การสื่อสารหมายถึงอะไร? ประเภทของการสื่อสารมีอะไรบ้าง?

Why It Matters EP19

สารบัญ

สรุปสั้น

1. การสื่อสารคือ กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ไปยังผู้รับสาร เพื่อเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้ผู้รับสาร เช่น ความคิด ความรู้สึก

2. การสื่อสารสำคัญ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นการบ่งบอกเอกลักษณ์ของตัวเรา เป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นบทบันทึกของกาลเวลาว่าช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง และเป็นเครื่องมือสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้

3. วิธีฝึกการสื่อสาร อย่างแรกคือต้องมองเห็นคุณค่าในตัวเองก่อน มีวัตถุประสงค์และ key message ที่ชัดเจนในการสื่อสาร หาจุดร่วมระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ใส่ใจคนที่เราสื่อสารด้วย รวมถึงใส่ใจรายละเอียดให้ลึกลงไปถึงผู้ฟังด้วยว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร

4. ข้อควรระวังในการสื่อสารคือ ระวังการโฟกัสแต่ตัวเอง ไม่ได้โฟกัสคนตรงหน้าที่เราจะสื่อสารด้วย


บทความเต็ม

1. การสื่อสารคืออะไร

การสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล (ข้อความ ภาพ เสียง สัมผัส กลิ่น) อาจไม่ได้มาเป็น body language อาจจะเป็นความรู้สึกก็ได้ ไปยังผู้รับสาร เพื่อเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้ผู้รับสาร เช่น เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความรู้สึกให้มีความกล้า ให้มีความหวัง ทุกอย่างที่ส่งออกไปจากตัวเราคือสาร เป็นชุดข้อมูลที่ส่งจากตัวเราไปยังผู้อื่น

2. ทำไมการสื่อสารถึงมีความสำคัญ

*1. บอกเอกลักษณ์ของตัวเรา

– เราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร เราเป็นคนแบบไหน เช่น การประกวดนางงามจักรวาล ทุกคนบนเวทีนั้นสวยหมด แต่มีรอบที่ให้พูดตอบคำถาม ซึ่งคำตอบที่นางงามแต่ละคนพูดออกมาสามารถบ่งบอกตัวตน บ่งบอกถึงความฉลาดในตัวได้ แต่ละคนมีจุดเด่นและเสน่ห์ที่ต่างกันออกไป

*2. การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต

– เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เช่น การสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ต้องใช้การสื่อสาร การทำงาน การแก้ไขปัญหา ก็ล้วนแต่ต้องใช้สื่อสารทั้งหมด

*3. เชื่อมโยงมนุษย์เข้าด้วยกัน

– ให้รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในสังคม เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างความเป็นหนึ่งเดียว

*4. เป็นบทบันทึกของกาลเวลา

– ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น เพลง ซึ่งแต่ละยุคก็มีเนื้อหาไม่เหมือนกัน ทำให้รู้ว่าในยุคนั้นคนมีความเชื่อแบบไหน คิดอะไรอยู่ เป็นเหมือนแคปซูลของกาลเวลา

*5. เป็นเครื่องมือสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้

– อยากให้โลกเป็นแบบไหนก็ใช้การสื่อสารผลักดัน เช่น speech ของผู้นำ ที่ทำให้คนฟังพร้อมจะออกไปต่อสู้ หรือช่วยกันขับเคลื่อนสังคม

3. ทุกคนควรฝึกการสื่อสารใช่หรือไม่

– ใช่ อย่าคิดว่าเราก็พูดอยู่ทุกวัน สื่อสารอยู่ทุกวันแล้วทำไมจะต้องฝึกอีก เพราะถ้าเราไม่ฝึก ไม่ใส่ใจก็จะสื่อสารออกไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จริงอยู่ที่การกระทำสำคัญกว่าคำพูด แต่ถ้าอยากทำงานให้ได้ดีก็ยิ่งต้องฝึกการสื่อสารให้ดีขึ้น ลองคิดดูว่า ในการพูดสุนทรพจน์ของผู้นำ ถ้ามีการเตรียมร่างสุนทรพจน์มาเป็นอย่างดี แต่ผู้นำพูดด้วยความไม่มั่นใจ คนฟังก็จะรู้สึกไม่มั่นใจตามไปด้วย

– เราไม่เคยรู้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ทำไมไม่ทำให้ทุกการสื่อสารทุกครั้งมีแต่ความรู้สึกดีๆ ดังนั้นจึงควรทำให้การสื่อสารทุกครั้งที่สื่อออกไปมีประโยชน์ มีแต่สิ่งดีๆ มีประโยชน์

– การสื่อสารดีๆ ไม่ได้หมายความว่าวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ตรงกันข้าม การสื่อสารวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งต้องพูด แต่ต้องเริ่มต้นที่เจตนาที่ดี การสื่อสารที่มีเจตนาดี แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่คนฟังจะรู้ว่าสิ่งที่เราพูด เราบอก มันเป็นประโยชน์ เช่น ให้ฟีดแบคหัวหน้า ทำให้เห็นว่าเรามีเจตนาดี อยากให้เขาปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ทำให้เขาเห็นว่าเรายังคงเลื่อมใสเขาอยู่

4. ฝึกการสื่อสารได้อย่างไรบ้าง

*1. มองเห็นคุณค่าในตัวเองก่อน

– เราต้องเชื่อว่าเราเก่งขึ้นได้ หลายคนมี mindset ว่าพูดแล้วใครจะฟัง เหมือนเป็นการเรียกร้องให้คนมาฟัง เป็นการมองตัวเองไม่มีคุณค่า ก็จะส่งสิ่งที่ไม่มีคุณค่าไปให้ผู้อื่น แต่ถ้าเรามี mindset ว่าอยากส่งต่อสิ่งดีๆ อยากเป็นผู้ให้ก็จะพูดถ่ายทอดสิ่งดีๆ ออกไป

*2. มีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารที่ชัดเจน

– อยากบอกอะไร key message ที่อยากสื่อสารคืออะไร อยากให้เขารู้สึกอย่างไร หลายคนมักให้ความสำคัญกับ “รู้เรื่อง” มากกว่า “รู้สึก” แต่ความจริงการสื่อสารต้องให้คนฟังรู้ทั้ง 2 อย่าง คือรู้เรื่องด้วย และรู้สึกด้วย เช่น เล่าเรื่องผีให้เพื่อนฟัง ก็ต้องให้เพื่อนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และรู้สึกกลัวตามไปด้วย mood & tone ในการเล่าก็จะเปลี่ยนไป

*3. หาจุดร่วมซึ่งกันและกัน

– พูดในสิ่งที่เราอยากพูด และสิ่งที่คนฟังอยากฟัง

*4. ทำให้คนที่สื่อสารด้วย รู้สึกมีความหมาย

– เวลาเราสื่อสารกับใครก็ ต้องใส่ใจคนที่เราสื่อสารด้วย เช่น มองตา ให้เวลาเขาอย่างเต็มที่ ต้องฟังเขาผ่านน้ำเสียง สีหน้า แววตา ความรู้สึก แล้วกลับมามองว่าทำอย่างไร ให้การสื่อสารดีกับตัวเขาเองด้วย

*5. ต้องมีความละเอียดอ่อน ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

– ทุกรายละเอียดบอกหมดว่าเราเป็นคนแบบไหน เช่น การสะกดผิด บ่งบอกว่าเป็นคนไม่ใส่ใจรายละเอียด คำที่เลือกใช้ก็บ่งบอกว่าเราเป็นคนแบบไหนได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการพูดขอโทษคน ถ้าพูดว่า “ขอโทษแล้วกัน” แปลว่าไม่ได้อยากขอโทษ ไม่เต็มใจ แต่ขอโทษเพื่อให้จบๆ ไป แทนที่จะทำให้ผู้ฟังอยากยกโทษให้ กลายเป็นรู้สึกไม่ดีอีก คำพูดเปลี่ยน ความหมายเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน เพราะเราไม่ใส่ใจรายละเอียด ดังนั้นจึงต้องใส่ใจรายละเอียดให้ลึกลงไปถึงผู้ฟังด้วยว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรด้วย

5. ข้อควรระวังในการสื่อสาร

– ระวังการโฟกัสแต่ตัวเอง ไม่ได้โฟกัสคนตรงหน้า เช่น อยากพูดแบบนี้ ก็จะพูดแบบนี้โดยที่ไม่สนใจความรู้สึกผู้ฟัง ดังนั้นจึงอยากให้ใส่ใจคนที่เราสื่อสารด้วย เขาจะได้รู้สึกมีคุณค่า มีประโยชน์

ฝากส่งท้าย

– เราทุกคนมีการสื่อสาร มีอาวุธอยู่ในมือเหมือนกันหมด การพูด การเขียน ถือเป็นอาวุธที่ทุกคนทำได้หมด อยู่ที่ว่าจะใช้แบบไหนให้เป็นประโยชน์ การสื่อสารก็เหมือนไม้ขีดไฟ อยู่ที่ว่าจะเอาไปจุดไฟให้แสงสว่าง หรือจุดระเบิด ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้แบบไหน ดังนั้นอยากให้ใช้การสื่อสารอย่างมีประโยชน์มากที่สุดทั้งกับตัวเราและตัวผู้ฟัง


รายละเอียด

สรุปโดย Muk Tunchanok

Date: 13 May 2021 (21.00-22.20)

Speaker: คุณ ท้อฟฟี่ แบรดชอว์ – ผู้เขียนหนังสือ More Than Words คำบันดาลใจ และ ผู้ดำเนินรายการ I HATE MY JOB

Moderator: พี P Panit (วันนี้สรุป..มา)


#ClubhouseTH #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #communication #การสื่อสาร #toffybradshaw #ท้อฟฟี่แบรดชอว์ #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา