Music Composer คือใคร? ทำไมถึงสำคัญ?

Music composer

1. Music Composer คืออะไร

– Music Composer คือคนที่ประพันธ์หรือสร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มาจากคำว่า compose ส่วนใหญ่คำว่า composer จะถูกเอามาใช้กับคนแต่งเพลง

– ถ้าสาย pop song บางทีจะมีคำที่เรียกว่า producer มีความต่างคือ มันจะกว้างกว่า ต้องมีการคุมอัดร้อง คุมคนแต่ง (หรืออาจจะแต่งเอง)

2. ประเภทของ Music Composer

– สาย Classic (ดนตรีคลาสสิค)

ทำดนตรีคลาสสิค จะมีกฎเกณฑ์ในการประพันธ์

– สาย Contemporary (ดนตรีร่วมสมัย)

เป็นงานส่วนตัว มีทั้งฟังยากและง่าย เป็นดนตรีที่ทำเพื่อแสดงงาน เป็นศิลปะ เพื่อ express idea ไม่มีใครมาควบคุม

– สาย Commercial (ดนตรีเพื่อการค้า)

งานโฆษณา ส่วนใหญ่จะต้องทำตามลูกค้าสั่ง อิสระในการครีเอทจะน้อย คนแต่งเพลงจะเรียกว่า song writer ซึ่งก็แยกออกเป็นคนแต่งเพลงและแต่งเนื้อ

– สาย Film Score (ดนตรีประกอบภาพยนตร์)

จะเป็นสายที่อยู่ตรงกลางอยู่ระหว่าง art กับ commercial คือเป็นไอเดียตัวเองและถูกควบคุมด้วยภาพยนตร์ด้วย ท่อนเศร้าก็ต้องแต่งให้เศร้า แต่สไตล์ดนตรีบางทีก็เป็น classic หรือบางทีก็เป็น experimental ได้ทดลองบางอย่างที่ไม่ได้อยู่ในเพลง pop เช่น เอากีตาร์มา scatch หนักๆ มันส์ๆ เสียงคีย์บอร์ดแช่แบบในเพลงพวกหนังผี

3. ทำไม Music Composer ถึงสำคัญ

– ถ้าพูดในส่วนของภาพยนตร์ มันสำคัญ แต่อาจจะไม่ได้ 100% ประมาณ 90% ของภาพยนตร์จะมีดนตรี อีก 10% อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญ เลยไม่ได้มีการใส่ดนตรีเข้าไป อาจจะเปรียบเทียบได้กับหนังที่ถ่ายภาพสวยกับหนังที่ภาพไม่สวย ที่ถ่ายภาพสวยก็อาจจะสำคัญ แต่บางเรื่องอาจจะถ่ายภาพด้วยกล้องมือถือก็ได้ ก็จะมีหนังที่ไม่ได้จำเป็นต้องถ่ายภาพสวย แต่ก็ดี

– ภาพยนตร์ส่วนใหญ่เกินครึ่งก็ยังให้ความสำคัญกับดนตรี เหมือนในสายอื่นๆ ในการทำหนัง ถ่ายภาพ ทำเสียง พวกสายงานย่อยๆ คอสตูม แต่งหน้า ก็สำคัญหมด แต่บางครั้งก็ยังสามารถตัดออกได้

– ดนตรีก็สำคัญ ช่วยบิ้วอารมณ์ ถ้าเราทำให้คนร้องไห้ได้ก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว หนังที่ไม่มีดนตรีประกอบก็อาจจะดูน่าเบื่อขึ้น

– พอเป็นงานศิลปะมันไม่มีอะไรที่ถูกต้อง 100% อาจจะเป็นส่วนใหญ่ส่วนน้อย

– หลายๆ เรื่องก็อาจจะดีไซน์ให้ไม่มีเสียง จะตั้งใจทำหนังให้ไม่มีดนตรีไปเลย

– ดนตรีสาย classic, contemporary เหมือนเป็นศิลปะ คนฟังดนตรีเพื่อเยีวยาจิตใจ ก็ไม่ได้สำคัญแบบปัจจัยสี่ แต่ก็จะมีคนที่ชื่นชมสิ่งพวกนี้อยู่ อย่างขุนนางสมัยก่อน ยุค Mozart ชอบฟังดนตรีคลาสสิค ก็จะจ่ายเงินให้ Mozart แต่งเพลง สมัยนี้ก็จะมีคนจ่ายเงินให้แต่งเพลง เป็นศิลปะอย่างนึง สิ่งที่เยียวยาจิตใจ

– ดนตรีสาย film score มีคนจ่ายเงินให้ทำ บางครั้งก็เป็นสิ่งที่เยียวยาได้เหมือนกัน ก็จะมีบางคนที่ดูหนังจบแล้ว ชอบมาฟังเพลงแยก มีสตอรี่ มีอะไรชัดเจนดูหนังแล้วอิน ก็มาฟังเพลงต่อ

4. ปกติเพลงที่ทำให้ภาพยนตร์จะมีการปล่อยออกมาก่อนไหม

– แล้วแต่เรื่อง ส่วนใหญ่จะปล่อยช่วงใกล้ๆ หนังเข้าโรง หลายๆ คนรอฟัง Hans Zimmer ทำเพลงทีคนรอฟังกันทั้งโลก ซึ่งเพลงของเขามักจะปล่อยประมาณช่วงที่หนังเข้าโรงไป 1-2 สัปดาห์

5. Score กับ Soundtrack แตกต่างกันยังไง

– Soundtrack เหมือนเป็นเซ็ตใหญ่ คือเพลงทั้งหมดที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ ตั้งแต่เพลงที่มีเนื้อร้องที่แต่งขึ้นมาใหม่เพื่อประกอบภาพยนตร์ หรืออาจจะไม่ได้เป็นเพลงที่แต่งใหม่ แต่ดึงมาประกอบภาพยนตร์ รวมถึง film score ด้วย

– Film score คือดนตรีที่แต่งสำหรับภาพยนตร์ แต่งเพื่อภาพและมักจะไม่มีเนื้อร้อง เป็นเพลงบรรเลง เพลงประกอบหนัง เป็นเซ็ตย่อยของ soundtrack อีกที

6. คุณสมบัติของการเป็น Film Score Composer

– ต้องมีใจรัก และต้องขยัน พรสวรรค์เป็นส่วนนึง แต่สามารถฝึกฝนกันได้ ช่วงแรกๆ learning curve จะสูง ต้องรู้เรื่องหลายอย่าง ต้องดูหนังและฟังเพลงเยอะ

– ถ้าจะมาทำสาย film score ต้องทำดนตรีได้หลายๆ แนว หนังบางเรื่องเป็น action ก็ต้องทำดนตรีมันๆ บางเรื่องอาจจะเปียโนคลอๆ เศร้าๆ ดราม่า บางเรื่องอาจจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไปเลย ถ้าเราทำไม่ได้กว้างมันจะจำกัดความสามารถในการทำงานของเราให้แคบลง ถ้าทำได้ไม่เยอะก็จะรับประเภทงานได้น้อยลง ค่อนข้างจะต้องเป็นเป็ดประมาณนึงในสายดนตรี คือจะไม่ได้เจาะไปแนวใดแนวหนึ่ง แต่ต้องทำให้ได้หลายๆ แนว

– อย่างในภาพยนตร์เรื่องเดียวบางทีก็จะมีดนตรีหลากหลายอารมณ์ด้วย อย่างเรื่อง Mother Gamer ที่เราทำดนตรีหลากหลายแนวมาก ทั้งออเคสตร้า อิเล็กทรอนิกส์มันๆ ตื๊ดๆ เพลงเกม มีหลายแนว อย่างเรื่องนี้เราก็จะแบ่งกันทำกับเพื่อน เพราะงานค่อนข้างรีบ

– แต่ทุกคนก็จะมี signature นอกเหนือจากการทำได้ทุกอย่าง ก็จะมีแนวที่ถนัด อย่าง John Williams ก็จะถนัดออสเคสตร้า ถึงแม้ว่าเคยจะทำผสมอิเล็กทรอนิกส์ แต่งานส่วนใหญ่ที่ได้รับก็จะเป็นแนวที่เขาถนัด อย่างเราถึงจะดูหลากหลาย แต่แนวที่สร้างชื่อจะเป็นแนวดราม่าหรือหนังอินดี้ มีความ emotional สูง

7. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นแต่งเพลง

– ต้องมีใจรัก ไม่งั้นมันอาจจะออกมาเห็นได้ชัดในผลงาน ถึงแรกๆ อาจจะไม่เก่ง แต่มันจะมีความพยายาม ต้องใช้ใจในช่วงแรกที่จะดันตัวเองขึ้นมา

– แนะนำว่าให้เรียนก็จะดีกว่า 80-90% ของคนสายนี้จะเรียนมา จะมีคนที่ไม่ได้เรียนทำได้ก็มี แต่จะเป็นพวกมีพรสวรรค์หรือบางทีก็ทำเพลงอยู่แล้ว ถ้าเรียนมันจะเหมือนเป็นทางลัด มีอาจารย์สอน ยกเว้นว่าเรียนด้วยตัวเองได้เก่งมาก แต่อย่างเราก็ถนัดเรียนกับอาจารย์ เหมือนช่วยเป็นที่ปรึกษาด้วย เร็วกว่านั่งศึกษาคลำเอง อาจจะไม่ต้องเป็นปริญญา ลงเป็นคอร์สก็ได้ จะช่วยเพิ่มไอเดีย ช่วยเพิ่มความสามารถในหัวได้ แต่ถ้าเป็นปริญญาก็จะ intensive แน่นและค่อนข้างยากกว่า

– อย่างผมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรังสิตและต่อใบเซอร์ที่ UCLA

– ถ้ารู้ดนตรีมาก่อนเรียนก็จะดีกว่า บางคนก็เพิ่งมาฝึกตอนมัธยมก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย เรียนเล่นเครื่องดนตรีมาก่อนก็จำเป็น แล้วเวลามาต่อยอดก็จะดีกว่า บางคนแค่เรียนเล่นเปียโนหรือกีตาร์ก็แต่งได้เลย อาจจะเป็นพรสวรรค์ สาย song writer หลายคนก็ไม่ได้จำเป็นต้องเรียนดนตรี แต่เขามีเครื่องดนตรีที่เล่นเป็นสักอย่าง ก็จะตีคอร์ด แต่งเพลงได้ แต่ถ้ามาเชิงลึก ที่ต้องมาแต่งดนตรีให้ออเคสตร้า ก็ต้องเรียนเพราะองค์ความรู้มันเยอะมากที่จำเป็นต้องรู้ แต่ถ้า song writer ก็อาจจะไม่จำเป็น

8. แนะนำที่เรียน แต่งเพลง

– ระดับมัธยมปลาย มีของมหิดลชื่อโปรแกรม Young Artist Music Program

– ส่วนทางระดับมหาวิทยาลัยจะมี
*1. มหาวิทยาลัยมหิดล: จะเน้นสไตล์ classic แต่ก็มี contemporary
*2. มหาวิทยาลัยรังสิต: เป็นแนว contemporary อาจารย์จะล้ำๆ ดนตรีสมัยใหม่
*3. มหาวิทยาลัยศิลปากร: เน้นดนตรีเพื่อสื่อ ไปทาง commercial
*4. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา: ดึงตัวคนเก่งๆไปเป็นอาจารย์เยอะ มีทั้งตรีและโท

– ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่เราไปสอนอยู่ จะเป็น digital media เอกด้าน sound จะเรียนรวมๆ ทั้งทำ sound effect และเพลง จะต่างจากพวกดนตรีคือ จะเรียนเหมือนนิเทศ แตะในส่วนของดนตรีไม่ได้ลึกมาก เหมือนเรียนเป็นเป็ด

– ถ้าจะบินไปเรียนต่อที่อเมริกา แถบ LA จะมี University of California, Los Angeles (UCLA), University of Southern California (USC), University of California, Berkeley ถ้าเป็นแถบ New York ก็จะเป็น New York University (NYU), Columbia College

– ถ้าคอร์สออนไลน์จะมีของ University of California, Berkeley

9. แชร์ประสบการณ์การหางานแต่งเพลง

– เรื่อง connection ก็สำคัญ เพราะถ้าจะทำก็ต้องมีคนจ้าง เราถึงจะอยู่รอดด้วยการทำดนตรีอย่างเดียว

– หนังเรื่องแรกที่ได้ทำดนตรีให้เป็นหนังสั้น ตอนเราอยู่ปีสอง เพราะเรารู้จักกับคนตัดที่เขาตัดสั้นอยู่เรื่องนึงให้ GDH แล้วเขาหา composer เลยมาจ้างเราราคาที่ไม่แพง

– เราใช้วิธีโปรโมทตัวเอง แต่งแล้วเอาไปลง steaming สมัยนั้นเป็น Bandcamp, Youtube จนมีคนมาฟังแล้วสนใจ จึงเป็นจุดเริ่มต้น

– ดนตรีของเราจะไม่เหมือนชาวบ้านเป็น ambient, drone, experimental เลยมีคนมาเห็น potential และคิดว่าเราน่าจะทำ film score ได้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น

– ใช้ social media ให้เป็นประโยชน์ แชร์งานตัวเองทำไปเรื่อยๆ เอาไปปล่อยออนไลน์สักพักถ้ามีคนสนใจเขาก็จะติดต่อเข้ามา

– พวกเรื่องสถาบันไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ มีผลคือความรู้กับผลงานมากกว่า ตอนที่เราจบรังสิตก็ยังไม่ได้ดังเรื่องดนตรี แรกๆ ก็ทำงานควบคู่กันไปกับการเรียน สร้างโปรไฟล์ สร้างประสบการณ์ในการทำงานไปเรื่อยๆ ยิ่งเริ่มเร็วก็จะยิ่งดี งานแรกๆ ที่เราทำแจกฟรี อาจจะลองแต่งงานที่ตัวเองพอใจ แล้วลองปล่อยดู

10. คำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำ film score

– ต้องรู้พื้นฐานทฤษฎีดนตรี การเขียน harmony
– ต้องฟัง ฟังแล้วจะมีเซนส์ของการแต่ง
– วิธีฝึกคือ ลองไปแกะเพลงหรืออ่าน score เพลงงานคนอื่นดู อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็น film ก็ได้ อาจจะไปอ่านดนตรีคลาสสิค เพลงป๊อบ แกะโน้ต แกะ harmony แกะทำนอง จะทำให้เริ่มเข้าใจว่าการเขียนเพลงทำกันยังไง หรือบางทีแกะโดยใช้หูก็ได้ จะทำให้เราพัฒนาต่อไปได้

11. ฝากส่งท้าย

– ถ้าใจรักอยากให้ลองมาทำ แต่ต้องใช้ความพยายามและฝึกฝนเยอะๆ
– สามารถติดตามผลงานของผมได้ที่เพจ Phil Chapavich Composer และเร็วๆ นี้ จะมีซีรีส์ลง Netflix ที่เราทำดนตรีประกอบ รอติดตามกันได้


รายละเอียด

Date: 11 Aug 2021 (21:00-22:25)

Speaker:
คุณฟิว ชัพวิชญ์
– นักทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ (มะลิลา, ดิว ไปด้วยกันนะ, AppWar, Mother Gamer, Hope Frozen, ปั๊มน้ำมัน, อนธการ)

Moderator:
พี พนิต
– เจ้าของเพจ วันนี้สรุป..มา


ClubhouseTH #ทำไมถึงสำคัญ #MusicComposer #นักแต่งเพลง #PhillWC #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา