อุปกรณ์ชงกาแฟสำหรับบาริสต้า มีอะไรบ้าง เลือกใช้อย่างไร?

why coffee maker matters

 

สรุปสั้น

– อุปกรณ์กาแฟคือ ตัวช่วยสกัดเมล็ดให้ออกมาเป็นกาแฟ กาแฟนั้นเริ่มต้นมาจากเอธิโอเปีย ที่เอาผลให้แพะกินแล้วนอนไม่หลับ เลยมีการลองเอาเมล็ดมาสกัด

– เครื่องชงกาแฟเครื่องแรกของโลกเกิดขึ้นในปี 1884 ซึ่งเป็น Espresso Machine

– อุปกรณ์กาแฟ มีหลากหลายมากมายตั้งแต่ตัว Filter (ใช้ใน Drip Coffee), French Press, AeroPress, Moka Pot, Syphon แต่ละแบบก็จะมีความแตกต่าง ยากง่ายต่างกันไป

– สำหรับ home brew เราควรตั้งเป้าก่อนว่าเราชอบกาแฟแบบไหน แล้วลองปรับวิธีการและอุปกรณ์ ให้ตอบโจทย์ของเรา ส่วน commercial อาจจะเน้นเรื่องที่เป็นการทำให้แต่ละแก้วมี standard ที่เท่ากัน

– วิธีการเลือกซื้ออุปกรณ์ แนะนำให้เริ่มใช้จากตัวที่ราคาไม่แพงก่อน เพื่อจะได้เรียนรู้ และพอทำไปเรื่อยๆ ค่อยอัพเกรดเพิ่มขึ้น ควรเลือกเครื่องบดเมล็ดกาแฟที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียระหว่างการบดเยอะ


1. อุปกรณ์ชงกาแฟ คืออะไร

[คุณแพ็ค]
– อุปกรณ์ชงกาแฟ คือ อุปกรณ์บางอย่างที่ทำให้เราสามารถสกัดกาแฟออกมากินได้ เพราะจริงๆ แล้วกาแฟเป็นผลไม้ ถ้าแค่ตัวผลมันก็ไม่ได้มีผลอะไร แต่ถ้าส่วนของเมล็ดก็จะมีส่วนที่เป็นคาเฟอีน ถ้าย้อนเวลากลับไปในช่วงที่กาแฟเริ่มโตที่เอธิโอเปีย มีผู้ชายที่ชื่อว่า คาลดี เขาเลี้ยงแพะ แล้วพอแพะไปกินเมล็ดกาแฟทำให้ตื่นทั้งคืน คุณคาลดีเลยลองเอาผลไม้พวกนี้มาลองกินดูบ้าง แต่ก็ไม่รู้สึกอะไร จนกระทั่งเขาลองไปสกัดออกมาเป็นน้ำ พอกินเข้าไปแล้วตาค้าง เลยกลายเป็นน้ำกาแฟ ณ เวลานั้น

– กาแฟมีค่อนข้างหลากหลายประเภท อุปกรณ์ที่ใช้ชงก็มีเยอะ ขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละคน ความเข้มของกาแฟหรือรสชาติที่อยากได้ มีให้เลือกเยอะแยะมากมาย อุปกรณ์ชงกาแฟเครื่องแรกๆ ที่เก่าแก่ที่สุด ไม่ได้เริ่มจาก Drip Coffee แต่เป็นเครื่อง Espresso Machine ที่เกิดขึ้นในปี 1884 เหมือนเป็นช่วงเวลาของมัน เพราะตอนน้ันทุกคนชอบการ infusion ของกาแฟ และก็เริ่มคิดค้นการสกัดกาแฟให้มันเข้มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นก็มีตัว Syphon ตามมาด้วย Drip Coffee, French Press, Moka Pot จนกระทั่งล่าสุดก็คือ AeroPress ที่เริ่มใช้กันในปี 2005

– Espresso Machine คือการใช้แรงดันของน้ำในการสกัดกาแฟ มันก็จะเข้มข้นมากๆ เพราะกาแฟก็จะถูกอัดกันอย่างอัดแน่น เพื่อให้ pressure gate มันกดลงมา ทำให้น้ำกาแฟออกมาเข้มข้น

[คุณผักกาด]
– ถ้าเป็น home use อุปกรณ์ชงกาแฟเหมือนอุปกรณ์ที่เราจะใช้วาดภาพ เราต้องคิดก่อนว่าเราอยากวาดภาพอะไร หรือสร้างงานอะไร แล้วก็ค่อยหาวิธีการและอุปกรณ์ ต้องตั้งเป้าว่ากาแฟตัวนี้เราอยากจะให้เป็นรสชาติแบบไหน แล้วเราค่อยเลือกคาแรคเตอร์ของอุปกรณ์ แต่ถ้าเป็น commercial เรื่องอุปกรณ์ จะมีส่วนที่ต้องทำให้เป็น standard ของเรา แล้วค่อยปรับแก้ตามที่ลูกค้าชอบ อาจจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สะดวกขึ้น เช่น กาน้ำที่ต้มน้ำได้เร็ว กระดาษที่ไม่ต้องล้างเยอะ ตาชั่งที่มีความเสถียร พวกนี้ทั้งหมดก็จะช่วยทุ่นเวลาได้

[คุณแพ็ค]
– เห็นด้วย เพราะเรื่องของร้านกาแฟ เราต้องคุม standard มากๆ เพราะเราก็อยากจะ deliver quality ของกาแฟให้เหมือน หรือเกือบเทียบเท่าที่สุดทุกวัน เพราะคนที่กลับมาเขาก็น่าจะอยากกินรสชาติแบบเดิม ส่วน home brew บางคนจะชอบ experiment มาก แต่ละคนก็พยายามหารสชาติของตัวเอง

2. ประเภทของการชงกาแฟ

*1. Drip Coffee (หรือ Filter Coffee)

[คุณแพ็ค]
– การกินกาแฟแบบนี้คือ การกินกาแฟดำที่สกัดง่าย อุปกรณ์ในการทำมีราคาไม่ได้แพงเหมือนเครื่องกาแฟขนาดใหญ่ที่ราคาสูง การสกัดกาแฟแบบนี้เป็นวิธีการที่ save cost ที่สุด โดยใช้อุปกรณ์ไม่กี่อย่างที่ทำให้คนเข้าถึงรสชาติกาแฟได้

– อุปกรณ์ประกอบไปด้วย Kettle (กาน้ำ) หลายๆ คนชอบใช้แบบ gooseneck เพื่อความง่ายต่อการเท, Dripper (กรวยดิป), Mug (แก้วน้ำ), Glider (เครื่องบดกาแฟ) และ Scale (ตาชั่ง)

[คุณผักกาด]
– กระดาษสำหรับการ Drip มีหลายแบบ ทั้งแบบฟอก/ไม่ฟอก สัมผัสหรือกลิ่นก็จะต่างกัน หลายรูปทรง เช่น ทรงกรวย, คางหมู แต่ละตัวก็มีคาแรคเตอร์ต่างกัน

– เวลาสกัดกาแฟด้วยวิธีนี้ สิ่งที่สำคัญมากๆ คือ เครื่องบดกาแฟ หรือ Glider เพราะถ้าเราบดกาแฟได้ถูกต้อง จะทำให้รสชาติกาแฟออกมาถูกปากเรา ซึ่งแล้วแต่ taste ของแต่ละคน เวลา glide ก็จะต่างกัน บางคนก็จะชอบเมล็ดใหญ่ ทำให้รสชาติใสๆ สว่างๆ บางคนก็ชอบ glide แบบผงละเอียด เข้มข้น

– อุณหภูมิต่างๆ ที่ใช้ในการสกัดกาแฟก็มีผล

*2. French Press

[คุณแพ็ค]
– คนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะนิยมใช้วิธีนี้ เป็นอุปกรณ์ที่เป็นแก้วธรรมดาที่เราสามารถเอาผงกาแฟที่บดแล้ว มาใส่ในแก้ว แล้วจะมีตัวดักผงกาแฟเพื่อที่ให้ผงกาแฟไม่ติดไปกับแก้วเวลาเราเท เป็นวิธีโบราณที่สุดแล้ว ซึ่งคิดค้นโดยชาวฝรั่งเศส วิธีนี้จะง่ายกว่าการ Drip มากๆ เพราะเราแค่บดกาแฟ ใส่น้ำร้อน แล้วรอ 4 – 5 นาที หรือนานกว่านั้น แล้วแต่สูตรของแต่ละคน เราก็จะได้กาแฟออกมากิน

– คนที่กินวิธีการนี้จะมีสองสาย 1. ชอบกินกาแฟดำ 2. ชอบทำ French Press แล้วก็ใส่นม เป็นวิธีการทำกาแฟที่ง่ายสุดแล้ว

[คุณผักกาด]
– Cold Brew จริงๆ ก็ง่ายเหมือนกัน ถ้าเป็น home use จริงๆ เราแค่เอากาแฟไปบดแล้วแช่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด แล้วทิ้งไว้ 12 – 24 ชั่วโมง ก็ดื่มได้ ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อะไรแพงมาก ถ้าเน้นไม่ลงทุนสูง อันนี้เป็นวิธีการที่น่าสนใจและน่าลองเล่น

*3. AeroPress

[คุณแพ็ค]
– หลักการคล้ายๆ กับ French Press ที่ใช้แช่เหมือนกัน แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือ มีแรงดันในการสกัดกาแฟ ใช้มือกดเพื่อให้น้ำมันผ่านกาแฟออกมา จริงๆ AeroPress คือลึกและเทคนิคเยอะ สามารถทำได้ตั้งแต่กาแฟที่มีรสชาติใกล้เคียงกับเอสเพรสโซ่ จนการทำ Drip หรือว่าการทำ Cold Brew เลยทีเดียว เป็นอุปกรณ์ที่ทำได้แทบทุกอย่าง

– ที่นิยมมากๆ มีอยู่สองแบบ คือการทำแบบเอสเพรสโซ่ เราก็บดกาแฟให้ละเอียดมากๆ แล้วใช้ AeroPress กดด้วยแรงดัน ทำให้กาแฟที่ถูกสกัดออกมามีความใกล้เคียงกับเอสเพรสโซ่มากที่สุด หรือทำให้รสชาติกาแฟเข้มข้นมากขึ้น กับอีกแบบคือ แช่คล้ายๆ French Press ก่อน แล้วค่อยกด ทำให้รสชาติกาแฟออกมามีความใกล้เคียงกับ French Press หรือ Drip Coffee

[คุณผักกาด]
– ถ้าจะทำแบบเอสเพรสโซ่ได้ ควรที่จะ
*1. บดให้ละเอียดขึ้น เพื่อที่จะได้ใช้แรงดันเยอะขึ้น
*2. แช่ให้นานขึ้น ความเข้มข้นก็จะถูกสกัดขึ้นมาเยอะขึ้น
*3. ใช้อุณหภูมิน้ำให้สูงขึ้น

[คุณแพ็ค]
– คนที่เหมาะสมกับ AeroPress คือคนที่ไม่ได้อยากมีอุปกรณ์เยอะ แล้วก็พกพาสะดวก เพราะมันทำได้ค่อนข้างหลากหลาย

[คุณผักกาด]
– คนที่ชอบเดินป่า ปีนเขา จะชอบพก AeroPress ไม่ก็ Moka Pot

*4. Moka Pot

[คุณผักกาด]
– ใช้ลักษณะของการกาลักน้ำเหมือนกับ Syphon แต่สามารถสร้างแรงดันได้ดีกว่า บดกาแฟได้ละเอียดมากกว่า ส่วนใหญ่ก็เลยชอบใช้ทำเป็นเอสเพรสโซ่

[คุณแพ็ค]
– ในต่างประเทศเป็นที่นิยมมาก ผมจะชอบเจอในทุกบ้านที่ผมไปเที่ยวในยุโรปเลย
– เป็นการใช้แรงดันน้ำที่เดือด ดันผงกาแฟ แล้วก็ดึงรสชาติออกมา โดยให้น้ำร้อนอยู่ข้างล่าง กาแฟอยู่ตรงกลาง และข้างบนเหมือนเป็นแก้ว เอาไว้รองกาแฟที่ถูกสกัดออกมา

[คุณผักกาด]
– ความสนุกของ Moka Pot คือการเลี้ยงไฟ เคยใช้แบบอุณหภูมิสูงๆ ก่อน เหมือนเราวอร์มเตาอบ แล้วพอเริ่มเกิดแรงดันเราก็ลดลงมาให้ค่อนข้างต่ำกว่า 85 องศา เราใช้ที่วัดแรงดันอากาศควบคู่ด้วย ลองทำแล้ววิธีนี้ทำให้ความขมหายไป มีความอโรม่ามากขึ้น อาจจะต้องลองไปเรื่อยๆ ลองทีละอุณหภูมิ แต่อาจจะต้องมีที่วัด พวกวัดแรงดัน/ความร้อน ใช้คู่กันไปด้วย

[คุณแพ็ค]
– ผมทำยังไงก็ขมอยู่ เป็นอุปกรณ์ที่แอบยาก ทำความสะอาดยาก เวลาใช้เสร็จแล้วอาจจะต้องทิ้งไว้ให้เย็นก่อน

*5. Syphon

[คุณแพ็ค]
– เป็นเหมือนหลอดวิทยาศาสตร์ มีน้ำอยู่ข้างล่าง หลักการคล้ายๆ Moka Pot คือใช้ไฟรนน้ำที่เป็นแก้ว และจะเกิดแรงดัน ทำให้น้ำถูกดันขึ้นไปด้านบน และเกิดการ infusion รอสักระยะเวลาหนึ่งแล้วเอาไฟออก พอเราปิดไฟแล้วแรงดันข้างล่างที่มันถูกดันขึ้นมาจากความร้อนจะหายไป ทำให้กาแฟถูกดึงดูดลงมาข้างล่างอย่างรวดเร็ว เป็นวิธีการสกัดกาแฟอีกวิธีหนึ่ง

[คุณผักกาด]
– Syphon มันจะควบคุมยาก มีร้านแนะนำคือร้าน UCC ตรงเอกมัย ผมรู้สึกว่าปกติ Syphon เราจะได้กลิ่นเยอะกว่ารสชาติ แต่ว่าร้าน UCC ทำให้ผมเปลี่ยนแนวคิด เพราะมันรสชาติเข้ม อาจจะเป็นเรื่องของโปรไฟล์การคั่วด้วย

*6. Espresso Machine

[คุณแพ็ค]
– เดี๋ยวนี้เริ่มมีคนซื้อไว้ใช้กันตามบ้านมากขึ้น จะมีเป็นเหมือนเครื่องย่อส่วนสำหรับ home use ที่เป็นเครื่องหัวเดียว และมีถังน้ำในตัว ไม่ได้มีความซับซ้อนเหมือนเครื่องตามร้าน สามารถอุ่นน้ำได้ใน 30 นาที คล้ายๆ กับเครื่องใหญ่เลย

[คุณผักกาด]
– ถ้าเป็น home use จริงๆ ปัจจัยของรสชาติจะคล้ายๆ กับการ drip แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ หลักๆ เลยคือ ต้องมี

*1. เครื่อง Espresso Machine แบบย่อขนาด
– ที่เป็นหัวเดียว หม้อต้มจะเล็กลง คุณสมบัติของการสตรีมฟองน้ำลาเต้ ก็อาจจะน้อยลงหน่อย ราคาก็จะถูกกว่าเครื่องที่ใช้ตามร้าน แต่ก็จะมีเครื่องเล็กที่ราคาเท่ากับเครื่องตัวใหญ่ที่คุณภาพดีกว่าก็มี

*2. เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
– ขอให้เป็นเครื่องที่สามารถบดให้ได้ละเอียด หรือจะใช้ glider ที่เป็นมือหมุนก็ได้ แต่อาจจะเหนื่อยหน่อย ผมเลยแนะนำเป็น machine ไว้ใช้บดไปเลยดีกว่า ซึ่งก็มีหลายขนาดให้เลือก แต่ที่อยากฝากไว้คือ ถ้าเป็นตัวผมเวลาเลือกใช้ glider ไว้ทำกินเองที่บ้าน ผมจะเลือกหา glider ที่มันสูญเสียกาแฟน้อย สมมุติผมใส่เข้าไป 20 g ควรจะออกมาได้ก็เกือบ 20 g ไม่งั้นเราจะเสียเมล็ดไปมาก อีกอย่างคือควรจะปรับความละเอียดได้ง่าย

*3. Tamper
– ที่เป็นลักษณะคล้ายๆ เกียร์รถ เอาไว้กดลงไปในช็อตกาแฟ ตัวนี้ต้องซื้อแยก ส่วนใหญ่ถ้าซื้อเครื่องชงมา เขาจะแถมเป็นตัวด้ามชง หรือถ้าแถมก็จะเป็นพลาสติก ซึ่งจะไม่ค่อยแข็งแรง

*4. ตาชั่ง
– ไว้ชั่งตวงเมล็ดกาแฟ อุปกรณ์หลักๆ น่าจะเป็นประมาณนี้
– ถ้าเป็น commercial ก็จะ double scale ขึ้นไป และอุปกรณ์อาจจะต้อง stable มากกว่า ตาชั่งที่ดีมากขึ้น นอกจาก tamper แล้วอาจจะมีตัวเกลี่ยหน้ากาแฟเพิ่มขึ้นมาด้วย

[คุณแพ็ค]
– ผมว่าส่วนที่สำคัญที่สุดอีกอันคือ เครื่องบดกาแฟ ถ้าเรามีเครื่องบดที่ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นเหมือนหัวใจสำคัญที่ใช้ในการสกัดกาแฟ

3. คำแนะนำในการเริ่มต้นเลือกซื้ออุปกรณ์ชงกาแฟ

[คุณแพ็ค]
– ถ้าเริ่มต้นใหม่ๆ เลย สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก่อนเลย ผมว่าคือเครื่องบดกาแฟ

*1. เครื่องบดกาแฟ

– มีหลายแบบ ตั้งแต่ที่เป็นพลาสติก โลหะ ซึ่งข้างในก็จะมีเฟืองกาแฟ ซึ่งเป็นเซรามิก สแตนเลส เหล็ก ไทเทเนียม หรือโลหะอื่นๆ ที่แพงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้สนใจเลือกเครื่องบดสำหรับกาแฟ drip ถ้าเริ่มต้นคิดว่าเราไม่ต้องซื้อแพงก็ได้ เราอาจจะใช้ Hario ที่เป็นเฟืองเซรามิก ที่สามารถถอดล้างได้ หรืออัพเกรดขึ้นมาหน่อยก็จะเป็น Timemore C2 ที่เป็นเฟืองสแตนเลสที่ค่อนข้างบดกาแฟได้ค่อนข้างดี แล้วถ้าไม่พอใจรสชาติกาแฟในโซนนั้นค่อยมาอัพเกรดเป็นเครื่องบดกาแฟแพงๆ อย่าง Comandante, Kinu

– หรือถ้าอยากได้เป็นไฟฟ้าไปเลย ก็จะมีเครื่องบดไฟฟ้าจากจีนมากมาย ที่สามารถเอามาทำ drip coffee ได้ เพราะว่ารสชาติของกาแฟ เครื่องบดสำคัญก็จริง แต่สิ่งที่จะมาตั้งแต่ต้นเลยคือ เมล็ดกาแฟ ถ้าเมล็ดกาแฟออกมาดี รสชาติที่ใช้เครื่องบดกาแฟก็จะมีคาแรคเตอร์ที่ออกมาดีอยู่แล้ว ยกเว้นเราจะไป drip มากๆ จนอัพเกรดตัวเป็นอย่างอื่น

– เครื่องบดกาแฟ ราคาค่อนข้างจะกว้างมากๆ อย่าง Hario ก็จะเริ่มที่ 1,000 – 2,000 หรือ Timemore น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท

*2. เครื่องสกัดกาแฟ

– พวก French Press, AeroPress หรือว่าตัว Dripper หรือ Filter ของ Drip Coffee ขึ้นอยู่กับคาแรคเตอร์ของแต่ละคน ว่าชอบเทคนิคการสกัดกาแฟแบบไหน หรือชอบรสชาติกาแฟประเภทไหน แล้วค่อยมาเลือกดูกันว่าจะใช้อุปกรณ์แบบไหน

*3. กาน้ำ

– ถ้าเราทำ Drip อาจจะต้องมีตัว gooseneck kettle หรือกาน้ำที่เป็นคอห่าน ซึ่งจะทำให้เราเทดริปได้ดีขึ้น แต่ว่าก็ไม่เสมอไป ถ้าเราเริ่มใหม่มากๆ ก็ใช้กาน้ำธรรมดาไปก่อนได้ ส่วนนี้จริงๆ ขึ้นอยู่กับการบดด้วย ซึ่งถ้าเราบดมาดีให้น้ำไหลผ่านง่าย ก็อาจจะไม่ต้องใช้กาที่เป็น gooseneck ก็ได้

 

– แนะนำว่าอยากให้เริ่มจากอุปกรณ์ง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยอัพเกรดขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะถ้าเราใช้อุปกรณ์ทั่วไปราคาไม่แพง มันจะทำให้เราเข้าใจหลักการเยอะกว่าการไปซื้ออุปกรณ์กาแฟแพงๆ ที่สามารถบดแล้วออกมาดีเลย การที่ใช้ถูกๆ จะทำให้เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับอุปกรณ์กาแฟเหล่านั้นมากขึ้น แล้วเวลาเราไปอัพเกรดจะทำให้เราสกัดกาแฟที่ดีกว่าเดิมได้เป็นสิบเท่า ภายในระยะเวลาสั้นกว่าเดิมเยอะมากๆ เพราะเราเข้าใจ process ทั้งหมดของมันแล้ว

[คุณผักกาด]
– เห็นด้วย ว่าควรเริ่มจากอะไรที่ยากๆ ก่อน แล้วพอไปเจอของง่ายที่หลังก็จะสบาย ตอนแรกที่ผมเริ่มดริป ก็ชอบ glider ของ Hario ที่เป็นไม้ บดยากๆ หน่อย ต้องใช้ขาช่วยหนีบ กาน้ำก็ซื้อแบบคอห่านมาจากตลาดนัด แล้วก็ลองตั้งเตาไฟฟ้า ซื้อเทอร์โมมิเตอร์สักหนึ่งอัน ไว้เซ็ตมาตรฐาน พอเริ่มจากพวกนี้เราก็จะได้เข้าใจว่าเราอยากไปสายไหนต่อ เราจะเปลี่ยน glider ก่อน หรือเราจะเปลี่ยนกาน้ำก่อนดีในขั้นต่อไป

[คุณแพ็ค]
– การดริปครั้งแรกของเราคือ ซื้อกาน้ำธรรมดามาเลย กดน้ำร้อนใส่แก้ว แล้วก็เอาไปเท ทำออกมามันก็อร่อยเหมือนกัน แต่ชอบมีปัญหาคือน้ำร้อนชอบหกใส่มือเสมอ เราจึงค่อยเริ่มเปลี่ยนไปเป็นกาน้ำอื่นที่ดีกว่า จนสุดท้ายเปลี่ยนเป็น gooseneck

[คุณผักกาด]
– อีกอย่างที่ไม่ควรทำกับ gooseneck คือ ผมเคยเอานมไปใส่ แล้วก็ไปต้ม ต้มเสร็จแล้วเอาไปเทดริปกาแฟ ปรากฏว่านมมันไม่ค่อยออกเหมือนน้ำ รสชาติก็ไม่ค่อยดี แต่ปัญหาใหญ่ที่เจอก็คือ พอเอากาน้ำไปล้างแล้วล้างไม่ออก เพราะไขมันมันติดจากความร้อน สุดท้ายก็เลยต้องทิ้งกาน้ำนั้นไปเลย

ฝากส่งท้าย เกี่ยวกับเครื่องชงกาแฟ

[คุณผักกาด]
– สำหรับ Commercial อยากให้คิดไว้ว่าทุกแก้วที่เราชงเหมือนการเริ่มต้นใหม่ เราจะได้พยายามทำให้มันชัวร์และใช่ทุกแก้ว

– สำหรับ Home Brew พยายามตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ก่อน ว่าชอบอะไร แล้วพอเรารู้ว่าเราชอบอะไร แล้วมันจะพาไปหาอุปกรณ์ที่สามารถตอบโจทย์เราได้ เปรี้ยว หวาน หรือขม สมมุติเราซื้อเมล็ดกาแฟมาอย่างนึงแล้ว ไม่ว่าลองกี่วิธีก็ยังขม ไม่ใช่รสชาติที่เราชอบ แบบนี้แปลว่าเราอาจจะไม่ได้ชอบกาแฟตัวนั้น อาจจะลองเปลี่ยนเมล็ดดูก่อน

– เริ่มจากว่าเราชอบกาแฟแบบไหน แล้วก็หาวิธีแก้กลับมา ให้ตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ เช่น ฉันชอบกาแฟเปรี้ยว แล้วก็เดินทางไปตามหาตัวเลือกว่า ทำยังไงให้กาแฟมันเปรี้ยวให้ได้ คิดว่าควรจะทำแบบนี้

– ผมเปิดร้านชื่อ ร้านคุณย่า บาร์กาแฟ ใกล้ๆ ปากซอยอ่อนนุช 54 ถ้าใครผ่านมาแถวนี้ก็เชิญแวะมาได้ เป็นร้านกาแฟมือใหม่ ที่ผมพยายามทำให้ทุกๆ แก้วให้มี standard ที่เท่าๆ กัน มาพูดคุย แชร์ความรู้กันได้

[คุณแพ็ค]
– ให้ใช้อุปกรณ์กาแฟที่มีทั้งหมดให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่จะไปเริ่มอุปกรณ์ใหม่ พยายามศึกษาและเข้าใจให้มากที่สุดก่อน เพราะอุปกรณ์ที่มีบางครั้งไม่ต้องแพงมาก ก็สามารถทำรสชาติกาแฟออกมาได้หลากหลายด้วยเมล็ดกาแฟเดียวกันได้ อยากให้ทำความรู้จักกับมันเยอะๆ จะได้ทำให้เราสร้างรสชาติกาแฟที่เหมาะสำหรับเรามากขึ้น

– ตอนนี้ผมมีทำ Brew Box เป็นกล่องกาแฟ specialty ที่เล่าเรื่องกาแฟต่างๆ จากเกษตรกรสู่ user จะมีทั้งเมล็ดไทยและเมล็ดนอก เพื่อที่จะส่งเสริมให้เห็นรสชาติและการพัฒนาของเกษตรกรไทย ทำให้คนได้ explore รสชาติของเมล็ดกาแฟ เราจะคัดสรรเมล็ดมาให้ และก็ 50 Milk Street ก็จะเป็นเพจที่ให้ความรู้และขายอุปกรณ์กาแฟ


รายละเอียด

Date: 15 May 2021 (22.00-22.15)

Speaker:

– คุณแพ็ค (Co-founder, Brew Box & Head of Production, 50 Milk Street)

– คุณผักกาด (เจ้าของร้าน บ้านคุณย่าบาร์กาแฟ และ Art Director, LINE MAN Wongnai)

Moderator: พี พนิต (วันนี้สรุป..มา)


#ClubhouseTH #WhyItMatters #อุปกรณ์ชงกาแฟ #CoffeeMaker #BrewBox #50MilkStreet #บ้านคุณย่าบาร์กาแฟ #LMWN #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา