ทำไมการอ่านหนังสือถึงสำคัญ อ่านยังไงให้จำแม่น

การอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือ คือ

1. การอ่านหนังสือคืออะไร

======================

– การอ่านหนังสือ คือ การรับสารประเภทนึง การรับสารมีทั้งการอ่าน การดู และการฟัง มันคือตัวเลือกที่แต่ละคนจะเลือกที่อยากได้และทำแล้วมีความสุข

– ชอบมีค่านิยมว่าต้องอ่านหนังสือถึงจะฉลาด แต่จริงๆ แล้วถ้าเราไม่ชอบอ่านหนังสือ ก็ไม่ต้องอ่านก็ได้ มีวิธีรับสารโดยวิธีอื่นอีกมากมาย เช่น การฟัง Clubhouse ดู Youtube การอ่านก็เป็นแค่ช่องทางนึงในการรับสาร แล้วสารอะไรที่เรารับเข้ามาก็จะเป็นเรื่องถัดไปว่ามันเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

ความสำคัญ การอ่านหนังสือ

2. การอ่านหนังสือยังสำคัญอยู่ไหม

======================

– คิดว่าสำคัญ เพราะมันทำให้เราได้รับความรู้ในแบบที่กว้างขึ้น หนังสือหลายๆ ประเภทมันบรรจุความรู้ เนื้อหา เรื่องราวหลายๆ อย่างในประวัติศาสตร์ การอ่านจะเหมือนทำให้เราได้ใช้เวลากับมัน ได้ใช้เวลาคิดตกตะกอนออกมาเป็นอะไรบางอย่างในหัวของเรา ซึ่งการรับสารแบบดูหรือฟัง บางทีมันค่อนข้างเร็วและได้ผลรับที่ไม่เหมือนกัน

– หนังสือที่เป็นเล่มๆ คือการส่งต่อความรู้ ส่งต่อภูมิปัญญาที่มนุษย์เราคิดค้นอะไรบางอย่างขึ้นมาแล้วส่งต่อให้รุ่นต่อไป เป็นวิธีการส่งผ่านความรู้วิธีนึง

– ข้อความในอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันค่อนข้างสั้นลงเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาที่ตีความมาแล้ว โดยส่วนตัวเราชอบอ่านหนังสือที่ได้เนื้อหาแบบเต็มๆ มากกว่า

– ถ้าให้เลือกวิธีรับสาร สำหรับเรารู้สึกว่าการอ่านมันเร็วที่สุด การอ่านจะใช้เวลาน้อย ถ้าเทียบกับการฟังหรือดู

เทคนิคอ่านหนังสือได้เยอะ

3. เทคนิคการอ่านหนังสือได้เยอะ

======================

– ให้เลือกเล่มที่เราอยากอ่านจริงๆ ถ้าเลือกมาเพราะเขาว่าดีหรือคนแนะนำมา แพสชั่นหรือพลังงานในการอ่านมันจะไม่เท่ากัน จึงสำคัญมากที่จะอ่านสิ่งที่เราอยากรู้

– เรามีทำข้อตกลงกับตัวเองไว้ด้วยว่าอ่านแล้วต้องทำย่อ เลยต้องอ่านจบทุกเล่ม แล้วก็จะมีการ tracking เพราะปีนี้เพิ่งทำ Planner จดว่าแต่ละเดือนเราอ่านวันไหนบ้าง อ่านเช้า อ่านเย็น เล่มไหนใช้เวลาอ่านกี่วัน ยิ่งเห็นเราก็จะยิ่งรู้ตัว เช่น ช่วงนี้รู้สึกว่าอ่านช้า เราก็อยากจะสปีดให้มันเร็วขึ้น เพราะยิ่งเห็นผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันออกมา ก็จะเหมือนเป็นการให้รางวัลตัวเอง มันก็จะมีแรงที่จะอ่านต่อไป

การสรุปหนังสือ

4. จุดเริ่มต้นของการทำสรุปหนังสือ

======================

– ตอนที่เริ่มทำสรุปครั้งแรก เพราะว่าอ่านแล้วรู้สึกว่ามันดีมาก แต่เดี๋ยวก็ลืม รู้สึกว่าถ้าเราไม่ทำสรุปไว้เดี๋ยวต้องลืมแน่ๆ เลย ตอนแรกตั้งใจจะทำไว้อ่านเอง แต่ไหนๆ ก็ทำแล้วก็เลยลองแชร์ใน Facebook ตัวเองด้วย ช่วงแรกๆ แชร์ไปก็ไม่ได้มีคน engage อะไรเยอะ เพราะมันยาวมาก แต่เราไม่ได้ซีเรียส เพราะเรารู้สึกว่าเราก็ทำของเราอยู่แล้ว แต่พอทำไปเรื่อยๆ แล้วมีพี่คนนึงเอาสรุปเล่ม Thinking, Fast and Slow ไปโพสต์ในกรุ๊ป Facebook แล้วรูปนั้นมันก็ได้เป็นพันแชร์เลย เราก็เลยลองมาทำเป็นเพจดู

– ที่เราทำได้อย่างต่อเนื่องเพราะทำแล้วรู้สึกสนุก ทำอะไรก็คือต้องทำแล้วสนุก แต่ถ้าเราอ่านหนังสือแล้วไม่ได้รู้สึกสนุก ก็ไม่ต้องไปพยายามตามหาคำตอบว่าทำยังไงถึงจะอ่านหนังสือได้เยอะๆ ทั้งๆ ที่ผ่านมาทั้งชีวิตไม่เคยอ่านหนังสือสนุกเลย อาจจะไม่ต้องอ่านก็ได้ มันก็มีวิธีรับสารอื่นๆ วิธีอื่นเหมือนกัน ถ้าจะอ่านก็ต้องเริ่มจากเล่มที่สนุกแน่นอนไว้ก่อนเลย

เทคนิคการอ่านแล้วจำแม่น

5. เทคนิคที่ทำให้อ่านแล้วจำหรือนำไปใช้ได้

======================

– เทคนิคของตัวเองคือ อ่านแล้วต้องเขียนลงไป เขียนในกระดาษ ไดอารี่หรืออะไรก็ได้ว่าฉันจะทำอันนี้ แล้วพอเราเขียนมันลงไปด้วยมือแล้วเห็นด้วยตัวเอง มันคล้ายๆ กับการทำพันธสัญญากับตัวเอง แล้วหลังจากนั้นเราก็จะตั้งใจทำมันจนได้ แต่ถ้าคิดเฉยๆ ว่าเราจะทำ สุดท้ายแล้วมันจะลืม แต่ถ้าเขียนออกมาไว้อยู่ในที่ๆ เราเห็นได้บ่อยๆ ทุกวัน อะไรก็ได้เช่น หน้าจอมือถือ มันจะทำให้เรารู้สึกว่าจำได้และเดี๋ยวทำ

– เมื่อก่อนเราก็ใช้วิธีการพิมพ์ จนเราซื้อ planner มา มันก็เหมือนบังคับให้เราเขียนทุกต้นสัปดาห์ ว่าสัปดาห์นี้เราจะทำอะไรบ้าง มันก็เลยเป็นเหมือนท่าบังคับว่าทุกสัปดาห์เราจะทำอะไรบ้าง มันก็เลยได้ทำต่อไปเรื่อยๆ เป็นรอบของมัน อย่างเดือนนี้เราก็จะเห็นเลยว่าเราเหนื่อย ทำงานเยอะมาก แล้วไม่ค่อยได้เขียน ไม่ค่อยได้แพลน ชีวิตก็จะเละๆ เทะๆ แบบที่ไม่ได้แพลนเลย พอเขียนแล้วมันเหมือนแปะสัญญาไว้แล้วว่าเราต้องทำ

แนะนำหนังสือน่าอ่าน

6. แนะนำหนังสือที่ชอบที่สุด 5 เล่ม

======================

—————————————

*1. Outliers – Malcom Gladwell

—————————————
– เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าคนที่ประสบความสำเร็จ จริงๆ แล้วมันมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่ว่าเขาเก่งหรือโชคดี แต่มันเป็นสถิติบางอย่าง เช่น นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งที่ประสบความสำเร็จ จะต้องเกิดในช่วงนึงของปีเท่านั้น เพราะจะเป็นช่วงที่จะได้เข้าโรงเรียนก่อน ได้อยู่ฤดูหนาวพอดี ประมาณนั้น

– วิธีเขียนของ Malcom จะเหมือนหนัง จะเปิดเรื่องนึงมาเหมือนเป็นหัวข้อ แล้วก็ยังไม่เฉลย จะไปเล่าเรื่องที่หนึ่งสองสามสี่ แล้วค่อยวนกลับมาว่าทุกเรื่องมันเป็นพล็อตเดียวกัน ซึ่งพล็อตนั้นคือสิ่งที่เขาตั้งใจจะแสดงให้เป็นแก่นของเล่มให้เห็นว่าอันนี้อาจจะเป็น thoery ก็ได้ เพราะมันเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็น pattern อะไรแบบนี้

—————————————

*2. Think Again – Adam Grant

—————————————
– เป็นหนังสือจิตวิทยาที่ค่อนข้างเป็นยุคใหม่แล้ว ถ้าเป็นหนังสือยุคก่อนหน้านี้จะเริ่มมาตั้งแต่ Thinking, Fast and Slow – Daniel Kahneman ซึ่งเหมือนเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งจะเกี่ยวกับ system 1 system 2 แล้วหนังสือเล่มอื่นๆ ก็แตกออกมาจาก Thinking, Fast and Slow

– ตอนอ่าน Thinking, Fast and Slow เราจะเห็นทุกอย่างเป็น system 1 system 2 ที่ตีกรอบเอาไว้แล้ว แต่พอมาอ่าน Think Again จะเป็นเหมือนการแหก system 1 system 2 ซึ่งน่าสนใจและก็อ่านง่ายด้วย

—————————————

*3. The Power of Habit – Charles Duhigg

—————————————
– ส่วนตัวเราชอบเล่มนี้มากกว่า Atomic Habits หนังสือ Atomic Habits จะค่อนข้างเป็น pratical มี thoery มา และมีขั้นตอนสเต็ปให้ทำตาม แต่ The Power of Habit เหมือนสอน theory เลย พอเราเข้าใจ theory อย่างถ่องแท้ เราก็เลยไม่ต้องจำมันอีกเลย เพราะเราเข้าใจมันแล้ว

– ถ้าเทียบกับการเรียนเลข Atomic Habits จะเหมือนการให้สูตรคณิตศาสตร์มา แต่จริงๆ ทุกสูตรมันมีรากฐานมาจากไม่กี่สูตร ตัว The Power of Habit เหมือนทำให้เราเข้าใจว่ามันเริ่มต้นตรงนี้ แล้วมันค่อยแตกต่อไปเป็นอย่างอื่นได้ยังไง โดยธรรมชาติของเราชอบอ่าน theory ก็จะถูกจริตกับอันนี้ แต่ถ้าเป็นคนที่ชอบแบบเร็วๆ pratical เป็น guideline ทำตามได้ง่าย Atomic Habits ก็จะเหมาะกว่า อยู่ที่ว่าเราชอบและเหมาะกับแบบไหน

– คนเขียนเล่มนี้เป็นนักข่าว ทำให้เล่าเรื่องสนุก อ่านแล้วเป็น story telling ไม่ได้เป็น theory แบบ text book

—————————————

*4. Guns, Germs, and Steel – Jared Diamond

—————————————
– ถ้าใครเคยอ่านหนังสือ Sapiens มันจะเล่าว่ามนุษย์จากยุคหินรอดมาได้ยังไงจนถึงยุคปัจจุบัน ไปฆ่าใคร อพยพไปไหน แล้วทำไมถึงมาอยู่ในจุดที่สร้างอารยธรรมได้ ซึ่งแก่นหลักคือมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า “เรื่องเล่า” มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์เดียวที่สามารถสร้างเรื่องเล่า และเชื่อเรื่องเล่าหรือเรื่องโกหกนั้นได้ แต่เผ่าพันธุ์อื่นไม่เชื่อในสิ่งที่ไม่มีตัวตน ต้องเห็นประจักษ์ด้วยตา มนุษย์สามารถสร้างสิ่งที่ไม่มีตัวตน จากความเชื่อ เราสร้างสิ่งที่ไม่มีอะไรเลยให้ยิ่งใหญ่ เป็น organization ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เช่น ศาสนา 3 ศาสนาหลัก เป็นสิ่งที่เผ่าพันธุ์อื่นทำไม่ได้ ศาสนา การเงิน การปกครอง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

– Guns, Germs, and Steel เหมือนเป็นภาคต่อของ Sapiens (ถึงแม้แต่ว่าภาคต่อที่แท้จริงจะเป็น Homo Deus ก็ตาม) เล่มนี้จะเป็นมนุษย์ที่เป็นมนุษย์เรียบร้อยแล้ว แต่เขาจะหาหลักฐาน มาหาคำตอบว่าทำไมเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด ถึงเป็นคนยุโรปผิวขาว ทั้งๆ ที่มนุษย์ยุคแรกเกิดที่แอฟริกันเป็นคนผิวดำ แล้วก็มนุษย์ที่ออกจากแอฟริกันกระจายไปทั่วโลกก่อน แต่ว่าทำไมสุดท้ายถึงกลายเป็นคนขาวที่ครองโลก อยู่จากยุโรปแล้วก็ไปอเมริกา ไปออสเตรเลีย กลายเป็นอังกฤษที่ล่าอาณานิคมได้ทั่วทั้งโลกก่อน ซึ่งคำตอบมันคือชื่อเรื่อง ซึ่งก็คือ ปืน (Guns) เชื้อโรค (Germs) เหล็กกล้า (Steel) แต่ว่ามันไม่ได้มีแค่นี้ ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้าเหมือนเป็น end result แต่ว่าสาเหตุมันมาจากภูมิอากาศจำเพาะของสถานที่ตรงนั้นที่ทำให้คนที่อยู่ตรงนั้นเหมือนถูกพระเจ้าดีดนิ้วมาแล้วว่าคนที่เกิดตรงนี้จะได้ครองโลก สนุกมาก รู้สึกว่าเหมือนพระเจ้าดีดนิ้วจริงๆ

—————————————

*5. 12 Rules for Life – Jordan Peterson

—————————————
– นักเขียนจะมีคนที่ไม่ชอบและต่อว่าเยอะเหมือนกัน เพราะเขาจะค่อนข้างจะมีความขวาจัด มีความทุนนิยม แต่เราก็ชอบหนังสือของเขามากอยู่ดี เล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกว่าเปลี่ยนชีวิตเราไปเลย 12 ข้อจะมาเป็นค่อนข้าง detail ซึ่งชื่อบทจะเป็นชื่อง่ายๆ เช่น ให้คบเพื่อนที่เป็นคนดี ให้ลูบหัวแมวที่เจอข้างทาง เป็นเหมือนไบเบิ้ลมากๆ แต่เนื้อหาข้างในจะสามารถตีความได้หลายชั้น ถ้าตีความแค่ชั้นแรกแล้วจบไป มันก็จะได้ความหมายแค่ชั้นแรกในเชิง execution ถ้าตีความชั้นกลางก็จะได้ความหมายในเชิง theory ถ้าตีความชั้นลึกที่สุดก็จะกลายเป็นปรัชญา

– พออ่านไปเรื่อยๆ จนจบ เล่มนี้ทำให้เรามองศาสนาไม่เหมือนเดิม เมื่อก่อนเราเป็นคนไม่มีศาสนา ไม่นับถือ ไม่ได้สนใจ แต่พออ่านเล่มนี้มีหลายบทมากที่อิงในไบเบิ้ลมา นักเขียนเป็นคนที่ค่อนข้างเคร่งศาสนาในระดับนึง พอเราอ่านเล่มนี้จบทำให้รู้สึกว่าศาสนามันเจ๋งมาก เรามองมันเป็น history information อีกรูปแบบนึง ทำให้ค้นพบว่าจริงๆ แล้วศาสนาคริสต์กับศาสนาพุทธ มันทับซ้อนกันมากๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เราไม่เคยคิดว่ามันเหมือนกันเลย จนเรามาอ่านเล่มนี้แล้วรู้สึกว่ามันเหมือนกันนี่หน่า แล้วก็ค่อนข้างเหมือนวิทยาศาสตร์มากๆ ด้วย

– แกนกลางของเล่มนี้อันแรกเลยคือ ต้องเข้าใจก่อนว่าโลกนี้มันมีขาวกับดำ มีสว่างกับมืด ทั้งสองอย่างไม่ได้แปลว่าถูกหรือผิด แต่มันเป็นธรรมชาติที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเหมือนหยินกับหยาง ทุกอย่างมีสองด้านตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่าคนเราจะทำดีบ้างก็ได้ ชั่วบ้างก็ได้ แต่ในพฤติกรรมที่ดีมันมองให้เป็นชั่วก็ได้ พฤติกรรมที่ชั่วมองให้เป็นดีก็ได้ อยู่ที่คอนเทนต์และการตีความ อันนี้คือใจความแรก ทุกอย่างในโลกนี้มีดำและขาวพร้อมกัน

– ใจความที่สองคือ hierarchy เป็นสิ่งที่ทำให้หลายๆ คนเกลียดนักเขียนคนนี้ เพราะเขาบอกว่าโลกใบนี้่มันเป็นชนชั้นโดยธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดมาแล้วก็อยู่กันเป็นชนชั้น โดยธรรมชาติเราจะรู้ตัวเองว่าโลกแบ่งเป็นชนชั้นและรู้ว่าเราอยู่ตรงไหนของชนชั้น แล้วเราก็อยากจะถีบตัวเองขึ้นไปในชนชั้นที่สูงกว่าเสมอ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติ การกระทำที่ฝืนสิ่งนี้คือการฝืนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น equality ที่เราพยายามทำอยู่ ความเท่าเทียม หญิงชายเท่ากัน เป็นแค่เรื่องที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา มันไม่จริง ถ้าเราเลือกที่จะมองว่ามันไม่จริง ทุกคนเท่ากัน ไม่มีชนชั้น เราจะไม่เห็นว่าเป็นปัญหา แต่ถ้าเรามองว่าความจริงมันเป็นแบบนี้แหละ เราก็จะมองเห็นว่าตรงนั้นมันคือปัญหาที่เราต้องดีลกับมัน แต่ไม่ได้แปลว่ามันถูกหรือผิด อย่างที่เขาบอกว่ามันมีทั้งขาวและดำพร้อมๆ กัน

– ใจความที่สามคือ ให้ปรับการรับรู้ของตัวเองให้เป็น fact ต้องไม่มองโลกในแง่ดีหรือแง่ร้าย แค่ต้องเห็นมันแบบที่มันเกิดขึ้น ซึ่งก็ต้องเห็นทั้งด้านสว่างและด้านมืดพร้อมๆ กัน บางเรื่องอาจจะดีแต่ว่าต้องมองให้เห็นว่าจริงๆ แล้วมันอาจจะดูไม่ดีในสายตาของคนที่จะมองว่ามันไม่ดีก็ได้เหมือนกัน มันจะอธิบายได้ว่าบางทีอยู่ดีๆ ก็มีคนไม่ชอบเรา แล้วเราก็รู้สึกว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แต่จริงๆ มันมีมุมที่ถ้ามองในเลนส์ของเขาก็ถูกแล้วที่เขาจะเกลียดเรา หรือจะมีคนที่แบบเราเกลียดมาก ทั้งๆ ที่มีคนรักเต็มไปหมด เพราะว่าในเลนส์ของเรากับคนอื่นมันไม่เหมือนกัน ซึ่งสิ่งที่นักเขียนบอกเป็นข้อสุดท้ายคือเราต้องมองมันตามความเป็นจริง ว่ามันมีทั้งสองด้าน

– อ่านแล้วเหมือนเบิกเนตรเพราะเขาไม่ได้พูดสามข้อนี้อย่างชัดเจน แต่เหมือนไล่ไปเรื่อยๆ ทีละบทเหมือนอ่านไบเบิ้ล แต่ว่าทุกบทจะมีไส้ที่ร้อยเรียงกันอยู่ ถ้าเราอ่านบทที่สองแล้วกลับไปดูบทที่หนึ่ง เราก็จะเข้าใจว่ามันเกี่ยวกันตรงไหน เหมือนให้เราเก็บจนครบ 12 ข้อแล้วมันจะออกมาเป็นใจความสามข้อนี้ ค่อนข้างเป็นปรัชญาจริงๆ ที่เป็น timeless ใช้ได้ข้ามชั่วกาลเวลา

– การตกผลึกแต่ละชั้นมันเลยทำให้เล่มนี้สามารถอ่านได้หลายๆ รอบ อ่านแต่ละรอบน่าจะไม่เหมือนกัน มันจะมีบทอย่างที่ว่าผู้ชายผู้หญิงไม่เท่าเทียมกัน ผู้ชายต้องเกิดมาเป็นแบบนี้ เป็น leader แต่ในการตีความของเราหลังจากที่อ่านเล่มนี้ คำว่า male กับ female ในบริบทที่เราเห็น มันไม่ใช่เพศสภาพ มันเหมือนเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเรา และในตัวเราก็จะมีทั้งสองเพศ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ด้านไหนทำอะไร พอตีความออกมาเป็นแบบนี้ก็เลยรู้สึกว่ามันก็จริง

เริ่นต้นอ่านหนังสือ

7. คำแนะนำสำหรับการเริ่มอ่านหนังสือ

======================

– หนังสือมีหลายระดับ ความยากง่ายมันไม่เท่ากัน อย่างหนังสือประวัติศาสตร์ก็มีตั้งแต่เล่มง่ายๆ จนถึงเล่มยากๆ ถ้ามันเป็นเรื่องที่เราไม่คุ้นเคย ไม่มีความรู้มาก่อน แนะนำว่าให้เริ่มจากอันที่ง่ายก่อน แล้วเราจะอ่านมันจบได้ ง่ายสุดคือการ์ตูน ตอนเด็กๆ เราโตมากับหนังสือประวัตินักวิทยาศาสตร์ คนดังของโลกที่เป็นการ์ตูน เริ่มจากอันนั้นก่อนง่ายสุด พอจบแล้วก็เริ่มอ่านหนังสือที่ย่อยมาแล้ว ไม่หนามาก ให้พอมี background หรือจะไปฟังคลิปก็ได้ แล้วค่อยไปอ่านเล่มที่หนาขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วมันจะเริ่มสนุก

– ถ้ามันพอรู้อยู่แล้วเราจะเริ่มเห็นในสิ่งที่เราไม่รู้ สมมุติอ่านหนังสือเล่มนี้ ถ้าเราไม่มีเบสิคความรู้มาก่อนเลย เราก็จะเห็นแต่เบสิคในเล่มนี้ แต่พอเรามีความรู้เบสิคแล้วเราจะเห็นสิ่งที่มันซ่อนอยู่ที่มันมากกว่าเบสิคตรงนั้น ที่มันเป็น personal opinion เป็น context หรืออะไรที่คนเขียนตั้งใจจะแทรกเอาไว้

8. ฝากส่งท้ายเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ

======================

– จริงๆ ประเทศไทยเรื่องการอ่านหนังสือก็ดูใหญ่โต งานหนังสือคนเยอะ ไม่ว่าจะซื้อไปอ่านหรือว่าซื้อไปดองก็แล้วแต่ แต่รู้สึกว่ามันยังทำให้วงการสิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่มยังไปต่อได้ ถ้ามันขาด demand ก็ไม่มี supply จริงๆ แล้วคนไทยมองหนังสือเป็น positive ก็ถือว่าเป็นก้าวที่ดีอยู่แล้ว อยู่ที่เราที่จะเป็นคนกำหนดว่าเราอยากจะอ่านอะไร อ่านเพื่ออะไร แล้วอยากจะอ่านไปทำไม เวลามีคนแนะนำหนังสืออะไรมาเราก็จดๆ เก็บไว้ แต่สุดท้ายอยากจะอ่านหรือไม่อ่านก็อยู่ที่เรา อ่านเสร็จแล้วก็ลอง reflect ดูว่าอ่านเล่มนี้แล้วได้อะไร ชอบไม่ชอบอะไร น่าจะดีกับตัวเองมากขึ้น

– ขอฝากเพจ อ่าน-ให้ เป็นเพจที่สรุปเกี่ยวกับหนังสือ ถ้าไม่เคยอ่านหนังสือเลย ลองอ่านสรุปย่อสักเล่มนึง ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการอ่านที่ดี 

Why It Matters? ทำไม…ถึงสำคัญ “การอ่านหนังสือ” คืออะไร ยังสำคัญอยู่ไหม เทคนิคการอ่านให้ได้เยอะ/การนำไปใช้ แนะนำ 5 หนังสือที่ชอบที่สุด คำแนะนำสำหรับการเริ่มอ่านหนังสือ

พูดคุยกับคุณอัพ ทศศาสตร์ ผู้อ่านและทำสรุปหนังสือมากกว่า 30 เล่มต่อปี เจ้าของเพจ อ่าน-ให้ | ดำเนินรายการโดย พี พนิต เจ้าของเพจ “วันนี้สรุป..มา”