จริงๆ ความแตกต่างมันขึ้นอยู่กับปัจจัยและสไตล์ของผู้กำกับ ยกตัวอย่างง่ายๆ ซีรีส์พี่ย้งเราจะเห็นนักแสดงแบบนึง แต่ของพี่เต๋อนักแสดงจะอีกประเภทเลย หลักๆ ขึ้นอยู่กับสไตล์ ของผู้กำกับหรือบางทีจะเป็นสไตล์ของเรื่องด้วยว่า mood & tone จะเป็นไปในทางแบบไหน

– ระยะเวลาในการแคสขึ้นอยู่กับ pre-production ว่ามีระยะเวลาในการแคสเท่าไร

– แคสนานที่สุดหนังเรื่อง “Homestay” เพราะโจทย์ต้องการเด็กใหม่ เลยต้องใช้เวลาในการหาถึง 300 คน แค่เฉพาะตัวหลัก 4 ตัว เพราะด้วยคาแรคเตอร์มันกว้างอะไรก็ได้ หรือว่าสเปคเฉพาะทางมากๆ เช่น บทของลี้ อยากได้ผู้ชายที่ลุคทอมบอย แต่เป็นผู้หญิงต้องมีเคมีที่เข้ากับตัวละครผู้ชายด้วย พี่พาย บทของเฌอปราง Cherprang BNK48 หายากเพราะอยากได้เด็กเรียน ที่มีแพชชั่น รวมไปถึงอยากได้เด็กใหม่ แต่ว่ายากสุดคือมิน ที่อยากได้เด็กใหม่ แต่ต้องการสกิลที่สูงมาก รวมถึงมีหลายคาแรคเตอร์ แต่ตอนนั้นสุดท้ายเลยกลับมาหาเจมมี่ เจมส์ ช่วงนั้นเจมส์เพิ่งเล่น SOS ตอน โรคซึมเศร้า เสร็จ

– แคสที่สั้นที่สุดคือ “เต๋กับโอ้เอ๋ว ตอนเด็ก” โชคดีมากใช้เวลาแค่สามวัน คือก่อนหน้านั้นเราเพิ่งเสร็จ จาก Nadao Academy ซึ่งเป็นโปรเจคหาเด็กรุ่นใหม่มาเข้า NADAO MUSIC ตอนนั้นในเด็กพันๆ คน มันจะมีเด็กที่เรารู้สึกจำได้เลยลองเรียกมาแคสดู สรุปผ่านเลยบางทีก็ต้องบอกว่าการแคสขึ้นอยู่บุญกับกรรมด้วย

– การแคสติ้งหาคู่หาแฟน บางทีเราได้นักแสดงที่ต้องมาเล่นคู่กัน ก็ต้องดูว่าเคมีของเขาเข้ากับนักแสดงอีกคนได้ไหม เช่น บาส ขุนพล อยู่กับ พีพี จะเป็นอย่างไร เขาเรียกว่แมตช์เคมี เป็นตัวชี้ขาดว่าเหมาะกับบทนี้จริงๆ ไหม มันไม่ใช่แค่ว่าเหมาะสมกับบทไหม แต่คาแรคเตอร์ต้องเข้ากับนักแสดงคนอื่นด้วย

7. ทำงานกับเด็กยากไหม

– สำหรับเรามันสนุก มันทำให้เราไม่แก่ รู้สึกว่าวัยรุ่นเป็นวัยน่าค้นหาที่กำลังค้นหาค้นพบตัวเอง เราเลยได้สนุกกับการค้นหาไปพร้อมกัน อาจเป็นช่วงวัยที่เราอินด้วย รู้ว่าเด็กแต่ละ gen เปลี่ยนไปเร็วมาก เราว่าเด็กเปลี่ยนไปเรื่อยตามแต่ละยุค รู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่เก่งขึ้นมาก ๆ

8. แชร์ประสบการณ์การทำงานกับซีรีส์ “เคว้ง” ซึ่งเป็น Netflix Original Series

– Netflix เข้ามามีส่วนร่วมเยอะมาก เป็นการขายแคสที่จำไม่ลืมเลย มีขั้นตอนเยอะมาก เอกสารทุกอย่างต้องเป็นลายลักษณ์อักษรที่ยืนยันได้.- เราทำเทปแคสติ้งในห้อง ถ้าเปนซีรีส์ปกติ ตัดเทปรวมกันขายผู้กำกับ แต่อันนี้ตัดเทปเสร็จต้องใส่ซับ เพื่อไปขายเฮดที่สิงคโปร์กับเฮดที่แอลเอ ก็มีขั้นตอนอะไรขึ้นมาเยอะมาก แล้วยิ่งพอเราอยากให้นักแสดงใช้เสน่ห์ความเป็นตัวเองมากๆ ไม่ได้ฟิตกับบทแคสติ้งขนาดนั้น ใครอยากจะปรับเปลี่ยนเพิ่มอะไรก็แล้วแต่ ผลคือเราต้องมานั่งแปลสิ่งที่นักแสดงพูด ตอนนั้นก็ปวดหัวอยู่มาก.- อีกอย่างที่เรารู้สึกว่าการทำงานกับ Netflix ต่างกับไทยมากคือ สเปคของนักแสดง อย่างแรกเลยคือ เขาไม่รู้จักดาราไทย เขาไม่สนเลยว่าดังไม่ดัง มองแค่ว่าตรงกับบท คาแรคเตอร์ได้ ตรงสเปคกับเขาก็คือได้เลย “เคว้ง” มีตัวละครเยอะมาก ที่ต้องมองเพิ่มคือคาแรคเตอร์ของตัวละครที่ต้องแตกต่างกันมาก ต้องมองแว๊บเดียวแล้วรู้ว่านี่คือตัวละครนี้ ยิ่งฝรั่งมองเอเชียเขาจะมองว่าคนเอเชียหน้าตาคล้ายกัน อีกข้อกำหนดหนึ่งที่ทาง Netflix กำหนดมาแล้วเราชอบมากๆ คือ เขาต้องการความ diversity ในหมู่แคส ในแง่ชาติพันธุ์ อยากให้มี reference ชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีในประเทศไทย ดังนั้นเราจะเห็นนักแสดงต่างๆ มีหลากหลายชาติพันธุ์ ซึ่งเราเห็นว่าสิ่งนี้ดีมาก เราพยายามจะทำสิ่งนี้ต่อในงานอื่นๆ ถ้ามีโอกาส

9. แชร์ประสบการณ์ Casting ที่ประทับใจ

– แคสติ้ง MV เพลงหลับตา ของ Slot Machine กำกับโดย ย้ง ทรงยศ คือ แบบหลับตานึกถึงใครที่ไม่ได้อยู่กับเรา แล้วกลับมาเป็นกำลังใจให้เราในความทรงจำ จากเนื้อหาของเพลงเลยถูกตีมาเป็นเนื้อเรื่อง ซึ่งพี่ย้งบอกว่าในเนื้อเรื่องยังไม่มีบท ต้องการนักแสดงคนที่มีเรื่องราวสูญเสียคนสำคัญในชีวิตจริงๆ เราก็ต้องไปหานักแสดงที่มีเรื่องราวนั้นที่ยังมูฟออนไม่ได้มาแสดง เป็นคนจริงๆ ที่ไม่ใช่นักแสดงมืออาชีพ คนที่มีเรื่องราว เรียกเจ้าของเรื่องราวแต่ละคนมาสัมภาษณ์ เรียกได้ว่าดุเดือด emotional มาก เพราะต้องมาฟังเรื่องราวแต่ละคนที่เขาที่สูญเสียคนที่รักไป ในขั้นตอนการดีล ต้องเล่าให้เขาฟังว่าเอามาทำไร และให้เขาต้องโอเคจริงๆ ทุกอย่างเป็นความลับสำหรับคนที่ไม่ถูกเลือก สุดท้ายได้แม่ลูกคู่นึงที่สูญเสียพ่อไปเอา element เรื่องเล่าของแม่ลูก มาพัฒนา เป็นงานที่ประทับใจมาก และเป็นงานแรกที่ทำกับพี่ย้ง


ช่วง Q&A

Q1: ปัจจัยอะไรที่จะทำให้นักแสดงหน้าใหม่ๆ สมัยนี้ประสบความสำเร็จ

– แบ่งออกเป็นสองช่วงคือ

– ระยะแรกคือ ตัวตนของเขาที่ไม่เหมือนใคร คือในอุตสาหกรรมมีนักแสดงเยอะมาก สิ่งที่ทำให้คนนึงประสบความสำเร็จคือ ตัวตนของเขาที่มันไม่เหมือนใคร

-ระยะต่อมาคือ ฝีมือ ในระยะยาวไม่ใช่แค่ตัวตนเท่านั้น แต่ต้องมีความเป็นมืออาชีพ พัฒนาฝีมือขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อรับมือกับบทบาท เช่น สิ่งที่ผมเจอตอนทำเลือดข้นคนจางคือ ผู้ใหญ่ในเลือดข้นคนจางเล่นได้ตั้งแต่เทคแรก และมีออฟชั่นให้ผู้กำกับเลือกมากมายด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะหาได้ยากกับนักแสดงใหม่ ฉะนั้นเขาต้องพัฒนาสกิล ถึงจะมีพื้นที่อยู่ในวงการได้ในระยะยาว

Q2: อะไรคือสิ่งที่พลาดสำหรับเด็กนักแสดงยุคใหม่ๆ

– สิ่งที่เราเจอในเด็กรุ่นใหม่คือ พอเขาเห็นนักแสดงดังๆ เขาก็พยายามจะปรับตัวเองให้เป็นเหมือนคนนั้นๆ และสูญเสียตัวตนของตัวเองไป อันนี้คือสิ่งที่เจอกับน้องหน้าใหม่หลายคน คือเราไม่ได้หาเจมมี่ เจมส์ เบอร์สอง เราหาคุณเบอร์หนึ่ง

– อย่างเวลาเราพูดถึง เจมมี่ เจมส์ ขึ้นมา เราก็จะเห็นภาพชัดเลย ว่าเป็นยังไง และรู้สึกว่าถ้าจะให้หาคนมาเทียบกัน เราแทบจะนึกไม่ออก

Q3: รู้สึกไหมว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับวงการนักแสดง ก็คล้ายๆ กับวงการดนตรี ที่คนอยากทำเพลงคล้ายอิ้งค์ วรันธร หรืออย่างแบบ PolyCat

– เคยเจอเหมือนกันคือ น้องได้ inspiration มา แต่ไม่ adapt มาเป็นทางของตัวเอง ซึ่งค่อนข้างมีผล จำได้เลยว่าช่วงตอนที่เราทำ Nadao Music ตอนออดิชั่นด้วยคือ เจอน้องคนนึงต้องบอกให้ปรับให้เป็นแนวทางของตัวเอง ซึ่งผมรู้สึกว่ามันมีผลต่อทั้งงานเพลงและงานแสดง

Q4: ตอนออดิชั่นทำยังไงให้เขาดึงตัวเองออกมามากที่สุด

– คุยเรื่อยเปื่อยให้เขารีแล็กซ์กับห้องออดิชั่น และเราจะได้ประเมินด้วยว่าเขาเป็นคนยังไง การคุยทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วเขาเป็นคนยังไงด้วย บางทีรูปลักษณ์ที่เขาพรีเซนต์ออกมา อาจจะไม่เหมือนตัวตนข้างในที่เป็นอีกคนนึงเลยก็ได้

Q5: อะไรคือสัญญาณของการ Casting ว่าถ้าเจอแบบนี้ไม่เอาต่อแน่นอน

– ถ้าเขาไม่เปิดใจตัวเอง มันเหมือนเราคุยกับคนที่มีกำแพงปิดกั้น และถ้าคุยไม่ได้ก็จะให้ลองออดิชั่นเลย และประเมินอีกทีว่าจะทำยังไงต่อ เคยเจอเคสนึงลองคุยตอนแรกไม่เปิดเลย พอทำเทสแคสติ้งเสร็จแล้วค่อยมาคุย เปิดเต็มที่เลย แต่ละคนใช้วิธีไม่เหมือนกัน ต้องประเมินดูจากหน้างานอีกที

Q6: อะไรเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ได้ขึ้นมาเป็น Casting Director ได้

– เราต้องโปร่งใส ทุกอย่างต้องชัดเจน อาชีพหลักคือ การสื่อสารเพื่อให้คนมาแคส นักแสดงและผู้ปกครองต้องไว้ใจเรา หรือว่าสังกัดของนักแสดงก็ต้องไว้ใจเราด้วย

– มองหาความเป็นไปได้อยู่จากคนนึง สมมุติว่าเรามีนักแสดงคนนึงที่รับบทเดิมมาตลอด เราจะรู้สึกว่ามาแคสงานเรา เราก็ไม่อยากให้เขาเล่นบทเดิม เราจะดูว่าเขาสามารถเป็นตัวละครอะไรได้อีก ขยายขอบเขตของเขา ซึ่งไม่ใช่แค่กับนักแสดงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับตัวบทด้วย บางทีเวลาเราอ่านบทว่าตัวละครตัวนี้พูดแบบนี้จะเป็นภาพประมาณนี้ แต่ในฐานะ Casting Director ต้องตีความต่อไปอีกว่าตัวละครจะเป็นแบบนี้จริงๆ เหรอ หรือว่าคนนี้จะเป็นแบบนี้ได้ไหม แล้วมีเหตุผลอะไรที่คนนี้จะเป็นแบบไหนได้บ้าง มันคือการตีความของตัวละคร คือหาความใหม่ให้กับบทตัวละครประเภทหนึ่ง

Q7: Casting Director กับ Acting Coach แบ่งหน้าที่กันยังไง

– แล้วแต่โปรดักชั่นว่า เขาจะวางให้เราอยู่ต่อแบบไหน เช่น Casting Director มีหน้าที่เตรียมนักแสดงให้มีความพร้อมเล่นในซีนนั้น ส่งต่อให้ผู้กำกับ หรือทำ Acting Coach ด้วยกับบทนั้นๆ รวมไปถึงทำงานหน้ากอง ถ้าคิดภาพให้เป็นเชฟ Casting Director เป็นเชฟหั่นต้นหอมให้ผู้กำกับกับ Acting Coach เอาไปผัด ซึ่งขึ้นอยู่กับโปรดักชั่นด้วยว่าเขาจะวางเราไว้ในฟังก์ชั่นไหน หรือบางครั้งทำแคสเสร็จ ระหว่างถ่ายทำไปเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ แล้วแต่กอง คือช่วงก่อนพรีโปรดักชั่นปกติจะเหมือนกันหมด แต่พอหลังจากนั้นแล้วแต่ว่าเขาจะให้เราไปอยู่ที่ไหนต่อ

Q8: เคล็ดลับวิธีการดึงคาแรคเตอร์ออกมาจากนักแสดง

– บรีฟให้นักแสดงฟังว่าต้องทำยังไง ประเมินดูว่าเขาเข้าใจไหมในภาวะตัวละคร ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้องหาวิธีเทียบเคียงความรู้สึกมาใช้ เช่น ซีนที่เราเสียคนที่รักตายไป ซึ่งในชีวิตเขาไม่มี เราอาจไปเทียบกับสิ่งที่เขาสูญเสียแทน ไปขุดจากประสบการณ์เขามา ใช้ในระหว่างการทำแคสติ้ง ต้องสื่อสารให้ตรงจุดกับนักแสดง ฟังแล้วจับใจความในเวลาสั้น และประเมินเลยว่าต้องทำไรต่อเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นั้นๆ

ฝากส่งท้ายถึงทุกคนที่อยากจะเป็น Casting Director

– อยากจะให้ลองเริ่มจากการเป็น assistant ก่อน เรากำลังหา assistant ใหม่อยู่ติดตามได้ในเพจหรือ Instagram: @aomtimator ฝากผลงาน แปลรักฉันด้วยใจเธอ Part 2 และจะมีซีรีส์อีกเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงหนังที่จะเปิดตัวในปีนี้ อยากให้รอติดตามกันครับ


รายละเอียด

Date: 27 APR 2021 (20:00-21:10)

Speaker: คุณออม Freelance Casting Director #แปลรักฉันด้วยใจเธอ #เลือดข้นคนจาง #Homestay #เคว้ง

Moderator: พี P Panit เจ้าของเพจ วันนี้สรุป..มา


#Clubhouse #ClubhouseTH #ClubhouseThailand #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #EP6 #CastingDirector #aomtimator #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา