1. Bitcoin จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเงินในเอลซัลวาดอร์ ได้อย่างไร?
1.1 ปัญหาของเงินในโลกปัจจุบัน
– ปัญหาของเงินที่เป็นของรัฐบาลคือ ทำให้คนเก็บเงินไม่ได้ เพราะเงินมันเสื่อมค่าตลอดเวลา เวลาเก็บเงินแล้วเวลาผ่านไป มันซื้อของได้น้อยลง เกิดเงินเฟ้อ ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
– ผลกระทบนี้รุนแรงมากกว่าที่เราคิดมาก เพราะการที่เราไม่สามารถเก็บเงินได้ แปลว่าเราไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตเราได้ เพราะไม่ว่าเราจะทำงานเก็บเงินไว้ขนาดไหนก็ตาม เงินเรามันถูกเทออกในแง่ของมูลค่าตลอดเวลา จนทำให้ในที่สุดด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการเก็บเงินที่หายไป ทำให้เงินของเรามันเล็กลง จนถูกบีบให้ต้องเอาออกมาใช้ เมื่อคนรู้สึกว่าการเก็บเงินไม่มีประโยชน์ การเป็นหนี้มีประโยชน์กว่า เพราะว่าการเอาเงินมาใช้ในวันนี้มันมีค่ามากกว่าวันหน้า เพราะฉะนั้นคนก็จะค่อยๆ ผ่อนเอาก็ได้ ในที่สุดเราก็จะเห็นประชาชนเป็นหนี้มหาศาล
– พอเป็นหนี้แล้ว การทำธุรกิจส่วนตัวที่อาจจะทำให้เราก้าวหน้า และยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างมากกว่า ก็จะน้อยลง การเป็นเจ้าของธุรกิจมันเสี่ยงกับรายได้ที่ไม่คงที่ แต่การที่มีหนี้ที่เป็นรายจ่ายที่คงที่ มันทำให้แรงกดดันตรงนี้หนักมาก จนในที่สุดคนส่วนใหญ่ก็จะลงเอยด้วยการทำงานแลกกับเงินเดือนที่มันมีความมั่นคง และเวลาที่ธุรกิจเปลี่ยนไป โดน lay off ขึ้นมา บางทีก็จะไม่มีสกิลที่จะไปทำอย่างอื่น
1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นในเอลซัลวาดอร์
– คนเอลซัลวาดอร์ก็ไม่สามารถเก็บเงินได้เหมือนกัน เพราะประเทศเขาใช้ US Dollar เป็น legal tender ทุกครั้งที่สหรัฐอเมริกาพิมพ์เงินแจกประชาชนของเขา คนเอลซัลวาดอร์ไม่ได้ได้ด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือราคาสินค้าขึ้นหมดทุกอย่าง เงินที่เขาได้อยู่มันเสื่อมค่าลงเร็วมากๆ เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ ประชาชนไม่สามารถจะลืมตาอ้าปากได้เลย คนที่รวยคือคนที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตงาน ใกล้รัฐบาล ประชาชนอยู่กันอย่างยากจนและไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้ จนหลายคนต้องส่งลูกส่งหลานไปทำงานต่างประเทศ แต่ก็ไม่สามารถส่งเงินกลับมาได้อีกเพราะ US Dollar ก็เป็นเงินที่ under regulation ของธนาคารสูงมากๆ คนในประเทศเองก็ไม่สามารถมีบัญชีธนาคารได้เพราะรายได้ไม่ถึง ความมั่นคงของครอบครัวดีไม่พอ จึงทำให้ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ ไปทำงานที่อเมริกาก็ไม่มีบัญชีธนาคารเหมือนกัน ได้เงินมาเป็นเงินสด ค่าจ้างแต่ละวีคส่งกลับบ้านก็ต้องส่งผ่านตัวกลาง ใช้เวลาทีเป็น 2-3 อาทิตย์ และมีค่าใช้จ่ายในการส่งบางทีสูงถึง 40-50% เพราะว่าเงินที่เขาส่งมันเป็นยอดเล็กๆ และมันมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ ทำให้การค้าแรงงานของเขาไม่ทำให้เงินกลับเข้าประเทศอีก ครอบครัวที่บ้านก็ไม่มีเงินพอที่จะใช้ชีวิต และไม่มีพอที่จะเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต
1.3 วิธีที่ Bitcoin จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
– บิตคอยน์แก้ปัญหาตรงนี้ในหลายๆ มิติเลย อันที่หนึ่งคือมันเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถมีรัฐบาลไหนมาพิมพ์เพิ่มและทำให้เสื่อมค่าลง จึงทำให้คนเก็บเงินได้อย่างจริงๆ และมั่นใจว่าเงินนี้ผ่านไปอีกกี่สิบปีก็ไม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จนจำนวนที่เราเก็บไว้มันกลายเป็นสัดส่วนเล็กๆ หนึ่งบิตคอยน์ในวันนี้คือหนึ่งใน 21 ล้านบิตคอยน์ อีกร้อยปีก็ยังจะเป็นหนึ่งใน 21 ล้านบิตคอยน์ จะเป็นแบบนี้ไปตลอด
– อันที่สองคือ การส่งเงินข้ามผ่านพรมแดนประเทศ ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอีกต่อไป เพราะบิตคอยน์เป็นระบบเปิด ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าใครก็สามารถที่จะโหลดแอพ wallet แล้วใช้งานได้เลย เพราะฉะนั้นทุกคนที่ไปทำงานที่ประเทศอื่นๆ ก็สามารถส่งเงินกลับเข้าประเทศได้ โดยที่ไม่ต้องหักค่าตัวกลาง ทำให้เงินเข้าถึงญาติพี่น้องในประเทศเอลซัลวาดอร์ได้มากขึ้น เกิดเป็น GDP ที่เพิ่มขึ้น เพราะว่า GDP กว่า 30% ของเอลซัลวาดอร์มาจากเงินที่ส่งกลับมา และทุกวันนี้เงินที่ส่งกลับมาถูกดักเก็บไป 50% GDP เข้าสามารถโตขึ้นได้อีก 10-20% ได้ทันที
– อันนี้คือการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการส่ง ลด barrier ในการเข้าถึงระบบการเงิน คนไม่จำเป็นต้องถือเงินสดเป็นก้อนๆ อีกต่อไป เพราะเขาสามารถมีเงินสดดิจิทัลที่สามารถใช้งานได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าเขามีความมั่นคงทางการเงินมากน้อยขนาดไหน และทำให้เขาสามารถมีบัญชีที่สามารถเก็บออมเงินที่เป็นเงินได้และไม่เสื่อมค่า
– มันเป็นเหตุผลที่ทำให้บางทีเราอยู่ในไทยเรา ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของมันเท่าไหร่ เพราะว่าเราไม่ค่อยมีปัญหาเหล่านี้นัก นอกจากการเสื่อมค่าของเงิน อย่างอื่น เราไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่
2. ถ้าวันนี้ Bitcoin ยังอยู่ในช่วง early มากๆ แล้วคนที่ไม่ได้มีโอกาสได้เข้าถึง เช่น ชาวไร่ ชาวนา ในอนาคตที่ Bitcoin ใชักันทั่วไปแล้ว เขาจะต้องซื้อ Bitcoin ในราคาที่แพงกว่าตอนนี้ แบบนี้มันก็จะไม่ได้ช่วยทุกคนหรือเปล่า
– ถึงวันนั้นเขาก็จะได้บิตคอยน์ในราคาที่ควรได้ ข้อดีของความรู้คือ ไม่ว่าใครก็สามารถหาได้ อันนี้แตกต่างจากหลาย resource แต่ว่าในประเทศไทยจะด้อยกว่าหลายๆ ประเทศบ้าง เพราะความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของคนไทยค่อนข้างต่ำ และนี่เป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งมันไม่ได้เป็นปัญหาของหลายๆ ที่ ที่คนสามารถอ่านได้ นี่คือความสามารถในการทำให้คนสามารถลืมตาอ้าปากได้ สำหรับคนที่เข้าถึงมันก่อน แต่ที่สำคัญมากๆ คือการต้องหาความรู้
– บิตคอยน์ไม่ใช่เทคโนโลยีที่สร้างความเท่าเทียมหรือสังคมนิยม บิตคอยน์คือทุนนิยม ซึ่งมันเน้นที่ความแฟร์ สังคมนิยมคือความเท่าเทียม ทุกคนเท่ากันหมด จนเท่ากันหมด ตายเท่ากันหมดทั้งประเทศ แต่ระบบทุนนิยมคือทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตเท่าๆ กัน ตามความเสี่ยงที่ตัวเองพร้อมจะให้ ตามงานที่ตัวเองพร้อมจะทำ ตามความทุ่มเทที่ตัวเองพร้อมที่จะศึกษาหาความรู้ มันจึงเป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่สื่อดีๆ เกี่ยวกับบิตคอยน์ที่เป็นภาษาไทยมันน้อยมากๆ หนังสือดีๆ ที่เป็นภาษาไทยแทบจะไม่มีเลย อีกเรื่องคือคนไทยบางส่วนเองก็ยังอ่านภาษาไทยได้ไม่คล่องด้วยซ้ำ หรืออาจจะอ่านได้ แต่ไม่สามารถจับใจความได้ อันนี้คือความล้มเหลวของระบบการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งตัดโอกาสของคนในประเทศ
– บิตคอยน์คือ เงินซึ่งในที่สุดก็จะมีความเหลื่อมล้ำ แต่เป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจากความรู้ก่อนเลยอย่างแรก นั่นเป็นเหตุผลที่ผมเลือกมาทำรายการเผยแพร่ความรู้เป็นภาษาไทย แทนที่จะเป็นภาษาอังกฤษที่จะมีคนดูได้เยอะกว่า เพราะผมอยากให้คนไทยได้รู้เรื่อง คนที่ไม่ได้คล่องภาษาอังกฤษสามารถเข้าถึงความรู้ที่เป็นความรู้จริงๆ ได้ ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ แต่เป็นความรู้ทั้งในเรื่องของการลงทุน หรือความรู้เกี่ยวกับตัวบิตคอยน์และระบบเศรษฐศาสตร์เอง
3. คิดว่าประเทศไทยจะประกาศให้ Bitcoin เป็นเงินถูกต้องตามกฎหมายไหม
– คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ระบบการเงินประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาขนาดนั้น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจ ที่มีทองคำอยู่ในคลัง อย่างตอนนี้เราเห็นรัสเซีย อินเดีย จีน พยายามกักตุนทองคำมากขึ้น แต่ประเทศเล็กๆ ก็ไม่มีเขาฝากสหรัฐฯ กันหมด
– ประชาชนของเราเข้าสู่ระบบการเงินได้ทั่วหน้า มากกว่าหลายๆ ประเทศ มากกว่าประเทศเจริญแล้วหลายประเทศด้วยซ้ำ จำนวนบัญชีธนาคารต่อจำนวนประชากรของประเทศไทยถือว่าสูงมาก basic financial inclusion คือคนสามารถโอนบัญชีผ่านธนาคารได้ เด็ก 16-17 ปี สามารถเปิดบัญชีธนาคารผ่านมือถือได้ หลายๆ ประเทศในยุโรป อเมริกา ยังทำแบบนี้ไม่ได้เลย
– เพราะฉะนั้นไม่คิดว่าประเทศไทยจะประกาศให้บิตคอยน์เป็น legal tender อย่างรวดเร็ว เพราะเราไม่มีเหตุผลให้ทำแบบนั้นสักเท่าไหร่ อย่างประเทศอื่นๆ ที่เขาพยายามจะทำเพราะเขามีปัญหาที่ต้องแก้
– เรามี basic financial inclusion ที่ดีอยู่แล้ว มันอาจจะยากกว่าในการเปลี่ยน นอกเหนือจะเริ่มคิดถึงเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ แหล่งเงินทุน ซึ่งโลกของบิตคอยน์และคริปโตให้โอกาสตรงนี้สูงกว่าเยอะเลย เพราะเราไม่สามารถมี credit line ได้ นอกจากคุณจะมีรายได้ที่ประจำและสูง การเข้าถึงบัตรเครดิต หรือแหล่งเงินกู้ราคาถูกยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับหลายๆ คน
– ความสามารถระดมทุนก็จะง่ายขึ้นผ่านบิตคอยน์ การเจาะตลาดระดับโลกก็ง่ายขึ้น สามารถขาย digital product กับใครก็ได้ ไม่ต้องมีตัวกลาง ไม่ต้องผ่านสกุลเงิน ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียม
– การประกาศเป็น legal tender จะช่วยให้ประเทศเข้าถึงตลาดที่กว้างกว่าเดิมได้อย่างมหาศาล ซึ่งผมว่าอันนี้สำคัญ เพราะคนไทยมีศักยภาพสูง แต่ถูกกำแพงตรงนี้กันไว้ การเข้าระดมทุนในตลาด จะทำให้สามารถลิสต์เข้า exchange เข้าตลาดโลกได้ง่ายๆ
– คิดว่าจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่อง urgent มาก ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ที่เป็นเรื่องของความเป็นความตาย
– ปัจจุบันเมืองไทยยังมองบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์อยู่ จะมีเรื่องของภาษี capital gain ซึ่งทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนมือ ต้องคิดกำไรเป็นรายได้ จะยุ่งยากในเรื่องของการทำบัญชี ในแง่ของการใช้งานจะมี Vat
4. ถ้ามีกลุ่มคนที่รวยมากๆ ซื้อ Bitcoin เก็บไว้เยอะๆ แบบนี้ในอนาคต ถ้าโลกเราใช้ Bitcoin อย่างแพร่หลายกันหมดแล้ว เขาจะมีอำนาจมากเกินไปไหม แล้ว Bitcoin ที่เหลือคนจะแย่งกันใช้หรือเปล่า
– เป็นไปได้ อาจจะเหลือแค่ 1 บิตคอยน์ให้คนแย่งกันใช้ แต่หลักเศรษฐศาสตร์อันนึงที่ Friedrich Hayek เคยพูดไว้คือ เงินไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม มันเพียงพอสำหรับทุกระบบเศรษฐกิจ เราไม่จำเป็นต้องมีตัวเงินที่เป็นตัวเลขมหาศาล บิตคอยน์แค่ 1 บิตคอยน์ก็เพียงพอสำหรับระบบเศรษฐกิจของโลกแล้ว มันขึ้นอยู่กับว่า เงินนั้นสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ขนาดไหน แล้วหน่วยย่อยนั้นสามารถใช้งานจริงได้หรือเปล่า บิตคอยน์เนื่องด้วยมันเป็นดิจิทัล เพราะฉะนั้นมันสามารถแบ่งหน่วยย่อยได้อย่างไม่จำกัด การแบ่งหน่วยย่อยไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณเงิน แต่เป็นการแบ่งเงินให้เป็นชิ้นเล็กลง เพื่อที่ทำให้มันมีจำนวนที่มากพอที่จะทำให้เกิดสภาพคล่องในการใช้งานได้ เกิดเป็น velocity of money ได้
– แน่นอนว่ามันมีคนเก็บบิตคอยน์เยอะ คนยุคแรกที่เข้ามาก่อนก็จะมีบิตคอยน์เยอะกว่าคนอื่น เพราะสามารถเข้าถึงมันได้ในวันที่มันขุดหาง่าย เหมือนกับทองคำที่ยุคแรกการขุดเป็นเรื่องง่าย ในยุคแรกที่คนใช้ทองคำมันก็ยังไม่มีราคาแพงอะไรมากมาย สามารถที่จะเก็บกักตุนไว้ได้เยอะ ก็คล้ายๆ กับบิตคอยน์ แล้วในที่สุดคนกลุ่มนี้ก็จะมีอำนาจ แต่อำนาจเขามันแตกต่างจากอำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะในปัจจุบันนี้อำนาจมันไม่ได้เกิดจากการที่มีเงินเยอะ แต่เป็นอำนาจที่เกิดจากการมีความสามารถในการควบคุมนโยบายทางการเงิน และควบคุมการผลิตเงินได้ มันจะไม่เหมือนกัน เพราะการใช้อำนาจจากกลไกการผลิตเงินมันสามารถสร้างความร่ำรวยได้ไม่รู้จบ แล้วก็สามารถกดขี่และขโมยเงินจากคนอื่นๆ ที่ไม่มีอำนาจได้ จนกว่าทรัพย์สมบัติและความมั่งคั่งของมนุษย์มันจะหมดไป
– แต่ถ้าคุณมีบิตคอยน์เยอะอย่าลืมว่าทุกครั้งที่คุณใช้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงอำนาจในการทำอะไรก็ตาม คุณจำเป็นที่จะต้องจ่ายมันออกไป บิตคอยน์นั้นก็จะไปอยู่ในมือคนอื่นๆ กระจายออกไป อำนาจนี้เป็นอำนาจแบบใช้แล้วทิ้ง เพราะฉะนั้นอำนาจเองก็จะค่อยๆ เปลี่ยน ย้ายมือไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะจากการใช้อำนาจด้วยการลงทุนกำลังทหาร หรือลงทุนในกิจการต่างๆ เงินเหล่านี้เมื่อถูกใช้ ก็ต้องถูกย้ายไป ผู้ใช้เงินยิ่งใช้เยอะ ก็ยิ่งรับความเสี่ยงเยอะ นี่คือความแฟร์ของระบบทุนนิยม ทุกสิ่งทุกอย่างมาพร้อมกับความเสี่ยง ต้องการ reward เยอะ ความเสี่ยงก็มาเยอะด้วยพร้อมกัน
– ตรงนี้จะทำให้โลกอยู่บนพื้นฐานความแฟร์ที่มากขึ้น เพราะว่าอำนาจถึงจะมี มีได้ แต่มันสามารถเปลี่ยนมือได้ ไม่เหมือนปัจจุบันที่อำนาจมันถูกควบคุมโดยกฎหมายและการรู้จักคน เป็นอำนาจที่สามารถใช้ได้ไม่รู้จบ เทียบกับอำนาจที่ใช้ได้ทีเดียวแล้วต้องรับความเสี่ยง หรือความเสี่ยงจากความผิดพลาด การโดนหลอก โดนโกง หรือลูกหลานเกิดเหลวไหวเอาเงินของครอบครัวไปถลุงหมด ก็จะเป็นการกระจายอำนาจเข้าสู่ชุมชน พร้อมกับการล่มสลายของวงศ์ตระกูล ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆ ในยุคสมัยตั้งแต่โรมันมาจนถึงศตรวรรษที่ 19 ที่มีการเปลี่ยนถ่ายโอนย้ายอำนาจอยู่เรื่อยๆ
– อีกอย่างนึงคือมันไม่มีทางที่จะมีใครสักคนที่เก็บเยอะมากจนไม่เหลือให้คนอื่นใช้ หรือว่าเหลือน้อยมากๆ อยู่แล้ว เพราะว่าบิตคอยน์ ไม่สามารถซื้อมาจากร้านขายบิตคอยน์ได้ ต้องซื้อจากคนอื่นที่เป็นเจ้าของบิตคอยน์อยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมื่อมันมีความต้องการซื้อ มันก็จะผลักดันให้คนที่ถืออยู่มองว่าตอนนี้คนต้องการซื้อเยอะ จึงยอมขายแพงขึ้น ในที่สุดเมื่อมีความต้องการที่ซื้อมาก ราคามันจะพุ่งขึ้นอย่างมหาศาล คนที่ถืออยู่ทุกคนก็จะได้ผลประโยชน์หมด ในขณะที่คนซื้อก็ต้องแลกด้วยความเสี่ยงที่ซื้อในของที่ราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ และถ้าเขาซื้อเสร็จแล้วต้องการใช้เพื่อการถล่มตลาด เขาเองก็จะต้องเป็นคนที่เจ็บตัวที่สุดเช่นเดียวกัน มันเป็นเกมของเงินที่พอไม่มีใครคุมได้ ความเลื่อมล้ำมันเกิดได้ แต่อย่างน้อยมันมีแฟร์เกม
5. รัฐจะมอง Bitcoin เป็นศัตรูไหม
– รัฐมองเป็นศัตรูแน่นอน เพราะบิตคอยน์ออกมาเพื่อต่อต้านรัฐ นอกจากประเทศที่รัฐอยู่เป็นเบี้ยล่างของรัฐอื่น เราถึงเห็นประเทศที่ตกเป็นเบี้ยล่างเข้ามาในบิตคอยน์
– บิตคอยน์เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีศูนย์กลาง ไม่มีใครยับยั้งได้ ถ้าเราเข้าใจหลักของเทคโนโลยีตรงนี้ และเข้าใจว่าเราก็ห้ามมันไม่ได้ รัฐจำเป็นที่จะต้องพิจารณาจุดยืนตรงนี้ว่าถ้าเกิดปรากฏการณ์แบบนี้จะทำยังไงต่อ แต่รัฐจะไม่คิดแบบนั้นแน่นอนเพราะรัฐจะคิดว่าสามารถห้ามได้
– ประเทศที่ยอมรับและพร้อมเติบโต จะทำให้ประเทศที่ไม่ยอมเปิดใจล้าหลัง แต่วันนี้อาจจะยังไม่ถึงเวลานั้น บิตคอย์อาจจะตายก็ได้ ตอนนี้ยังถือเร็วเกินไปที่จะบอก Satoshi บอกว่าบิตคอยน์ ถ้าไม่ประสบความสำเร็จและเป็นเงินของโลก ก็ตายเป็นศูนย์ มันยากมากที่จะอยู่ตรงกลาง เพราะปกติสกุลเงินมีผู้ชนะคนเดียวเสมอ ซึ่งรัฐไม่สามารถห้ามได้ แต่อาจจะทำได้แค่ถ่วงมันไว้
รายละเอียด
Date: 9 July 2021 (21:00-22:40)
Speaker: อ.ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ – Managing Director at ChalokeDotCom
Moderator: พี พนิต (วันนี้สรุป..มา)
#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #Bitcoin #บิตคอยน์ #Piriya #ChalokeDotcom #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา