เรื่องการเงินในบ้าน รวมถึงคนในบ้าน ทำไมถึงสำคัญ

Why It Matters EP20

สรุปสั้น

1. การเงินเรื่องบ้าน หมายถึง เรื่องการเงินของบ้าน ของที่อยู่ในบ้าน รวมถึงคนในบ้าน

2. แบ่งออกเป็น fixed cost (ค่าผ่อน/เช่าบ้าน, ค่าโทรศัพท์, subscription service) และ variable cost (ขึ้นลงตามแต่ละเดือน)

3. ถ้าจะเริ่มบริหารเรื่องเงิน ควรเริ่มตั้งแต่ฝั่งรายได้ (ไม่ใช่รายจ่าย)

4. เวลาเราได้เงินมาควรแบ่งเป็น 6 ส่วน ของที่จำเป็น (50-55%), ให้รางวัลตัวเอง (10%), การศึกษา/ พัฒนาตนเอง (10%), เพื่อการเกษียณ (10%), ลงทุน (10%), เพื่อสังคม จิตอาสา ทำบุญ (5-10%) ปรับได้มากน้อยแล้วแต่บุคคล

5. เราควรจะมีความสังเกตให้มากขึ้น เวลาซื้อของ จะช่วยให้เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้มากขึ้น

6. เรื่องบ้านนอกจากส่วนที่จะต้องเสียแล้ว ยังมีส่วนได้ ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การกิน การดื่ม เช่น กินกาแฟที่บ้าน ทำอาหารกินเอง หรืออย่างเรื่องสินทรัพย์ การเอาเครดิตที่มีอยู่ไปกู้ เพื่อเอาบ้านไปปล่อยให้คนเช่า

7. การทำประกันมีส่วนช่วยในการกู้ บางครั้งอาจจะช่วยลดดอกเบี้ยได้บางส่วนเล็กน้อย


1. การเงินเรื่องบ้าน คืออะไร

[ดร. โกศล]

– การเงินเรื่องบ้าน หมายถึง เรื่องการเงินของบ้าน ของที่อยู่ในบ้าน รวมถึงคนในบ้าน เป็นการเอาบ้านมาผูกกับเรื่องเงิน ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับทุกคน แต่ละคนในช่วงนึงของชีวิตต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ไม่มากก็น้อยเพื่อทำให้เราเองกับครอบครัว weathier, happier

2. ค่าใช้จ่ายรอบตัวที่เราควรศึกษา

[คุณซินดี้]

– ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าโทรศัพท์ ค่าของใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าเช่า เราจะแบ่งรายจ่ายเป็น fixed cost กับ variable cost

– Fixed Cost คือ อะไรที่เราต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าผ่อน/เช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ หรือ subscription service เช่น Netflix, Spotify

– Variable Cost สามารถแบ่งเงินได้เป็น 6 ไห หรือที่เรียกว่า 6 Jars

*1. ของที่จำเป็น (50-55%) – ต้องใช้ดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน

*2. ให้รางวัลตัวเอง (10%) – อะไรก็ได้ที่ให้ความสุขกับเรา ให้รางวัลกับตัวเอง เช่น ชอบเล่น Surfskate, ซื้อกระเป๋า, ฟังเพลง ดูหนัง

*3. การศึกษา/ พัฒนาตนเอง (10%)

*4. เพื่อการเกษียณ (10%)

*5. ลงทุน (10%) – ตามเป้าหมายของชีวิต

*6. เพื่อสังคม จิตอาสา ทำบุญ (5-10%)

– 6 Jars ของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เป็นแค่ทฤษฏี ในชีวิตของแต่ละคนอาจจะมีอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ต้องปรับว่าแบบไหนเหมาะกับเรา

– สิ่งนี้จะช่วยทำให้เรามีวินัย ว่าเราจะต้องแบ่งรายได้ที่ได้รับออกเป็นอะไรบ้าง

3. การเงินเรื่องบ้าน สำคัญอย่างไร

[ดร. โกศล]

– การเงินเรื่องบ้าน จะมีทั้งส่วนที่เสียและส่วนที่ได้

ส่วนที่เสียก็สามารถแบ่งออกเป็นได้อีกคือ

*1. ส่วนที่เสียแล้วได้ใช้ เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต

*2. ส่วนที่เสียแล้วไม่ได้ใช้ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ตามสถิติแล้วจะไม่ได้ใช้มากกว่าได้ใช้ ซึ่งบ่อยครั้งที่เราจะปล่อยมันหมดอายุ หรือบางครั้งก็หาไม่เจอแล้วซื้อมาซ้ำอีก พอเอาสิ่งนี้ไปประยุกต์กับเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องของการหมดอายุ อยากให้เราลองสังเกต และเริ่มมีวินัย ใช้กับการซื้ออาหาร นม ปลากระป๋อง / การซื้อลิปสติกซ้ำกัน

*3. ส่วนที่เสียแล้วไม่ค่อยได้นึกถึง
– เรื่องรถ ส่วนที่เสีย ค่าน้ำมัน ผ่อนรถ ซ่อมรถ เป็นส่วนที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่จะมีบางส่วนที่เราไม่ค่อยได้นึกถึง เช่น เปลี่ยนยาง เปลี่ยนแบต ที่บ้านเราก็มีของพวกนี้ แต่มันเกิดขึ้นปีนึงละครั้ง เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าฉีดปลวก ไส้กรอง ค่าล้างแอร์ เป็นข้อเสียที่เราควรจะคำนึงถึง ชอบมีคนบ่นว่าเดือนนี้เสียค่ายางอีกแล้ว แต่ควรจะเป็นเรื่องที่เราควรจะรู้แล้ว

– จริงๆ แล้วคนที่มีวินัยทางเดินการเงิน เขาจะคำนวณเลยว่า รถคันนึงค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่

[คุณซินดี้]

– ยกตัวอย่าง เช่น เด็กจบใหม่ ปกติจะซื้อรถก็จะคิดว่าต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่ แต่ก็จะมีส่วนที่เราลืมคิด มีค่าอื่นๆ ค่า maintenance ค่าดูแลรักษา ค่าประกันรถ ค่าเปลี่ยนยาง บางทีคิดอะไรอาจจะต้องล่วงหน้า ไปถึงค่าใช้จ่ายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตว่าจะต้องมีอะไรบ้าง

[ดร. โกศล]

– อันนี้อาจจะให้เริ่มเห็นว่ามันสำคัญและมันใกล้กับชีวิตพวกเรามากๆ

– ส่วนได้ เช่น การที่กินกาแฟที่บ้าน คือได้เงินวันละ 40 บาท ค่าใช้จ่ายพวกนี้สามารถทำให้หายไปเกินครึ่งได้

[คุณซินดี้]

– การลงทุนในของ เช่น ลงทุนในกระเป๋า มันเป็นสินทรัพย์เอาไปขายต่อได้ สินทรัพย์อยู่ในหลากหลายรูปแบบ คืออะไรก็ตามที่มีมูลค่า และแปลงเปลี่ยนเป็นเงินได้ สินทรัพย์หลักๆ ที่คนเราพูดถึงกัน คนก็จะนึกถึงทอง เครื่องประดับ ของใช้

– เวลาโรงเรียนใกล้เปิดเทอม คนจะเอาของพวกนี้ไปจำนำ เป็นอีกอย่างหนึ่งตัวบ้านเรา ก็ค่อนข้างเห็นชัด นับว่าเป็นสินทรัพย์ ถ้ายุคก่อนๆ ก็จะต้องทำงานเก็บเงินซื้อบ้าน ผ่อนบ้าน ต้องมีบ้านและที่ดิน

– บ้านอยู่มาสักพักนึงราคาขึ้น เอาไปทำอะไรต่อได้ ขาย จำนอง หรือทำไปเป็น Home for Cash คือเอาบ้านไปแลกเงิน

[ดร. โกศล]

– เดี๋ยวนี้สิ่งยั่วยุเยอะมาก ทำให้เรากลายเป็นหนี้เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย บ้านเราเป็นหนี้กันเยอะมากๆ หนี้บัตรเครดิต ตามสถิติ คนที่ผ่อนขั้นต่ำคือ 7 จาก 10 คน รถก็มี Car for Cash แต่จริงๆ แล้วรู้ไหมว่า ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดถ้าเทียบกับบัตรเครดิตแล้วต่างกันประมาณ 10% คือดอกเบี้ยที่เวลาเอาบ้านไปแลก หรือกู้เพื่อซื้อบ้าน ดอกเบี้ยมันต่ำกว่ามาก

– นักลงทุนอสังหา ที่เขาทำกันคือ บ้านอาจจะปล่อยเช่า หรือ ทำ Airbnb สมมุติเรามีเงินเดือนสัก 20,000-30,000 ถ้าเราไม่ต้องใช้ หรือแบ่งเงินได้จริงๆ ธนาคารเขาให้กู้บ้านหรือกู้คอนโดได้ ก็สามารถเอาเครดิตจากการที่เราเป็นพนักงานประจำไปกู้ได้ สมมุติเราต้องผ่อนเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้าเราเอาไปตรงนั้นไปปล่อยเช่าก็คือ เราไม่ต้องผ่อนเอง แปลว่าเราได้บ้านมาฟรีๆ ปล่อยไปเรื่อยๆ 10 ปี 20 ปี มันก็กลายเป็นของเรา (กรณีนี้อาจจะหมายถึงในช่วงเวลาปกติ) แสดงว่าเราเอาเครดิตของเราไปเอาบ้านออกมา ธนาคารเขาจ่ายเงินให้ บางกรณีค่าเช่าอาจจะกำไรด้วยซ้ำ เกิดการเงินเรื่องบ้านในมุมที่เราไม่ต้องเสียอะไรเลย เรามีบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ละ 1-2% ในแต่ละปี อันนี้คือการที่เราสามารถสร้างเงินจากบ้านได้

– จริงๆ ทำได้แม้กระทั่งสามารถไปขอกู้บ้านแล้วขอเงินส่วนต่างมาได้อีก เช่น ปกติคอนโดหลังละ 1.2 ล้าน มันก็จะมีโปรแบบว่าคิดที่ราคา 1.25 ล้าน แสดงว่าเรากู้ได้เต็ม 1.25 ล้าน เจ้าของโครงการเอาไป 1.2 ล้าน และ 50,000 เราได้เอามาใช้ ตรงนี้อาจจะเป็นเหมือนทางออก ในช่วงที่เราอยู่ในเศรษฐกิจแบบนี้

4. แนะนำการเริ่มต้นวางแผนการเงินเรื่องบ้าน

[ดร. โกศล]

– สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การช่างสังเกต” เช่น การดูวันหมดอายุเวลาซื้อของ การทำบัญชีถ้าทำแล้วไม่ได้สังเกตก็ไม่มีประโยชน์ สมุมติเราลองตั้งว่าเดือนนึงเราจะใช้ 30,000 บาท หรือวันละ 1,000 บาท วันนี้เราใช้ไป 800 แสดงว่าวันนี้เรา +200 วันต่อไปเราใช้ 1,500 สองวันรวมกันก็จะ -300 การที่เราทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ พอกลางทางเราก็จะเริ่มสังเกตแล้วว่า เห้ย เดือนนี้มันเริ่มไปไกลแล้ว ติดลบหลายพันแล้ว การวางแผนใช้เงินในครึ่งเดือนหลังของเรามันก็จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ

– หรือแม้กระทั่งการสังเกตแพทเทิร์นของบัญชี เหมือนการทำธุรกิจ เราจะเห็นว่าทำไมช่วงประมาณเดือนนี้ กลางเดือนมีค่าเน็ต ค่าไฟ ค่าน้ำ หรือเรื่องบัตรเครดิตที่วิ่งเข้ามา ถ้าเราสังเกต เราจะได้รู้ว่าเราใช้อะไรเยอะ เราใช้อะไรน้อย

– แล้วถ้าจะเริ่มจริงๆ ควรจะเริ่มที่ใครก่อนในบ้าน ระหว่างฝั่งรับหรือฝั่งจ่าย คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าฝั่งจ่าย แต่จริงๆ แล้วการบริหารรายจ่ายไม่มีจริง มันทำไม่ได้ เพราะว่าเราป็นมนุษย์ เรามีความอยาก แปลว่าการบริหารรายจ่ายเป็นการแกัปัญหาที่ปลายเหตุ และเป็นปลายเหตุที่แก้ไม่ได้

– วิธีที่ถูกคือต้องบริหารรายได้ เหมือนการทำธุรกิจ เราเป็นพนักงานเดือนได้เงินมา 50,000 บาท วิธีบริหารก็คือเช่น 6 Jars ที่แนะนำมา ต้องบริหารที่รายได้ สังเกตแล้วจะรู้ว่าเราควรไปเที่ยวไหม เริ่มตรงฝั่งรายได้ก่อนที่เป็นกระดุมเม็ดแรก

5. แชร์เพิ่มเติมจากคุณกุ๊กไก่

*1. การซื้อบ้านก่อนสมรส vs. หลังสมรส

– ถ้าซื้อบ้านก่อนสมรสจะเป็นสินส่วนตัวของเรา ถึงแม้จะไปผ่อนหมดหลังจากที่เราจดทะเบียนสมรสแล้ว บ้านนั้นก็ยังจะเป็นของเราฝ่ายเดียว แต่ถ้าเราซื้อหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ถ้าตอนที่หย่ากัน ก็ต้องแบ่งครึ่ง ถึงแม้ว่าเราจะเป็นคนผ่อนทั้งหมดคนเดียวก็ตาม แต่เราไม่ได้บันทึกลายลักษณ์อักษรไว้ เขาก็จะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นของใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

*2. ถ้าซื้อบ้านไว้ก่อนสมรส

– ควรจะทำสัญญาก่อนสมรส เขียนให้ชัดเจนเลยว่าไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องทรัพย์สินอะไรกัน

*3. การทำประกัน

– เวลาซื้อบ้านเราต้องทำประกันชีวิต cover ไว้ ถ้าเกิดเราทำประกันชีวิตไว้ ทางธนาคารเขาอาจจะลดดอกเบี้ยให้บางส่วนเล็กน้อยได้

*4. อยากให้ทุกคนทำพินัยกรรม

สมมุติอยู่ดีๆ เราเสียชีวิต แล้วมีเหตุจำเป็นต้องขายบ้าน อันนี้จะเรื่องใหญ่ เพราะถ้าลูกเรายังอายุไม่ถึง 20 ปีบริบรูณ์การจะขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อผู้เยาว์เป็นเจ้าของจะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ ซึ่งจะต้องเสียค่าทนายความ แล้วก็ยุ่งยากเสียเวลา ถ้าทำพินัยกรรมยกให้คู่สมรสไว้อย่างเดียวเลย ก็จะง่ายกว่าในการจัดการ

6. ฝากส่งท้าย

[ดร. โกศล]

– อยากให้มีวินัย อยากให้ทุกคนมีสักจุดหนึ่งไว้เริ่มต้นในบ้าน การทำบัญชีทำให้ได้สัก 3-4 เดือน เดี๋ยววินัยจะเกิด การดูแลฝั่งรายได้ทำ 6 jars ทำไปเรื่อยๆ จนเป็นวินัย แล้วเราจะเปลี่ยนชีวิตของเราให้ดีได้ขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่เคยเห็นใครที่ไม่มีวินัย แล้วสามารถประสบความสำเร็จทางด้านการเงิน โดยเฉพาะคนที่ยังต้องทำงานกันอยู่อย่างเต็มที่ ถ้ามีสิ่งนี้ก็จะสามารถทำให้เราดูแลการเงินได้ดีขึ้น

[คุณซินดี้]

– จริงๆ แล้วเรื่องการเงินอยู่ที่การเริ่ม แต่เริ่มอย่างเดียวก็ไม่พอ ต้องมีความต่อเนื่องด้วย ไม่ว่าเราจะทำเพื่อเก็บเงินหรือบริหารรายได้ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำคัญมากๆ หรืออีกวิธีคือการทำ budgeting คือการจดทุกวันว่าเราใช้เงินไปเท่าไหร่ อย่างน้อยๆ การที่ทำทุกวัน เราได้เห็นตัวเอง และได้เห็นว่าแต่ละวันมันเกิดอะไรขึ้น พอมีความต่อเนื่องแล้วมันจะเป็นวินัยเอง จะไม่ได้เป็นความรู้สึกที่ว่าจะต้องทำอีกต่อไป เหมือนกับการเก็บที่นอนหรือออกกำลังกาย ถ้าจะประสบความสำเร็จในเรื่องของการเงินได้ ต้องมีการตั้งเป้าหมาย เริ่มทำ มีความต่อเนื่อง มีวินัย


รายละเอียด

Date: 14 May 2021 (22.00-23.10)

Speaker:

– ดร.โกศล
นักลงทุนอสังหาฯ

– คุณซินดี้
CEO of FINSTREET

Moderator: พี P Panit (วันนี้สรุป..มา)


#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #การเงินเรื่องบ้าน #ดรโกศล #Cindy #FINSTREET #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา